วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Angioplasty

11/7/12

เพื่อนผู้สูงวัย... เล่นกอล์ฟด้วยกัน..
ได้รอดพ้นจากอันตรายอันพึงเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยได้รับการรักษา
จากศูนย์หัวใจด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่า angioplasty 
จากคำบอกเล่า  เพื่อนของเรามีอาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
คือ  จุกเสียดท้องเหมือน “อาหารไม่ย่อย”  
แต่ผลของการตรวจ...  พบว่า เส้นเลือดของหัวใจเกิดตีบแคบ...
จึงเป็นเหตุให้ได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า angioplasty

Angioplasty  คืออะไร ?


Angioplasty  เป็นกรรมวิธีที่ใช้เครื่องมือชิ้นเล็ก 
สอดใส่เข้าไปในเส้นเลือดที่ตีบแคบของหัวใจ  

เพื่อทำให้รูของเส้นเลือดกว้างออก
ซึ่งจะทำให้เลือดไหลเวียนสู่หัวใจได้สะดวกขึ้น

Balloon angioplasty:


ยังถูกเรียกว่า percutaneous transluminal coronary Angioplasty (PTCA) 
ตรงส่วนปลายของท่อเล็กๆ (catheter) มีballoon
ติดไว้ที่ปลายของท่อ

แพทย์จะทำการสอดท่อ catheter ผ่านเส้นเลือดใหญ่
ที่บริเวณแขน หรือขา...ด้วยการอาศัยเอกซเรย์เป็นตัวช่วยนำทาง 
สอดท่อดังกล่าวเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจ (coronary arteries)   ที่ตีบแคบ...

ต่อจากนั้น  แพทย์จะปล่อยลมให้บอลลูนที่ปลายท่อ...พองตัวขึ้น 
ทำให้เส้นเลือดที่ตีบแคบขยายตัวกว้างขึ้น



ในระหว่างที่ปล่อยให้บอลลูนโป่งพอง  จะทำให้เส้นเลือดที่ตีบแคบกว้างขึ้น
แพทย์จะสอดใส่โลหะที่เป็นลวด  เมื่อวางไว้ตำแหน่งที่ต้องการ  มันจะกางออก  
ทำหน้าที่เป็นโครงให้เส้นเลือดอยู่ในลักษณะขยายออกตลอดเวลา
gikเรียกอุปกรณ์ดังกล่าวว่า   “stent”

ในการทำให้เส้นเลือดที่ตีบแคบเปิดออกด้วยบอลลูนโดยไม่มีโครงลวด (stent)  
จะทำให้เส้นเลือดจะตีบแคบขึ้นได้ 30 %  ภายในระยะเวลา 6 เดือน

เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแดงเกิดการตีบแคบขึ้นอีก 
จึงมีการทำให้โครงลวด (stent) อาบ(coated) ด้วยยา 
ซึ่งสามารลดอัตราการตีบตัวของเส้นเลือดได้
 
ถึงกระนั้นก็ตาม คนไข้ยังต้องได้รับยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinning )
ต่ออีกหนึ่งปี  หรือมากกว่าหลังจากกรรมวิธีดังกล่าว
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดมีการจับตัวเป็นก้อนเลือดขึ้นได้

Atherectomy… ในขณะที่สอดใส่ท่อ (catheter) เข้าสู่หลอดเลือดของหัวใจ 
แพทย์จะใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง  ตัดเอาคราบของไขมันออกจากผิวด้านในของ
เส้นเลือดแดงที่ตีบแคบ  พร้อมกับกำจัดออกจากร่างกาย
ซึ่งสามารถกระทำได้พร้อม ๆ กับการทำ ballooning angioplasty 
หรือทำในขณะใส่โครงลวด (stenting)

Angioplasty  จะถูกนำมาใช้เพื่อขยายหลอดเลือดแดงของหัวใจ 
ซึ่งเกิดการตีบแคบจากคราบของไขมัน...มีคำถามว่า 
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เส้นเลือดแดงดังกล่าวเกิดการตีบแคบจากไขมัน ?

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยไปพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอก 
หรืออาการอย่างอื่นของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแคบ 
ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติการเกิดโรค รวมถึงการตรวจร่างกาย 
และทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ , ตรวจคลื่นของหัวใจ (EKG),
stress testing หรือทำการตรวจด้วยภาพการทำงานของหัวใจ   ( echocardiogapy )
จากข้อมูลที่ได้  สามารถนำมาช่วยตัดสินใจว่า 
ท่านได้รับการทำ angioplasty หรือไม่ ?

ถ้าแพทย์เห็นว่า อาการเจ็บหน้าอก   เป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลวลงเรื่อยๆ   แพทย์จะรีบนำท่านเข้าสู่ห้องฉุกเฉินใส่สาย
Catheter เข้าสู่เส้นเลือดแดงของหัวใจ  เพื่อทำ angioplasty อย่างฉุกเฉินทันที

มีรายงานว่า  คนไข้ส่วนใหญ่ที่ได้รับรับการทำ angioplasty
สามารถลดอาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบแคบได้นั้น
ประมาณว่า  40 % จำเป็นต้องได้ทำซ้ำอีกครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี

นอกจากนั้น  ยังมีรายอีกว่า  angioplasty  อาจนำมาใช้ขยายเส้นเลือดแดงของ
ต้นขา (femoral artery) หรือ เส้นเลือดแดงบริเวณกระดูกเชิงกราน (iliac art.)

การเตรียมตัว (Preparation):
ก่อนทีท่านจะได้รับการทำ angioplasty
แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติการเป็นโรคของท่าน,
ยาที่ท่านรับทานเป็นประจำ  รวมถึงประวัติอาการแพ้ที่ท่านมี
หากท่านมีประวัติโรคเลือด (bleeding) หรือเตรียมตัวมีท้อง (pregnant)
ท่านต้องบอกให้แพทย์ได้ทราบ...

ก่อนทำ angioplasty  ท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
เช่นเริ่มรับประทานยา  หรือหยุดยาก่อนที่จะทำการรักษา...
รวมถึงการงดการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด

 1  2   >>  Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น