วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Secondary Hypertension

11/8/12

ความดันโลหิตสูงที่เรารู้จักกันดี...
จะเป็นความดันที่เราไม่ทราบว่า  อะไรเป็นต้นเหตุทำให้เกิดมีความดันโลหิตสูง
และเป็นความดันที่เราพบได้บ่อยที่สุด  เขาเรียกว่า essential hypertension
ส่วนที่เหลืออีก 6 %  เป็นความดันที่ทราบสาเหตุ...
และเขาเรียกมันว่า  secondary hypertension
ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาไทยคงแปลได้ว่า  เป็นความดันสูงทุติยภูมิ

ส่วนใหญ่ของต้นเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ  จะเกิดจาก
ร่างกายสร้างฮอร์โมนออกมามากผิดปกตินั่นเอง
ปัญหาทางร่างกายบางอย่างสามารถทำให้เกิดความดันสูงทุติยะภูมิได้
ซึ่งได้แก่:

Kidney disease:
โรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ  สามารถเกิดจากไตที่ถูกทำลาย  หรือจาก
โรคเส้นเลือดแดงของไตเกิดการตีบแคบ  ซึ่งอาจเป็นเส้นเดียว
หรือเป็นทั้งสองเส้น

เส้นเลือดแดงของไต (renal arteries) เป็นเส้นเลือดที่สำคัญ ซึ่งนำเลือดสู่
ไตทั้งสอง  ซึ่งเมือใดที่กระแสไหลเวียนของเลือดลดลง 
จะเป็นให้ไตสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมา  เรียก Renin

ในกรณีที่มีสาร renin ในกระแสเลือดสูงขึ้น  มันจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสาร
อีกตัวขึ้นมา  เรียก angiotension II
ซึ่งสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

Adrenal disease:
  ต่อมเหนือไตจะอยู่บนส่วนบนของไตสองข้าง  ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลาย
ตัวด้วยกัน  ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต
บางทีต่อมเหนือไตดังกล่าว  อาจมีต่อมใดต่อมหนึ่ง  หรือทั้งสองต่อม
ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป

มีความผิดปกติของต่อมเหนือไต 3 ชนิดที่สามารถทำให้ระดับ
ความดันโลหิตสูงขึ้นได้  เช่น:

§  Pheochromocytoma.  เนื้องอกชนิดนี้ จะผลิตฮอร์โมนสองตัว คือ 
epinephrine(adrenalin)   และ norepinephrine (noradrenalin) ออกมามากเกิน

§  Hyperadlosteonism  (Conn’s syndrome) ต่อมเหนือไตทั้งสอง (adrenalGland)
สร้างฮอร์โมน aldosterone ออกมามากเกินไป   มันเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เก็บรักษา
เกลือไว้ในร่างกายไม่ให้มันถูกขับถ่ายออกมา (salt-retaining)
ในกรณีดังกล่าว  อาจเป็นผลมาจากเนื้องอกของต่อมเหนือไตก็ได้...

§  Hypercortisolism (Cushing’s syndrome)  ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า cortisol
สามารถถูกขับออกมาในปริมาณมากเกิน  ซึ่งเกิดจากตัวของมันทำงานมากเกินไป 
หรือเกิดจากมันแปรสภาพเป็นเนื้องอก

§  Hyperparathyroidism. มีฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งชือ parathormone จะถูกสร้าง
โดยต่อมเล็กๆ  จำนวนสี่ต่อมซึ่งอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ 
เรียกต่อม parathyroid gland  ถ้ามันทำงานมากไป 
จะผลิตสาร"พาราฮอร์โมน" ออกมามาก  จะทำให้ระดับของ calcium ในกระแสเลือดสูง 

และในคนที่เป็นโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน 
มักมีแนวโน้มทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 
โดยที่เราไม่ทราบว่ามันเกิดได้อย่างไร ?

นอกจากนั้น  ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีก 
ที่สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงประเภททุติยภูมิ (secondary hypertension)
ซึ่งได้แก่

§  Acromegaly.เนื้องอกของต่อมใต้สมอง ซึ่งทำหน้าที่ผลิต growth hormone 
สามาระทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

§  Adrenocorticorophic hormone (ACTH) tumor ของต่อมใต้สมอง pituitary gland 
ซึ่งผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ  สามารถกระตุ้นต่อมเหนือไตให้ผลิตฮอรโมน cortisol
ออกมามากเกิน  สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

§  ACTH producing cancer  of the Lung

§  Coarctation of aorta.  เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ 
ทำหน้าที่นำเลือดจากหัวใจสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

นอกจากนั้น  ยารักษาบางตัวสามารถทำให้ความดันของโลหิตสูงขึ้นได้
เช่น  ยาคุมกำเนิด ( hormone contraceptives)
และกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบNSAIDs



1   2     Next  >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น