April 15, 2013
เมื่อคนเราเป็นโรคเบาหวาน...
เราจำเป็นต้องรู้เรื่องอาหารที่เราต้องรับประทาน.
เราถือว่า หัวใจของการรักษาโรคเบาหวาน คืออาหารที่ให้สุขภาพนั่นเอง
เพราะอาหารหลายอย่าง มีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
และนอกจากนั้น มันยังกระทบต่อน้ำหนักตัว และสุขภาพของหัวใจ
(heart health) อีกด้วย
Understanding Food:
ในการเข้าใจในเรื่องอาหาร หมายความว่า เราต้องทราบว่า อาหารชนิดไหน
ที่ให้ “คาร์โบฮัเดรต”, “โปรตีน” และ “ไขมัน” และรวมไปถึงการรู้ว่า
เราจะเลือกอาหารที่สมดุล (ครบทุกหมู่เหล่า และได้ปริมาณที่ครบถ้วน)
อาหารแต่ละชนิด จะให้พลังงาน (clories) แตกต่างกันไป
ยกตัวอย่าง ไขมันจะให้พลังงานมากเป็นสองเท่า ของคารโบฮัยเดรตและโปรตีน
(กรัมต่อกรัม)
(กรัมต่อกรัม)
พลังหลักสำคัญที่ปรากฏในอาหาร
มนุษย์เราจะได้รับโภชนาการจากอาหารที่เรารับประทาน
และเพื่อให้ร่างกายของเราสามารถดำเนินอยู่ได้ เราจำเป็นต้องได้รับ
อาหารสามชนิดด้วยกัน นั้นคือ
· คาร์โบฮัยเดรต (Carbohydrate)
· ไขมัน (Fat)
· โปรตีน (Protein)
พลังงานที่ได้จากอาหาร (Calories in food)
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อาหารทุกชนิดให้พลังงานได้ไม่เท่ากันยกตัวอย่าง:
· ไขมัน (Fat) = 9 คาลอรี่ ต่อกรัม
· คาร์โบฮัยเดรต (CHO) = 4 คาลอรี่ ต่อกรัม
· โปตีน (Protein) = 4 คาลอรี่ ต่อกรัม
คาลอรี่ (calories) = พลังงาน (Energy)
และเราจะเห็นว่า อาหารประเภทไขมันจะให้พลังงาน (calories) มากที่สุด
(ระหว่างน้ำหนักกรัมต่อกรัม)
เราควรรับประทานอาหารทั้งสามกลุ่ม (CHO, Fat และ Protein)
มากน้อยเท่าใดในแต่ละวัน ?
ก่อนอื่นขอให้เข้าใจไว้ว่า เราไม่มีสูตรที่สมบูรณ์ ที่บอกว่าได้ว่า อาหาร
ทั้งสามกลุ่มควรเป็นเท่าใด และที่เราใช้เป็นหลักปฏิบัติกันอย่าวกว้าง ๆ ว่า
อาหารที่เรารับประทานกันทุกวัน ควรประกอบด้วย:
อาหารที่เรารับประทานกันทุกวัน ควรประกอบด้วย:
· คาร์โบฮัยเดรต 45 – 65 % ของพลังงานที่ควรได้ต่อวัน
· โปรตีน 10 – 35 % ของพลังงานต่อวัน
· ไขมัน 25 – 35 % ของพลังงานต่อวัน
อัตราส่วนดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคนปกติ หรือคนเบาหวานได้
เนื่องจากมีอาหารหลายอย่าง ที่คนเราจำเป็นต้องรับประทาน
เอาเป็นว่า เพื่อให้ง่ายต่อการจำ อาหารที่เรารับประทานต่อวัน
ควรมีส่วนประกอบต่อไปนี้
เอาเป็นว่า เพื่อให้ง่ายต่อการจำ อาหารที่เรารับประทานต่อวัน
ควรมีส่วนประกอบต่อไปนี้
· คาร์โบฮัยเดรต (CHO) 50 %
· โปรตีน (Protein) 25 %
· ไขมัน (Fat) 25 %
คาร์โบฮัยเดรต (CHO)
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน...
ท่านต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับ อาหารประเภท คาร์โบฮัยเดรต พอสมควร
ในชนิดของอาหารทั้งหลายที่คนเรารับประทานทุกวัน จะพบว่า
อาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” ซึ่งมีผลกระทบต่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากที่สุด
และอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรต (CHO) จะประกอบด้วยอาหารที่เป็นแป้ง (starch)
และน้ำตาล (sugar)
และอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรต (CHO) จะประกอบด้วยอาหารที่เป็นแป้ง (starch)
และน้ำตาล (sugar)
หลังจากเรารับประทานอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรตเข้าไป ทั้งสอง
รูปแบบ (starch & sugar) มันจะถูกย่อยให้แตกตัวเป็นส่วนที่เล็กสุด
เรียก “กลูโกส” (glucose)
อาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” ถือเป็นส่วนสำคัญของอาหารที่เรารัปประทานทุกวัน
เพราะพลังงานหลักที่สำคัญของร่างกายคือ “กลูโกส” นี้เอง
เพราะพลังงานหลักที่สำคัญของร่างกายคือ “กลูโกส” นี้เอง
แม้ว่าท่านจะเป็นโรคเบาหวาน...
ท่านไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มี “คาร์โบฮัยเดรต”
ท่านไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มี “คาร์โบฮัยเดรต”
แต่สิ่งที่ท่านต้องรู้ คือท่านสามารถบอกได้ว่า อาหารชนิดใดมี“คาร์โบฮัยเดรต”
จากนั้น ท่านเพียงแต่ควบคุมปริมาณที่ท่านรับประทานไม่ให้มากเกินไป
เท่านั้นเป็นพอ
เท่านั้นเป็นพอ
· พวกข้าว, ธัญพืช และพวก พาสต้า (pasta)
· ขนมปัง (Breads), ขนมปังกรอบ (Crackers)
· อาหารประเภทถั่ว (beans)
· พวกผัก เช่น มันฝรั่ง (potato) ข้างโพด (corn)
· ผลไม้ (fruit)
· นม (milk)
· โยเกริต (Yogurt)
· น้ำตาล (sugars) และน้ำผิ้ง (honey)
· อาหาร และเครื่องดื่มทั้งหลายที่มีน้ำตาล และของหวาน
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) ...
ท่านจำต้องปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสมกับคาร์โบฮัยเดรต
ที่ท่านรับประทาน และเพื่อให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ถูกต้อง
ท่านจำเป็นต้องวัดปริมาณของคาร์โบฮัยเดรตให้ถูกต้องแม่นยำ
โดยวัดเป็นกรัม หากวัดผิด จะมีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างมาก
ในทำนองเดียวกัน...
ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
ซึ่งท่านได้รับยาเม็ดรับประทานเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
เพื่อกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมา หรือได้รับยาฉีด “อินซูลิน”
ท่านจะต้องปรับขนาดของปริมาณอาหารประเภทคาร์โบฮัยเดรตให้เหมาะกับ
ขนาด (dose) ของยาลดน้ำตาลในเลือด เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ
ที่ไกล้เคียงกับระดับปกติ
อาหารประเภทโปรตีน (Proteins)
โปรตีน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร และจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์เราเช่นกัน
หากรับประทานมากไป สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
อาหารประเภทเนื้อ (meats) ส่วนใหญ่จะมีไขมันเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ
ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีปริมาณของโปรตีนที่ได้จากสัตว์เป็นจำนวนมาก
ย่อมหมายความว่า ท่านได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้นพร้อมๆ กับได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งหมายความว่า...คนที่รับประทานอาหารตามที่กล่าว ย่อมมีโอกาสเพิ่มน้ำหนักตัวด้วย
เราจะพบอาหารประเภทโปตีนได้จาก
· เนื้อวัว และ เนื้อหมู
· สัตว์ปีก เช่น เป็ดไก่
· ปลา หอย
· ไข่
· อาหารประเภทนมสัตว์
· พวกถั่ว..เต้าหู้
คำแนะนำ...
อาหารประเภทโปรตีนที่ดีที่สุดได้แก่
อาหารประเภทโปรตีนที่ดีที่สุดได้แก่
พวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่มีมัน (lean meats), สัตว์ปีก (poultry)
และเนื้อปลา และอาหารประเภทถั่ว (เต้าหู้)
อาหารประเภทไขมัน (Fats)
ไขมัน (fats) เป็นอีกส่วนหนึ่งของอาหารที่มีความสำคัญ
และเราต้องจำเอาไว้ว่า ไขมันให้พลังงานได้มากกว่าพวก CHO และโปรตีนถึงเท่า
ตัว และการจำกัดอาหารประเภทไขมัน ย่อมเป็นประโยชน์ในด้านช่วย
ควบคุมน้ำหนักตัว และป้องกันไม่ให้เกิดโรคของหัวใจ และเส้นเลือด
อาหารไขมันจะพบได้ใน:
· เนย (butter) และ เนยเทียม (margaine)
· น้ำมันพืช (vegetable oils, olive oil และ canola oil)
· น้ำสลัดทั้งหลาย (salad dressing, mayonnaise)
· ผลไม้เปลือกแข็งทั้งหลาย (nut), พวกเมล็ด
· อาหารประเภท เนื้อ เนื้อวัว, เนยแข็ง...
ไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่ไขมันที่ได้จากพืชทั้งหลาย
<< BACK NEXT >> Understanding carbohydrate
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น