วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Introduction to the heart

11/7/12

หัวใจของมนุษย์เราประกอบเป็นโครงร่างของกล้ามเนื้อ
มีขนาดประมาณเท่ากำปั้นของแต่ละคน  ซึ่งมันจะทำหน้าที่ติดต่อกับ
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย  โดยมีเครือข่ายของเส้นเลือดทั่วร่างกาย
ซึ่งมีความยาวถึง  60,000  ไมล์

หัวใจของคนเราจะอยู่ตรงกลางของทรวงอก  โดยเยื้องไปทางด้านซ้าย
จากจุดกึ่งกลางของทรวงอกเล็กน้อย  และจะถูกปกป้องโดยกระดูกหน้า
อก (breast bone)ทางด้านหน้า  และกระดูกสันหลังทางด้านหลัง
มีปอด และกระดูดสีข้างอยู่ทั้งสองด้าน- ซ้าย & ขวา

เมื่อมองดูหัวใจของคนเรา  ซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งกึ่งกลางของทรวงอก
จะพบว่า  มองดูทางด้านล่างจะพบว่า  มันจะชีไปทางสะโพกด้านซ้าย

ในช่วงชีวิตวัย 68 ปี... หัวใจจะต้นประมาณ 2.5 ล้านครั้ง
ปริมาณของเลือดที่ปั้มออกจากหัวใจในแต่ละนาที  จะเต้นเร็วขึ้นเมื่อ
และจะเต้นช้าลงเมื่อคนเรานอนหลับ

แม้ว่าหัวใจของเราจะมีขนาดเท่ากำปั้น (หนัก 7- 14 ounce)
มันสามารถปั้มเลือดได้ประมาณ 4 quarts ต่อหนึ่งนาที
ในแต่ละวัน  มนสามารถปั้มเลือดได้ 2,000 แกลลอน
ให้กระจายไปทั่วร่างกาย
( 1 Quart = 4 Cups ...)

ท่านหลับตา  และลองคิดดูว่า ในชั่วอายุขัยของคนเรา
มันจะปั้มเลือดได้จำนวนเท่าใด ?

การปั้มเลือดของหัวใจในคนเรา  จะประกอบด้วยการปีบเลือดให้ออก
จากห้องหัวใจ (chambers)  และตามด้วยการผ่อนคลายของกล้าม
เนื้อหัวใจ  ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว  จะมีเลือดไหลกลับเข้าสู่ห้องหัวใจ

ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับบีบถุงปลาสติกที่บรรจุน้ำ....
ในระหว่างบีบถุงปลาสติค  น้ำจะไหลออก  เวลาคลายกการบีบ 
น้ำจะถูกดูดเข้าสู่ถุงปลาสติคอีกครั้ง

วงจรของการทำงานของหัวใจ (บีบ และคลาย)
จะทำให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจ (heart beat) ก่อให้เกิดมีชีพจร
โดยสามารถสัมผัสได้ที่บริเวณต่างๆ เช่นที่ข้อมือ,  คอ  และส่วนอื่น ๆ
ซึ่งแพทย์จะตรวจดูการทำงานของหัวใจ  ด้วยการดู ejection fraction
และ  cardiac output

Ejection fraction:
ในกาบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ  ไม่ว่ามันจะบีบตัวแรงเท่าใดก็ตาม
ในแต่ละครั้ง  มันไม่สามารถบีบเลือดให้ออกจากหัวใจห้งอล่างได้หมด
โดยปกติ  หัวใจสามารถปั้มเลือดออกได้เพียง 60 – 65 % ของเลือดที
มีอยู่ในหัวใจห้องล่างเท่านั้น  ซึ่งหมายความว่า  มีเลือดเพียงสองในสาม
เท่านั้น  ที่สามารถบีบตัวออกนอกหัวใจในแต่ละการบีบตัว

เลือดที่บีบออกจากหัวใจในแต่ละการบีบตัว (heart contraction)
เขาเรียกว่า  “ejection fraction”

ค่าของ ejection fraction ถูกนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึง “การทำงาน”
โดยรวมของหัวใจว่า  หัวใจทำงานได้ดีแค่ใด ?

ในคนปกติที่มีสุขสมบูรณ์  จะมี ejection fraction  เพิ่มขึ้น 5 % ในการออก
กำลังกาย  และเมื่อใดที่หัวใจห้องล่างเกิดเป็นโรคขึ้น  เช่นหัวใจถูกทำลาย
จากการขาดเลือด (heart attack) จะทำให้ ejection fraction ลดลงถึง 30 %

Cardiac output:
ปริมาณของเลือดแดงที่ถูกปั้มออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายในแต่ละครั้งของ
การบีบตัว (one contraction) เราเรียกว่า  stroke volume
ค่าที่ได้จาก stroke volume กับอัตราการเต้นของหัวใจในหนึ่งนาที  สามารถ
บอกให้เราได้ทราบว่า  เลือดที่ถูกปั้มออกในหนึ่งนาทีมีปริมาณเท่าใด...
ซึ่งค่าที่ได้เราเรียวกว่า    cardiac output


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น