วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Antiphospholipid Antibody Syndrome : Treatment 4

11/16/12
การรักษา:
เป็นที่ทราบกันว่า  โรค APS เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาหาย
แต่เรามียาที่สามารถใช้ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ซึ่งเป้าหมายของการรักษา  คือป้องกันไม่ให้มีก้อนเลือดเกิดขึ้น และ
ไม่ให้ก้อนเลือดที่เกิดขึ้นแล้วมีโตขึ้น

เนื่องจากคนเป็นโรค APS มักจะมีโรคทางระบบภูมิคุ้มกันอย่างอื่นด้วย
เช่น โรค “ลูปัส”  ซึ่งควรได้รับการควบคุม และรักษา   

ยา (Medicines)
ยาที่นำมาใช้ในการรักษา ได้แก่ anticoagulants หรือจะเรียกว่า blood thinners
จะถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้มีการสร้างก้อนเลือดขึ้น
นอกจากนั้น  ยาดังกล่าวยังป้องกันไม่ให้ก้อนเลือดที่เกิดขึ้นแล้ว 
ไม่ให้มีขนาดโตขึ้นได้

ยาที่ใช้อาจออกมาในรูปของ “ยาเม็ด”  หรือ “ยาฉีด”  เข้าใต้ผิวหนัง 
หรือเข้าเส้น (IV)

ยาที่เป็น blood thinners ที่ถูกนำมาใช้มีสองตัวด้วยกัน 
คือ  warfarin และ Heparin  ซึ่งถูกนำมาใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค APS:
Warfarin (Coumadin)  เป็นยาเม็ด
Heparin เป็นยาฉีด (injection) หรือฉีดเข้าเส้น
ซึ่งแพทย์อาจให้ยาทั้งสอง (warfarin และ heparin) พร้อมๆ กัน

โดย Heparin  จะออกฤทธิ์ได้เร็วมาก  ส่วน warfarin กว่าจะออกฤทธิ์
จะกินเวลานาน 2 – 3  วัน และเมื่อยา warfarin  ออกฤทธิ์ 
แพทย์จำหยุดยา Heparin

Aspirin  ยังป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน  และทำให้เลือดไหลได้สะดวก
ซึ่งบางครั้ง  อาจมีการให้ aspirin  ร่วมกับการให้ warfarin
หรืออาจให้ aspirin แต่เพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม blood thinners  ที่กล่าวมาไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิด
โรค APS ได้  แต่มันทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนเลือด 

ผลข้างเคียง (Side Effects)
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนเลือด
คือการมีเลือดออก (bleeding) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อยาออกฤทธิ์มาก
เกินไป   ซึ่งในบางครั้งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาโรค APS ในสตรีตั้งครรภ์
สตรีเป็นโรค APS เกิดตั้งครรภ์ขึ้น  สามารถมีบุตรได้ด้วยกายรักษา
ที่เหมาะสม  ซึ่งกระทำได้ด้วยการให้ heparin
หรือให้ร่วมกับ  Aspirin ในขนาดต่ำ ๆ

สำหรับ Warfarin  จะไม่ถูกใช้ในการรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรค APS
เพราะยา warfarin จะมีผลกระทบต่อเด็ก (fetus) ในท้องได้
เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรค APS จะมีความเสี่ยงต่อการภาวะเจริญ
เติบโตช้าตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น