วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานในคนสูงอายุ 3

March 22, 2013
Continued

เรื่องการรักษาด้วยยา (pharmacological therapy)…

ในคนสูงอายุที่เป็นเบาหวาน  จะมีปัญหาเรื่องยาได้ไม่น้อย 
เป็นต้นว่า  อาจมีการใช้ยาได้ไม่เหมาะสม,  ผลของการรักษาอาจเลวกว่าอาการ
ที่ปรากฏในตัวคนไข้ก็ได้

การใช้ยาหลายตัวในคนสูงอายุ  จะเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากคนสูงอายุดังกล่าว  มีหลายโรครวมอยู่ในตัวของเขา
ร่วมกับการเป็นโรคเบาหวาน  แต่บางครั้ง  อาจเป็นเพราะแพทย์หลายท่าน  เป็นผู้
สั่งยาให้แก่คนไข้เอง  โดยแต่ละคนไม่ได้ตระหนักถึงยาที่คนไข้ได้รับมาก่อน 
เป็นเหตุให้คนไข้ได้รับยาหลายตัว  จนทำให้เกิดมีปฏิกิริยาระหว่างยาขึ้น 
(drug interactions)


การปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ผู้ให้การรักษา ก็พบว่าคนสูงอายุจำนวนไม่น้อย
ไม่ค่อยปฏิบัติตาม  โดยมีสาเหตุหลายอย่าง  เป็นต้นว่า
มีความจำเสื่อม,  สายตาไม่ดี หูตึง, และไม่ยอมรับผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
เลิกปฏิบัติตามคำแนะนำ... มีบางรายไม่ยอมบอกกล่าวให้แพทย์ได้รับทราบ

นอกจากนั้น  เรายังพบอีกว่า   มียาหลายตัวออกฤทธิ์ภายในร่างกาย (pharmacodynamics) 
และมีการเปลี่ยนแปลงภายในในคนสูงอายุ   ซึ่งทำให้มีแนวโน้มสู่การเป็นพิษ
ในร่างกายของพวกเขาได้   

เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวาน   
ได้ตั้งเป้าหมายของระดับน้ำตาล   วัดในขณะท้องว่างเอาไว้ที่ 120 mg/dL
และ hemoglobin A1C มีค่าอยู่ภายในระดับ 1% ของ upper limit
ของค่าปกติที่เราตั้งเป็นเป้าหมายสำหรับการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

อย่างไรก็ตาม ADA ยังชี้บอกให้ทราบอีกว่า อายุของคนไข้ไม่ใช้ข้ออ้างให้
ทำการรักษาให้ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ในบางครั้ง 
เราไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้

ดังนั้น  เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานในคนสูงอายุ จึงน่าจะเป็นเฉพาะราย
โดยมีปัจจัยหลายอย่าง   ซึ่งควรนำมาพิจารณาร่วมในการวางแผนการรักษา
เช่น ช่วงชีวิตที่เหลือ, โรคที่เกิดร่วมกับคนไข้,  ปัญหาด้านการเงิน,
ตลอดรวมถึงการสนับสนุนด้านบริการต่างๆ  ที่คนสูงอายุควรได้รับ

จากการศึกษาของ UKPDS แสดงให้เห็นว่า...
การควบคุมระดับของน้ำตาลในเบาหวานประเภท 2 ได้ตามเป้าหมาย
พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเส้นเลือดขนาดเล็กลดลง
(micro-vascular complication)

แต่สำหรับภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular Complication)
ปรากฏว่า จะไม่ค่อยมีผลจากการควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย

ผลที่เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเบาหวานประเภท 2 ได้ดี 
จะมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่อระบบเส้นเลือด  และหัวใจได้น้อยมาก
แต่เขาจะเน้นให้มีการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือด
 
ปัจจัยต่าง ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือด ได้แก่: 
ความดันโลหิตสูง, ไขมันในกระแสเลือดสูง, และ ความอ้วน (รอบเอว) 
หากสามารถแก้ปัจจัยดังกล่าวได้ สามารถลดต้นเหตุการณ์เสียชีวิตในคนไข้
สูงอายุที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ได้

อาหาร (Diet)
มีคนสูงอายุจำนวนไม่น้อยได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหาราเพียงอย่างเดียว
จะได้รับผลดีจากการรักษาแตกต่างกัน  ที่สำคัญ คนสูงอายุปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
หรือนักโภชนาการได้ยากกว่าคนหนุ่ม  

นอกจากนั้นเรายังพบว่า คนสูงอายุมักมีปัญหาหลายอย่างที่ไม่ควรมองข้าม

 เป็นต้นว่า  มีการเคลื่อนไหวลำบาก,  รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์,
ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์,  สูญเสียความรู้สึกอยากรับประทานอาหาร, ท้องผูกบ่อย ๆ 
ซึ่งต่างเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แทบทั้งนั้น

การแนะนำเรื่องอาหารการกิน  ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนไข้แต่ละราย
การควบคุมเรื่องอาหารการกินที่เข็มงวดเกินไป  ไม่น่าจะมีประโยชน์ต่อคนสูงอายุ
ที่มีชีวิตในบั้นปลายอีกไม่กี่ปี  ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตเสียไป
โดยไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ จากความเข็มงวดดังกล่าว

ในขณะนี้  ADA ไม่มีคำแนะนำในเรื่องอาหารเป็นการเฉพาะสำหรับคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
แต่...ควรให้ไวตามิน และอาหารเสริมด้วยแร่ธาตุในคนที่จำกัดอาหารต่ำกว่า 1000 kilocalories 
ต่อวัน

การออกกำลังกาย (Exercise)
บทบาทของการออกกำลังกายในคนสูงวัยที่เป็นโรคเบาหวาน  ยังเป็นเรื่องที่มีโต้เถียงกัน
มีการวิจัยชิ้นหนึ่งได้รายงานว่า
การออกกำลังกายเพื่อควบคุมโรคเบาหวานในคนสูงวัย  เป็นเรื่องที่อาจกระทำไม่ได้
ที่สำคัญการบริหารร่างมีประโยชน์จริง แต่ก็มีความเสี่ยงต่ออันตรายได้เช่นกัน
เช่น  หกล้มกระดูกแตกหัก เป็นต้น

ประโยชน์ทั้งหลายที่พึงเกิดขึ้นกับคนสูงอายุที่เป็นเบาหวาน
คือการกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดนั้นเอง
โดยเฉพาะโรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบที่ไม่มีอาการ (silent coronary heart disease)
ปรากฏว่ามีอัตราสูง  ซึ่งคนไข้พวกนี้ควรได้มีการออกกำลังกาย  ด้วยการเริ่มต้นจากน้อย
ไปหามาก...ตามความสามารถของคนไข้

ก่อนที่เริ่มทำการออกกำลังกาย ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำการ
รักษาก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมการบริหารร่างกาย

เพื่อความปลอดภัยของคนสูงอายุ...
คนไข้จะต้องสรวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกกำลังกาย
พร้อมกับระมัดระวังอย่าให้เกิดการหกล้มได้รับบาดเจ็บเป็นอันขาด
เพราะการหกล้ม  ถือเป็นเรื่องอันตราย..ล้มแล้ว  ล้มเลย !

และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภายน้ำตาในกระแสเลือดลดต่ำ (hypoglycemia)
ก่อนออกกำลังกาย  ควรรับประทานอาหารว่างก่อนเสมอ
  

<< BACK   >>NEXT 

 http://vatchainan2.blogspot.com/2013/04/4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น