วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Secondary hypertension(continued…)

11/8/12

Symptoms:
ตามคำจำกัดความของคำว่า “ความดันโลหิตสูง”...
หมายความถึงความดันตัวบน (systolic blood pressure) มีค่า140 mm/Hg
หรือสูงกว่า  และความดันตัวล่าง (diastolic pressure)
มีค่า 90 mm Hg หรือสูงกว่า

ในคนที่เป็นความดันโลหิตสูงทุติยะภูมิ  มักจะมีความดันสูงตามที่กล่าว
แต่ยากต่อการควบคุมด้วยการใช้ยาเพียงหนึ่ง หรือสองตัว
จำเป็นต้องใช้ยามากกว่านั้น
นอกจากนั้น  คนไข้ยังมีอาการอย่างอื่นๆที่เกิด จากโรคความดันสูงอีกด้วย

ยกตัวอย่าง  เนื้องอกของต่อมเหนือไต (adrenal gland )
ซึ่งมีชื่อว่า pheochromocytoma  สามารถทำให้เกิดอาการเหงื่อออก,  ใจสั่น, 
เครียด  และน้ำหนักตัวลดลง

ในโรค Cushing’s syndrome  อาจทำให้คนไข้มีน้ำหนักตัวเพิ่ม, เกิดการ
อ่อนแรง,  มีขนเกิดขึ้นตามตัว และถ้าเป็นสตรีจะไม่มีประจำเดือน
และมีผิวหนังเป็นรอย(สีม่วง) เกิดที่บริเวณหน้าท้อง (abdominal striae)

Hyperparathyroidism ที่มีระดับ calcium ในกระแสเลือดสูง  สามารถทำ
ให้เกิดอาการเหนื่อยเพลีย, ปัสสาวะบ่อยขึ้น,  ท้องผูก  และมีนิ้วในไต

ส่วนโรค Hyperaldosteronism  มักจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรง
โดยมีสาเหตุมาจากมีระดับของ postassium ลดต่ำลง

ในการวินิจฉัยโรค  แพทย์จะถามถึงอาการต่างๆ ที่ท่านมี  ว่า...
มันสัมพันธ์กับการเกิดความดันโลหิตสูงประเภททุติยะภูมหรือไม่ ?

ในระหว่างการตรวจร่างกาย  แพทย์จะให้ความสนใจต่อภาวะน้ำหนักตัว
ที่เพิ่มขึ้น  หรือน้ำหนักลดอย่างฉับพลัน,  มีน้ำกักขังในเนื้อเยือ (extra fluid)
มีขนขึ้นตามตัว, มีรอยตามผิวหนังหน้าท้องซึ่งเป็นสีม่วง (purple)

นอกจากนั้น  แพทย์อาจตรวจหาก้อนที่อยู่ภายในช่องท้องด้วยการคลำ
หรือใช้เครื่องฟัง (stethoscope) ฟังเสียงของการไหลเวียนของเลือด
(ผิดปกติ) ที่ปรากฏในไตทั้งสองข้าง

ภายหลังการตรวจร่างกาย  แพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่น
ซึ่งขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกาย  เพื่อนำไปสู่สาเหตุที่ทำให้
เกิดความดันโลหิตสูงประเภททุติยะภูม (secondary hypertension) ขึ้น

ตัวอย่างเช่น  หากสงสัยว่าเป็นโรคไต  แพทย์จะสั่งตรวจ  creatinine,
BUN, Urinalysis, ตรวจ ultrasound  ดูขนาดของไตทั้งสอง

หากแพทย์สงสัยเส้นเลือดแดงของไตตีบแคบ (renal artery stenosis)
แพทย์จะสั่งตรวจ magnetic resonance imaging (MRI) ร่วมกับการทำ
Magnetic resonance angiography (MRA)

บางครั้ง  อาจทำการตรวจที่เราเรียกว่า renal arteriogram



สำหรับรายที่สงสัยว่าเป็น  pheochromocytoma….
แพทย์จะสั่งให้ทำการตรวจหาระดับของ catecholamine
(เป็น epinephrine  และ norepinephrine)

สำหรับ Cushing’s syndrome  จะทำการตรวจหาระดับของ cortisol
ในปัสสาวะ  และในเลือด

ในรายที่สงสัยเป็น hyperparathyroidism-
จะมีการตรวจหาระดับฮอร์โมน Parathromone, calcium และ phosphate
ในกระแสลเลือด

ในรายที่สงสัยว่าเป็น Hyperaldosteronism  จะมีสั่งให้ตรวจเลือดหาระดับ
Potassium และ aldosterone

สำหรับคนที่เป็น coarctation ของ aorta จะถูกสงสัยได้
เมื่อตรวจพบความดันโลหิตที่แขน  มีค่าสูงกว่าความดันวัดได้ที่บริเวณขา
(ในเด็กหนุ่ม) และอาจมีความเปลี่ยนแปลงเฉพาะทางเอกเรยของปอด

ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิจะหายได้เมื่อ “สาเหตุ” ถูกกำจัดไปได้เท่านั้น
ส่วนใหญ่แล้ว  เราไม่มีทางป้องกันมันได้
ความแตกต่างระหว่างความโลหิตสูงทุติยภูมิ  จะแตกต่างจากความดัน...ที่ไม่
ทราบต้นเหตุ (essential hypertension)  ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการออก
กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ,  จำกัดเกลือ,  รับประทานอาหารสุขภาพ  และหมั่น
เช็คน้ำหนักเป็นประจำ...อย่าให้เพิ่ม  และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่



ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงประเภททุติยภูมิ
จำเป็นต้องขึ้นกับสาเหตุ  ถ้าต้นเหตุเป็นเนื้องอก หรือความผิดปกติของ
เส้นเลือด  การรักษาควรเป็นการผ่าตัด

การตัดสินใจว่าสมควรทำการผ่าตัดหรือไม่  ย่อมขึ้นกับอายุ
และสุขภาพโดยรวมของคนไข้เป็นสำคัญ
ในคนไข้บางราย  การเลือกใช้ยาลดความดันอาจเป็นทางเลือกทีปลอดภัย
ได้มากกว่าการรักษาด้วยการผ่าตัด



ในคนไข้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทุติยภุมิ  สามารถทำให้หายได้
ด้วยการรักษาโรคที่เป็นตัวต้นเหตุให้หาย

<<  Previous    1  2



http://www.intelihealth.com

1 ความคิดเห็น: