วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลิน 1 (Calculating Insulin Dose).

  April 14, 2013


จากคลินิกโรคเบาหวานนิรนาม
มีการสนทนาของหญิงชรา กับเพื่อนวัยเดียวกัน
ท่านแรกเอ่ยถามเพื่อนอีกคนว่า...

เธอเป็นโรคเบาหวานเหมือนกันเหรอ ?”
ใช่ค่ะ...ฉันเป็นโรคเบาหวานมาหลายปี 
  และได้รับการรักษาด้วยอินซูลินฉีด โดยต้องฉีดอินซูลิน 8 ยูนิต ก่อนนอนทุกวัน
  พอเธอพูดเสร็จ ก็ถูกตั้งคำถามว่า...
ทำไมต้องฉีด 8 ยูนิต
  ซึ่งทำให้เธอตอบไม่ได้....
ไม่รู้...”  นั่นคือคำพูดของเธอผู้นั้น
  
แน่นอน !
ทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน  ต่างมีคำถามมากมายที่ต้องการคำตอบ เป็นต้นว่า
เรื่องการใช้ยาฉีด อินซูลิน”  มีคนไข้บางคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีด  ไม่
สามารถบอกได้ว่า  ทำไมตัวเองต้องฉีดยาตามที่แพทย์ หรือพยาบาลบอกให้
ฉีด...

ตามเป็นจริง...
ท่านที่เป็นโรคเบาหวาน  จำเป็นต้องรู้ (เรียนรู้) ว่า
ตนเองสามารถคำนวณได้ว่า  เราต้องการอินซูลินกี่ยูนิต  เพื่อจัดการกับน้ำ
ตาลในกระแสเลือด  ให้ลดลงสู่เป้าหมายตามต้องการได

ขณะเดียวกัน  เราต้องรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ อินซูลินเอาไว้บ้าง
เป็นต้นว่า  ในช่วงเวลากลางคืน  และเวลาท้องว่าง และเวลาระหว่างมื้อของ
การรับประทานอาหาร  ร่างกายของต้องใช้รับอินซูลินจำนวน 40 – 50 % ของ
จำนวนอินซูลินที่ร่างกายต้องใช้ตลอด 24 ชั่วโมง (total daily insulin dose)

จริงอยู่...
ผู้ให้การรักษา (ส่วนใหญ่เป็นแพทย์) จะเป็นคนสั่งยาว่า 
ท่านควรได้รับอินซูลินกี่ ยูนิต” (dose)

อย่างไรก็ตาม  คนที่ต้องลงมือปฏิบัติคือตัวท่าน (คนไข้) ท่านจะต้องเรียนรู้
การคำนวณของ อินซูลินที่ท่านจำเป็นต้องใช้เอาไว้ด้วย  เพราะมีสูตรใน
การคำนวณเอาไว้ให้  เพื่อคำนวณดูว่า 

ท่านจะต้องใช้ โบลัส อินซูลิน” เพื่อจัดการกับอาหาร (meals) หรืออาหารว่าง
(snacks) กี่ ยูนิต”  หรือใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น
ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของท่านทั้งนั้น

จากข้อมูลต่อไปนี้  ท่านจะได้พบ:

·         ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณอินซูลินต่อครั้ง เพื่อจัดการกับ
          “คาร์โบฮัยเดรต” (carbohydrate coverage dose)
·         ตัวอย่างการคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้จัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น
          (high blood sugar correction dose)
·         การคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้ต่อครั้งเมื่อรับประทานอาหาร
          (meal time insulin dose)
·         สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลินที่ใช้เป็นประจำ
          (Insulin dose recommendations)

ก่อนอื่น  ลองมาพิจารณาความรู้พื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับอินซูลิน:

ข้อแรกมีการประมาณการว่า 40 – 50 % ของปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้อง
ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง (total daily insulin dose) เป็นปริมาณอินซูลินทำหน้า
ที่ในตอนกลางคืน, ขณะท้องว่าง และระหว่างมืออาหาร  เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ
สามารถใช้พลังเพื่อมีชีวิตอยู่ได้  เราเรียกอินซูลินชนิดนี้ว่า เบซอล อินซูลิน

ประการที่สอง: 50 – 60 % ของปริมาณอินซูลินที่รางกายต้องใช้ทั้งวัน จะทำ
หน้าที่จัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต”  และจัดการกับน้ำตาลในกระ
แสเลือดที่สูงขึ้นด้วยการนำส่งให้แก่เซลล์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน 
 เราเรียกว่า โบลัส อินซูลิน

อินซูลิน  สำหรับจัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต
(Bolus- Carbohydrate coverage )

ปริมาณของอินซูลินสำหรับใช้จัดการกับอาหารที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต  
จะถูกแพทย์สั่งในรูปของอัตราส่วนระหว่าง อินซูลิน กับ คาร์โบฮัยเดรต” 
โดยอินซูลิน 1 ยูนิต สามารถจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตในอาหาร 
ซึ่งคนเรารับประทานได้หลายกรัม

โดยทั่วไป เราพบว่า  1 ยูนิต ของอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว สามารถจัดการกับ
อาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรตได้ 12 – 15 กรัม
อาจมีมีความแตกต่างได้อย่างมาก ระหว่าง 4 – 30 กรัม
โดยจะขึ้นกับคนแต่ละคน  ซึ่งมีความไวต่ออินซูลินต่างกันไป

นอกจากนั้น  เรายังพบว่า  ความไวต่ออินซูลินของคนเรายังมีความแตกต่างกัน
ตามช่วงเวลา ตลอดรวมถึงการออกกำลังกาย และความเครียดที่เกิดอีกด้วย

ปริมาณอินซูลิน  ที่ใช้เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่สูงขึ้น
(Bolus- High blood sugar correction )

ปริมาณอินซูลินที่ใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น  ยังถูกเรียกว่า 
Insulin sensitivity factor มันหมายถึงปริมาณของน้ำตาลในกระแสเลือด
เมื่อเราใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว 1 ยูนิตจะลดลงได้มากน้อยเท่าใด

โดยทั่วไป ในควบคุม หรือการจัดการกับบระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น...
จะพบว่า  อินซูลิน 1 unit จะทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงได้ 50 mg/dL
โดยมีค่าเฉลี่ย  15 – 100 mg/dL หรือมากกว่า 
ซึ่งขึ้นกับความไวของบุคคลที่มีอินซูลิน และสิ่งแวดล้มอย่างอื่น ๆ

ตัวอย่าง

Carbohydrate coverage at a meal:

เราสามารถคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน เพื่อใช้จัดการกับอาหารที่
เป็น คาร์โบฮัยเดรตซึ่งเรารับประทานในแต่ละมือได้ โดยมีสูตรคำนวณดังนี้

CHO insulin dose = Total grams of CHO in the meal ÷ grams of CHO 
dispose by 1 unit of insulin
(จะใช้จำนวนกรัมที่ต่ำ่สุดซึ่งถูกจัดการโดยอินซูลินหนึ่งยูนิต)

ตัวอย่างที่ 1:
สมมุติ ท่านต้องรับประทานอาหารกลางวัน ที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต 60 กรัม
และอัตราส่วนระหว่างอินซูลิน ต่อ กรัมคาร์โบฮัยเดรต = 1 : 10

คำนวณตามสูตร :  60÷10= 6

คำตอบที่ได้อาหารที่เป็น CHO ทีท่านรับประทานในตอนเที่ยงวัน 60
กรัม  ท่านจะต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการกับมัน 6 units

v  High blood sugar correction dose:

เราสามารถคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน ซึ่งใช้เพื่อจัดการกับ
ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high blood correction dose) โดยใช้
สูตรคำนวณดังนี้:

High blood sugar correction dose =Difference between
Actual blood sugar and target blood sugar÷ correction factor

ตัวอย่าง:

1.    ระดับน้ำตาลที่วัดได้ก่อนอาหารกลางวัน 220 mg/dL
2.    ระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะให้เป็น (target)  120 mg/dL
3.    อินซูลิน 1 unit สามารถลดระดับน้ำตาลได้ 50 จุด (mg/dL)
และ  blood sugar correction factor = 50

จากสูตรที่กำหนดให้  เราสามารถคำนวณหาปริมาณอินซูลิน  
เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลที่สูงกว่าเป้าหมายได้ดังนี้:

(220 – 120) ÷ 50 = 2 units

ผลที่ได้จากการคำนวณ  เราต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว  เพื่อทำให้
ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเที่ยง 220 mg/dL ลดลงสู่เป้า 120 mg/dL
เราจะต้องใช้อินซูลิน 2 units

จากตัวอย่างที่กำหนด...
ท่านต้องรับประทานอาหารเที่ยง ซึ่งมีคาร์โบฮัยเดรตจำนวน 60 กรัม
จะต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็วเพื่อจัดการกับ CHO ดังกล่าว 6 units

และก่อนที่ท่านจะรับประทานอาหาร  ยังปรากฏว่า  ระดับน้ำตาลใน
เลือดสูงจากระดับเป้าหมาย (220 – 120 mg/dL) ซึ่งจำเป็นต้องใช้
อินซูลินเพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น 2 units

จากข้อมูลที่ได้...

ท่านจะต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว  เพื่อจัดการกับอาหารที่เป็น CHO
และระดับน้ำตาลที่สูงก่อนอาหาร เป็นจำนวน 6 + 2 = 8 units

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น