วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Cardiac arrhythmia: Types of arrhythmias 2

11/15/22


Sinus node dysfunction




 ความผิดปกติชนิดนี้  มักทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าปกติ
(bradycardia)  โดยมีอัตราการเต้นในระดับ 50 ครั้ง ต่อ  หนึ่งนาที 
หรือต่ำกว่า



สาเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นช้าแบบนี้  คือมีแผลเป็น (scar tissue)

เกิดขึ้นแทนที่ปุ่มที่ทำหน้าที่กำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (sinus node) 
ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่า  อะไรทำให้เกิดเช่นนั้นขึ้น

นอกจากที่กล่าวมา  sinus node dysfunction 
ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีกเป็นต้นว่า...
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดตีบแคบ, โรคต่อไทรอยด์ทำงานน้อย
(hypothyroidism), โรคตับชนิดรุนแรง (sever liver disease), อุณหภูมิลดต่ำ 
(hypothermia),  โรคไทฟอยด์ หรือโรคอย่างอื่น

นอกจากนั้นเรายังอาจพบในกรณีของประสาท vagus
ทำงานมากเกินปกติ (vagovagal  Hypertonia) 
ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นด้วยอัตราที่ช้าได้

Supraventricular tachyarrhythmias
 ความผิดปกติชนิดนี้  จะทำให้หัวใจเต้นได้เร็ว (tachycardias)
 โดยมีจุดที่สามารถให้กำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นที่ส่วนของหัวใจห้องบน 
 ซึ่งอยู่เหนือต่อหัวใจห้องล่าง (ventricles)
 ส่วนใหญ่ ปัญหาที่เกิด  จะปรากฏขึ้นที่บริเวณ  A-V node 
 หรือเกิดที่บริเวณทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ
 (heart beat signals)

 Atrial fibrillation.

เป็นการเต้นของหัวใจผิดปกติทั้งอัตรา  และจังหวะการเต้น  
ซึ่งป็นเหตุในขณะที่หัวใจห้องบน (atria) มีการบีบตัวแบบสั่นระรัว 
จะทำให้หัวใจแต้นได้เร็ว และเต้นได้ไม่สม่ำเสมอ

ระหว่างที่หัวห้องบนเกิดภาวะ atrial fibrillation อยู่นั้น...จะพบว่า  
คลื่นกระแสไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ทำให้เกิด heat beat  จะปรากฏเริ่มจากหลายจุด 
(นอกเหนือจาก sinus node)  ทำให้มีคลื่นเป็น เป็นจำนวนมาก  กระตุ้นให้หัวใจ
ห้องบน (atria) เต้นได้มากถึง 300 – 500 ครั้ง   ต่อนาที

จากคลื่นจำนวนมากจากหัวใจห้องบนสามารถเอาชนะปุ่มประสาท A-V node ได้
บางส่วน จึงเป็นเหตุให้มีคลื่นผ่านไปยังหัวใจห้องล่างได้เป็นบางสวน
ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นได้เร็ว และไม่สม่ำเสมอ
โดยเต้นได้ในอัตรา 80 – 160 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที

ความผิดปกติของการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง 
ซึ่งทำให้เกิด heat beat ขึ้น   โดยเกิดจากความแปรปรวนในการบีบตัว
ของหัวใจห้องบนแบบ atrial fibrillation  จะไม่สามารถปั้มเลือด
ออกจากหัวใจห้องล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย
เป็นเหตุให้มีเลือดถูกกักขังในหัวใจ 
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดเกิดภายในหัวใจ

สาเหตุหลัก ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ atrial fibrillation 
ได้แก่- อายุ (age),โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแคบ (coronary artery disease),
โรคหัวใจรูมาติค,  เบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, 
และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

A-V block or heart block


เป็นการเต้นผิดปกติของหัวใจ  โดยเกิดมีปัญหาในตำแหน่งของทางเดินของคลื่น
กระแสไฟฟ้าจาก sinus node  สู่หัวใจห้องล่าง(ventricles) 
โดยแบบเป็นสามเกรดด้วยกัน ดังนี้


·         First-degree A-V block  พบว่าคลื่นกระแสไฟฟ้าสามารถผ่านไปตามทางเดิน
ของมัน (จาก sinus node  ไปยัง ventricles) ได้ช้ากว่าปกติ
·         Second-degree A-V block  พบว่าคลื่นทีทำให้เกิด heat beat บางคลื่นจาก
Sinus node  สู่หัวใจห้องล่าง ventricles หายไป
·         Third-degree A-V block พบว่าไม่มีคลื่นผ่านไปยังหัวใจห้องล่างได้แม้แต่คลื่นเดียว 
     ดังนั้น  การที่หัวใจยังสามารถเต้นได้ 
     เป็นผลมาจากคลื่นที่เกิดขึ้นจากหัวใจห้องล่างเอง 
     ไม่เกี่ยวกับคลื่นจากหัวใจห้องบนเลย

สาเหตุที่ทำให้เกิด A-V block ที่พบได้เสมอได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ 
ตีบแคบ,  โรคกล้ามเนื้อหัวจถูกทำลาย (heart attack)
หรือเกิดจากการได้รับยา digitalis มากไป

 Ventricular tachycardia (VT)

เป็นความผิดปกติของ heart beat ซึ่งเริ่มขึ้นที่ห้องหัวใจด้านขวา หรือซ้ายก่อน
 ซึ่งอาจเป็นเดี๋ยวเดียวไม่กี่วินาทีแล้วก็หาย  (non-sustained VT)
 หรือเป็นนานอย่างต่อเนื่องเป็นนานหลายนาที  หรืออาจเป็นชั่วโมง
 (sustained VT)

 ในกรณีที่เป็นชนิด sustained VT  หากไม่ได้รับการรักษา 
 อาจเปลี่ยนเป็น Ventricular fibrillation ได้

 Ventricular fibrillation


 ความผิดปกติของการเต้นหัวใจชนิดนี้  เป็นการเต้น ของหัวใจที่ไร้ประสิทธิภาพ
 ไม่สามารถก่อให้เกิด heat beat ได้แท้จริงได้
 ผลที่เกิดจะทำให้คนไข้หมดสติ  สมองไม่ได้รับเลือดเพียงพอ และถุกทำลายไป
 ทำให้คนเสียชีวิตในไม่กี่นาที
 ภาวะ ventricular fibrillation ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน (cardiac emergency)

 สาเหตุที่ทำให้เกิด ventricular fibrillation ได้แก่กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
 ( heart attack) , ถูกไฟฟ้าช้อตเอา (electrical aacident)
 หรือถูกฟ้าผ่า
 หรือจมน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น