11/1012
มีรายงานว่า ภาวะหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด
ซึ่งเราทราบในชื่อ heart attack มักจะเกิดตามหลัง
หรือในระหว่างทำการผ่าตัด
ซึ่งเรื่องในลักษณะเช่นนี้ บังเอิญผู้เขียนได้ประสบมาด้วยตนเอง
เรื่องมีว่า ผู้ป่วยสูงอายุวัย 70 เป็นโรคกระดูกสันเคลื่อนออกจากที่
(spondylolithesis) ได้รับการผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกสันหลังให้กลับเข้าที่
พร้อมกับทำการตรึงกระดูกให้อยู่ในที่ๆ ควรอยู่ด้วยอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง
ในระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยสามารถทนต่อการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
การผ่าตัดดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีอะไรผิดปกติ
พอแพทย์ผู้ช่วยกำลังจะปิดแผลผ่าตัดเท่าแหละครับ...
หัวใจมีอันเป็นไป ทุกอย่างรวนไปหมด
เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ บอกให้เราทราบว่า
กล้ามเนื้อหัวใจตายทุกมัด (myocardial infarction)
คำถามจากแพทย์ และญาติคนไข้ต่างมีความสงสัยว่า...
มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เราจะพบภาวะ heart attack ระหว่างการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดได้บ่อย
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในร่างกาย
เพื่อสร้างความสมดุลในเลือด โดยมีการจับตัวเม็ดเลือด
เพื่อทำให้แผลที่เกิดจากการผ่าตัดหายเหมือนปกติ
นอกจากนั้น ร่างกายของคนเราจะมีการตอบสนองต่อความเครียด
และต่อการดมยาสลบ ซึ่งอาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อ
ลการเกิด heart attackได้เช่นกัน
คนไข้บางคนอาจมีภาวะ “silent heart attack” โดยที่เจ้าตัวไม่สังเกตพบ
อาการก็อาจเป็นได้
มีนักวิจัยจำนวนหนึ่ง ได้ทำการศึกษาบันทึกผลของกาศึกษาในคนไข้
จำนวน 8,351 ราย จาก 23 ประเทศ
เพื่อต้องการทราบว่า การเกิด heart attack ในระหว่างการผ่าตัด
หรือหลังผ่าตัดนั้น มีพบได้บ่อแค่ใด ?
ผลปรากฏว่า มี 5 % ของคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเกิด heart attack ขึ้น
ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการผ่าตัด
ในคนที่เกิด heart attack พบว่า 74 % จะเกิดภาวะดังกล่าว
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด
และ หกสิบห้าเปอร์เซ็นต์ จะเป็น silent heart attack
ซึ่งเป็นคนไข้ที่ไม่อาการให้คนไข้ได้ทราบเลย
ที่สำคัญ ภาวการณ์เกิด silent heart attack สามารถทำอันตรายได้แก่
กล้ามเนื้อหัวใจได้เท่า ๆ กับรายที่มีอาการเสียด้วยซิ
นักวิจัยได้ทำการสำรวจดูคนไข้หลังการผ่าตัด ที่เกิด heart attack
ด้วยการตรวจเลือดหาโปรตีนชนิดหนึ่ง ชื่อ troponin
ปรากฏว่า ระดับโปรตีน protonin ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งจะปรากฏในวันแรกหลังการผ่าตัด
ความจริงมีอยู่ว่า...
การตรวจหาค่า troponin นั้น แพทย์จะสั่งตรวจทุกครั้งที่คนไข้มีอาการ
เจ็บหน้าอก (routinely check) แต่แพทย์เราไม่ค่อยจะสั่งตรวจหาค่า
สารดังกล่าวในคนไข้ที่กำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งอาการของ
heart attack
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการตรวจหาภาวะ silent heart attack และให้
การรักษาได้อย่างเหมาะสม นักวิจัยทั้งหลายต่างให้คำแนะนำว่า...
ในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ทุกราย ควรได้รับการตรวจหา troponin
น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น