March 7,2013
ในอดีต
มีแพทย์จำนวนไม่น้อยมีความลังเลที่จะให้ยาลดความดันโลหิต
จนกว่าความดันโลหิตของคนไข้จะสูงถึง 160/100 เสียก่อน
ซึ่งพวก
เขามีความเห็นว่า คนเมื่ออายุมากแล้ว...ความดันโลหิตที่สูงเกิน 140/90
มันก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องไปสนใจให้เสียเวลา
มันก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องไปสนใจให้เสียเวลา
แนวคิดดังกล่าว...
เป็นความเข้าใจผิดโดยสินเชิง
เพราะผลจากการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า
เมื่อคนเรามีความดันโลหิตสูงขึ้นถึงระดับ 140/90 mm/ Hg
ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ก็สมควรได้รับการรักษาแล้ว
ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ก็สมควรได้รับการรักษาแล้ว
ยิ่งคนที่เป็นโรคเบาหวาน
หรือเป็นโรคไตด้วยแล้ว...
แม้ว่าความดันโลหิตของเขาจะมีค่าเพียง 130/80 mm Hg
แพทย์ยังต้องใช้ยาลดให้ต่ำลงให้มีมีค่าำตำ่กว่า 130/80
แม้ว่าความดันโลหิตของเขาจะมีค่าเพียง 130/80 mm Hg
แพทย์ยังต้องใช้ยาลดให้ต่ำลงให้มีมีค่าำตำ่กว่า 130/80
ในปัจจุบัน เรามารถควบคุมความดันโลหิตด้วยยาขนาดต่ำ ๆ
โดยมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงมีได้น้อยมาก
ซึ่งอาจใช้ยาเพียงตัวเดียว
หรือใช้ยาหลายตัวรวมกัน
ในปัจจุบิัน เราจะพบว่า มียาถูกผลิตขึ้นมาอย่างมากมาย
โดยยาเหล่านั้น มีโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างจากยาเก่าไม่มากนัก
แต่สามารถทำปฏิกิริยาภายในร่างกายได้เกือบเหมือนกัน
ซึ่งแพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย เพื่อควบคุมระดับความโลหิต
ได้โดยไม่ให้เกิดมีผลข้างเคียง และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ได้โดยไม่ให้เกิดมีผลข้างเคียง และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
นอกเหนือจากนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้ยาเพียงตัว
เพื่อทำการลด-าความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดร่วมกับโรคอย่างอื่น
เช่น
โรคหัวใจล้มเหลวได้
มีความจริงอย่างหนึ่งที่ทุกคนจะต้องทราบ นั้นคือ
ไม่มียาลดความดันโลหิตตัวใดเหนือกว่าตัวใด และในการเลือกใช้ยา
แพทย์จะพิจารณาเลือกยา โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของคนไข้เป็นหลัก
โดยทั่วไป ในการใช้ยาลดความดันโลหิต เราจะเริ่มจากน้อยสุด
จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขนาดของยา จนกระทั้งความดันโลหิตลดลงสู่ระดับปกติ
จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขนาดของยา จนกระทั้งความดันโลหิตลดลงสู่ระดับปกติ
ถ้าหากคนไข้มีผลข้างเคียง (side
effects) เกิดขึ้น
แพทย์จะเปลี่ยนยากลุ่มใหม่ให้....
โดยทั่วไป แพทย์จะทำการรักษาความดันโลหิตสูง stage 1 (140-159/90-99)
ด้วยการให้ยาลดความดันเพียงตัวเดียว
และเพิ่มยาตัวที่สอง (ต่างกลุ่ม) เมื่อพบว่า ระดับความดันยังไม่ลดลงสู่เป้าหมาย
และเพิ่มยาตัวที่สอง (ต่างกลุ่ม) เมื่อพบว่า ระดับความดันยังไม่ลดลงสู่เป้าหมาย
(โดยให้ลดต่ำกว่า 140/90 หรือต่ำกว่า
130/80 ในคนที่เป็นเบาหวาน&โรคไต)
ซึ่งบางครั้ง คนไข้อาจได้รับบาหลายขนานก่อนที่จะพบยาที่ที่ทำงานได้ดี
ในคนไข้ที่เป็นความดันโลหิตสูงระยะที่สอง (stage 2 >160/>100 mm Hg)
แพทย์มักจะให้ยาลดความดันสองตัวร่วมกัน และจะเพิ่มยาตัวที่สามให้แก่คนไข้
เมื่อไม่สามารถทำให้ความดันลดลงสู่เป้าหมายได้
ในการรักษาความดันโลหิตสูง
ไม่ว่าจะอยู่นะระยะใด (stage 1 & 2)
หรือแม้กระทั้งคนที่เป็น pre-hypertension (>130/80 mm Hg) จะต้องมีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม (การออกกำลังกาย และอาหาร) โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
พฤติกรรม (การออกกำลังกาย และอาหาร) โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
และยาที่ใช้ลดความดันโลหิตสูง จะต้องได้รับอย่างเหมาะสม
หรือหากจำเป็น อาจต้องเพิ่มยาให้แก่คนไข้ตามต้องการได้
ความจริงมีว่า...
ในสหรัฐฯ
คนผู้ใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ประมาณ 71 %
โดยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเป็นต้นเหตุไม่ได้รับการรักษา
โดยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเป็นต้นเหตุไม่ได้รับการรักษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น