วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

สูตรคำนวณหาปริมาณอินซูลิน... (Calculating Insulin Dose) 2

April 14, 2013


สูตรคำนวณหาปริมาณของอินซูลิน สำหรับใช้รักษาคนไข้โรคเบาหวาน

ซึ่งเราจะต้องใช้เป็นประจำ  เช่น Basal &  bolus insulin doses

และ อินซูลินที่ใช้ต่อวัน (daily dose insulin)  นั้น  ปรากฏว่า


ผลที่ได้จากการคำนวณ อาจเป็นค่าที่สูงไปสำหรับคนไข้ทีเพิ่งได้รับการวินิจฉัย  

หรืออาจเป็นค่าที่ต่ำเกินสำหรับรายที่ไม่ตอบสนองต่อ อินซูลินหรือที่เรียกว่า  

ต้านอินซูลิน (insulin resistant)   

 

ดังนั้นสูตรที่ใช้โดยทั่วไปอาจไม่เหมาะกับคนไข้แต่ละรายได้  จำเป็นต้อง


ให้แพทย์เป็นผู้ช่วยหาค่าที่เหมาะสมให้




ในการคำนวณหาค่า อินซูลิน เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดใน
ขณะท้องว่าง และในตอนกลางคืน  ซึงเรียกว่า “เบซอล อินซูลิน”  
และอินซูลิน  ที่นำมาใช้เพื่อจัดการกับอาหารประเภท CHO ที่รับประทาน 
 เราเรียกชื่อว่า “โบลัส อินซูลิน”  จำเป็นต้องอาศัยค่าของอินซูลินที่ร่างกาย
ต้องการใช้ตลอดทั้งวัน(daily insulin dose)

 

สูตรคำนวณหาค่าอินซูลิน ซึ่งร่างกายต้องใช้ตลอดทั้งวัน

(Total daily Insulin Requirement)
สูตรที่ใช้กันโดยทั่วไป เพื่อคำนวณหาค่า ปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้องการ คือ:

ปริมาณของอินซูลินที่ร่างกายต้องการตลอดวัน (Total daily requirement)
จะมีค่า = Weight in Pounds÷ 4
หรือถ้าน้ำหนักเป็น kilograms จะใช้สูตร

Total daily insulin requirement = 0.55 x Total weight in Kilograms

·         สมมุติน้ำหนักตัว 160 pounds จะต้อใช้อินซูลินตลอดวัน (24 ชั่วโมง)
ตามสูตรที่กำหนดให้:

Total daily insulin requirement = 160 ÷ 4 = 40 units of insulin/day

·         ถ้าน้ำหนักตัว 70 Kilograms

Total daily insulin requirement  = 70 x 0.55 = 38.5 units insulin/d.
เมื่อเราได้ค่าของปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว 
เราสามารถทราบได้ว่า  basal insulin dose มีปริมาณเท่าใด  โดยใช้สูตร:

Basal insulin dose = 50 % of Total daily insulin requirement
                          = 20 units of long acting insulin:  glargine /detemir

หรืออาจใช้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น แต่ต้องใช้อย่างต่อเนื่องทุก 2-4 ชั่วโมง
โดยใช้เครื่องปั้มฉีดเข้าใต้ผิวหนังตามต้องการ


สูตรสำหรับคำนวณหาค่าปริมาณของอินซูลิน 

เพื่อใช้จัดการกับอาหารที่เป็น คาร์โบฮัยเดรต (CHO):

( Carbohydate coverage ratio)


สูตรที่ใช้คำนวณ คือ:

500 ÷ Total daily insulin dose
= 1 unit ของอินซูลิน   สามารถจัดการกับอาหารที่เป็น CHO ได้หลายกรัม
โดยใช้  Rule of  “500”  
ซึ่งจะเป็นค่าของอินซูลินที่ใช้เพื่อจัดการกับอาหารที่เป็น CHO ดังกล่าว 
เราอาจเรียกว่า carbohydrate bolus calculation

ดังตัวอย่าง:

1.    สมมุติอินซูลินที่ร่างกายของท่านต้องใข้ตลอดวัน (TDI) มีค่า
= 160  ÷  4 = 40 units

จากตัวอย่างรายนี้  เราสามารถคำนวณได้ว่า จะใช้อินซูลินเพื่อจัดการ
2.    กับอาหารที่เป็น CHO ได้จากสูตร 500 ÷ TDI (40)
    = 1 unit insulin สามารถจัดการอาหารที่เป็น CHO ได้  12 กรัม

จากตัวอย่างรายนี้  เราสมมุติว่า  เขาตอบสนองต่ออินซูลินได้เสมอต้นเสมอ
ปลายตลอดทั้งวัน  แต่ตามเป็นจริง  คนเราจะตอบสนองต่อินซูลินได้แตกต่าง
กัน  บางคนเกิดการต่อต้านอินซูลินในตอนเช้า,  แต่มีความไวตออินซูลินในตอนเที่ยงวัน  
ในกรณีเช่นนี้เราต้องมีการปรับขนาดของอินซูลินตามเวลาที่ได้รับอาหาร (meal times)

ในกรณีนี้  “เบซอล อินซูลิน” ที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาล
ในกระแสเลือดขณะท้องว่าง  ยังคงมีค่าเท่าเดิม  นั้นคือ 20 units
แต่ปริมาณอินซูลินสำหรับใช้จัดการกับอาหาร (I : CHO) อาจเป็น: อาหารเช้า
(breakfast) 1:8 กรัม; อาหารเที่ยง (lunch) 1;15 กรัม 
และอาหารเย็น (dinner) 1:12 กรัม

สูตรคำนวณหาค่าปริมาณอินซูลิน
เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลสูงในกระแสเลือด
(The high blood sugar correction factor)

Correction factor  = 1800÷Total Daily Insulin Dose = 1 unit of
Insulin will reduce the blood sugar so many mg/dL

ตัวอย่าง
สมมุติท่านมีน้ำหนักตัว 160 ปอนด์ ต้องการอินซูลินตลอดวัน (TDI) :
สามารถคำนวณได้จากสูตร:
Body weght ( 160 lbs) ÷ 4 = 40 units

Correction factor
= 1800 ÷ TDI (40 units)
= 1 ยูนิต ของอินซูลิน จะลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลงได้ 45 mg/dL


<< BACK

http://dtc.ucsf.edu/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น