วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Wolff-Parkinson-White syndrome 2


Signs and tests:


ในขณะที่หัวใจคนไข้เกิดเต้นเร็วนั้น  หากเราตรวจดูจะพบว่า  
หัวใจเต้นเร็วได้มากว่า 230 ครั้งต่อนาที  และความดันโลหิตอาจปกติ 
หรืออาจต่ำกว่าปกติได้

ในคนปกติที่เป็นผู้ใหญ่  อัตราการเต้นของหัวใจ  เต้นได้  60 – 100 ครั้ง
ต่อหนึ่งนาที  ส่วนในเด็กแรกเกิด  และเด็กเล็กจะเต้นได้
ประมาณ 150  ครั้งต่อหนึ่งนาที


ในขณะที่คนไข้มีการเต้นของหัวใจปกติ
การตรวจร่างกาย  โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจย่อมอยู่ในสภาพปกติทุกประการ

มีวิธีการตรวจเรียก EPS อาจช่วยให้เราทราบตำแหน่งของทางเดินคลื่น
กระแสไฟฟ้าของหัวใจที่เกิดเพิ่มได้

WPW syndrome อาจตรวจพบด้วยวิธีการตรวจต่อไปนี้:

§  ตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นหัวใจ EKG  อาจตรวจพบคลื่นผิดปกติ
§  Delta wave
§  การตรวจด้วย Holter monitor ซึ่งติดไว้กับตัวคนไข้ตลอดเวลา
Treatment:
ในคนไข้ที่เป็นโรค WPW syndrome ซึ่งมีการเต้นหัวใจเร็วเกิน  สามารถ
ควบคุม  หรือป้องกันได้ด้วยการใช้ยา  เช่น  adenosine, antiarrhythmia
และ amiodarone


ในรายที่เราไม่สามารถควบคุมหัวใจเต้นเร็วได้  
แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาด้วยการช๊อกด้วยกระแสไฟฟ้า เรียก electrical 
cardioversion

แต่ในปัจจุบัน  เรานิยมรักษาภาวะ WPW syndrome ด้วยวิธีทำลายตำแหน่งใน
หัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เราเรียกว่า  radiofrequency  Ablation 

ซึ่งกระทำได้โดยการสอดใส่สาย catheter ผ่านเส้นเลือด
แดงตรงตำแหน่งขาหนีบ (groin) เข้าสู่หัวใจ เมื่อปลาย catheter
ถึงตำแหน่งที่ทำให้หัวใจเต้นได้เร็ว  แพทย์เขาก็ใช้คลื่นวิทยุทำลาย
ทำลายตำแหน่งดังกล่าว...

ในการผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery)…
อาจนำมาใช้รักษา WPW syndrome  ให้หายขาดได้
อย่างก็ตาม  การผ่าตัดหัวใจจะกระทำก็ต่อเมื่อแพทย์เขามีเหตุอย่าง
อื่นมากกว่าที่จะทำเพื่อ WPW syndrome แต่เพียงอย่างเดียว

Expectations (prognosis):
การรักษาด้วยวิธี catheter ablation  สามารถรักษาคนไข้ที่เป็นโรค
WPW syndrome ส่วนใหญ่  ซึ่งจะได้ผลดีถึง 85% -95 %
อย่างไรก็ตาม  จะพบว่า  ตำแหน่งในทางเดินคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ทำให้
เกิดอาการก็มีส่วนสำคัญต่อผลของการรักษาเช่นกัน
Complications:
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดในคนไข้ที่เป็น WPW syndrome  ได้แด่:

§  ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังการผ่าตัด
§  ความดันโลหิตลดลง (เป็นผลจากหัวใจเต้นเร็วอย่างต่อเนื่อง)
§  หัวใจล้มเหลว
§  ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
รูปแบบของหัวใจเต้นเร็วที่มีความรุนแรงมากที่สุด  คือ ventricular
Fibrillation  ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขึ้นทำให้เกิดอาการช๊อค  และ
จำเป็นถึงกับได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉินเพื่อทำ cardioversion



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น