วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคไขข้อ “รูมาตอยด์” : ยารักษาที่เราควรรู้



การรักษาโรค...

ก่อนให้การรักษา  เราจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่า...โรคนั้น เป็นโรคอะไร ?

เมื่อได้รับการรักษาแล้ว  เราต้องรู้ด้วยว่า
ยามันออกฤทธิ์อย่างไร ?  และจะเห็นผลเมื่อใด ? 
มียาบางอย่าง  กว่าจะออกฤทธิ์ให้เห็นผลต้องกินเวลานานเป็นอาทิตย์ หรือเดือน
หากไม่รู้ไม่เข้าใจ....ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
เลิกรับประทานยาโดยไม่บอกกล่าว  
ผลเสียย่อมบังเกิดขึ้นกับตัวท่านอย่างไม่ต้องสงสัย !

ที่พบเห็นบ่อยที่สุด  คือ การรักษาโรค "รูมาตอยด์" นี่เอง



การรักษาโรค “รูมาตอยด์”

ภายในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา  มียาจำนวนมากมายถูกนำมาใช้รักษาโรครูมาตอยด์  
ซึ่งยาเหล่านั้น ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่ประทับใจ  และ...
ความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าว  ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมียาหลายตัว  ได้รับการพิจารณาว่า 
เป็นยาที่เหมาะสมกว่าสมัยก่อน (15 – 20 ปี) อย่างมากมาย

มียาตัวใหม่ ๆ หลายตัว หรือยาหลายตัวถูกใช้ร่วมกัน  
อาจถูกนำมาใช้แทนที่การรักษาโรคในปัจจุบันนี้ก็ได้
สำหรับปัจจุบัน มีวิธีการรักษาตามมาตรฐาน  ต่อโรค “รูมาตอยด์”
ที่เราควรรู้ มีดังต่อไปนี้:

§  ยาบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ
(Pain Relieves & Anti-Inflammatory drugs)

§  ยากลุ่ม คอร์ติโคสะเตียรอยด์ (Corticosteroids)

§  ยาปรับเปลี่ยนการดำเนินของโรค (Disease –Modifying Antirheuatic Drugs)

§  การรักษาแบบใหม่ ๆ ( Newly Approved Treatments)


ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด & ลดการอักเสบ
(Pain Relievers And Anti-Inflammatory Drugs)

ในการรักษาคนไข้โรครูมาตอยด์ จะเริ่มต้นด้วยการใช้ยาลดความเจ็บปวด (pain relieve)
พร้อม ๆ กับการอักเสบที่เกิดจากการอักเสบของข้อ (anti-inflammation)

ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ยาเม็ดลดความเจ็บปวด (analgesics)
เช่น acetaminophen (Tylenol และยาอื่น ๆ) หรือ tramadol (Ultram),
และ Non-steroidal anit-inflammatory drugs  (NSAIDS) เช่น แอสไพริน,
ไอบูโปรเฟน (ibuprofen), นาโปรซีน (naproxen) และอื่น ๆ

จะใช้ยาแต่ละอย่าง ไม่ควรรู้แค่ประโยชน์เท่านั้น  เราควรต้องรู้โทษของมันด้วย

เพื่อเราจะได้หลีกเลี่ยง  ไม่ให้มันเกิดขึ้นกับเราได้

NSAIDs. 
ยาในกลุ่ม NSAIDs สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง
ที่พบได้บ่อยสุด คือการละคายเคืองต่อกระเพาะ และลำไส้  รวมถึงการมีแผล
ในกระเพาะอาหาร

สำหรับยา “แอสไพริน” สามารถทำให้เกิดมีเสียงในหู และเพิ่มอัตราการหายใจ
ให้มากกว่าปกติ  นอกจากนั้น  มันยังทำให้อาการแพ้, มีอาการฟกซ้ำตามผิวหนัง
มีเลือดออกง่าย  และเป็นอันตราย (injury) ต่อไต และตับได้


Cyclooxygenase-2 (COX-2) inhibitors. 
COX-2 inhibitors เป็นยาใหม่ในกลุ่ม NSAIDs
โดยมียา celecoxib (Celebrex)  ซึ่งเป็นยาเพียงตัวเดียวที่มีใช้ในสหรัฐฯ
ส่วนอีกสองตัว คือ rofecoxib (Vioxx) และ valdecoxib (Bextra) ถูกกำจัดออกจาก
ตลาดไปนานแล้ว  เพราะยาทั้งสอ เป็นอันตรายต่อบระบบเส้นเลือด และหัวใจ

ประสิทธิภาพของ celebrex จะพอๆ กับ NSAIDs รุ่นเก่าทุกประการ
แต่มีขอ้เหนือกว่า  ตรงที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้น้อยกว่า  NSAIDs รุ่นเก่า

แม้ว่า ยาในกลุ่ม NSAIDs สามารถลดอาการปวดในคนไข้ที่เป็นโรค 
และช่วยทำให้คนที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีความรู้สึกดีขึ้นก็จริง
แต่คนไข้ส่วนใหญ่  อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างอื่นเพิ่มอีก

ยาแก้ปวด (pain relievers) อาจลดอาการปวด (Pain relieve)
และ NSAIDs อาจลดการอักเสบ (anti-inflammation)ได้บ้าง  
แต่ผลที่มีต่อโรคอาจมีน้อย  สามารถทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นเท่านั้น แต่การอักเสบ
ยังคงดำเนินต่อไป และโรคยังสามารถทำอันตรายต่อข้อได้อย่างต่อเนื่อง  
ดังนั้น  เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลาย  ยากลุ่ม DMARDs จึงถูกนำมาใช้
เพื่อควบคุมสภาวะดังกล่าว 

Corticosteroids

ยาในกลุ่ม corticosteroids เช่น prednisolone เป็นยาที่สามารถลดอาการ
อักเสบได้ทันที  สามารถทำให้คนไข้มีอาการดีขึ้นภายในเวลาอันสั้น (น้อยกว่า
หนึ่งวัน...)  แต่ผลข้างเคียงของมันนี่ซิ  เราไม่ควรมองข้าม

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา corticosteroids ได้แก่:

·         ทำให้ผิวหนังเกิดฟกช้ำได้ง่าย
·         ทำให้เกิดกระดูกบาง
·         ทำให้เกิดต้อกระจก
·         ทำให้น้ำหนักเพิ่ม
·         ทำให้ใบหน้าบวมฉุ
·         เป็นโรคเบาหวาน
·         ทำให้ความดันโลหิตสูง

การใช้ยาในกลุ่ม corticosteroids จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างสูง
มันจะถูกใช้เพื่อระงับอาการที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง  
ในการใช้ยา  เพื่อควบคุมอาการดังกล่าว  จะต้องเริ่มต้นด้วยยาในขนาดน้อย  แล้ว
ค่อยเพิ่มยาจนได้ผล  จากนั้น จะมีการลดขนาดของยาลงจนในที่สุ
ดไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป

และในระหว่างที่ใช้ยา corticosteroids อยู่นั้น  
แพทย์อาจเริ่มใช้ยาในกลุ่ม DMARDs
ซึ่งเป็นยาที่ทำหน้าที่ชะลอการดำเนินของโรค  และกว่ามันจะออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่
จะต้องใช้เวลานานหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน
นั้นเป็นเรื่องจริงที่คนไข้ทุกคน  ที่ได้รับยาดังกล่าวจะต้องรู้...ใจเย็น ๆ  อดทน
รอให้ประสิทธิผลของยา  และเมื่อมันออกฤทธิ์เมื่อใด  การทำลายข้อจะลดลง 
หรือหยุดลง

ในการหยุดยา corticosteroids…
มีหลักว่า จะต้องค่อย ๆ ลดยาลงอย่างช้า ๆ  อย่าหยุดยาอย่างฉัยพลันเป็นอันขาด
เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้  เช่น  ความดันโลหิตลดต่ำ
หรืออาจเกิดภาวะช๊อคได้

ในกรณีที่การใช้ยาเม็ดสำรับรับประทาน "สะเตียรอยด์"  ไม่ประสบผล
ไม่สามารถควบคุมอาการอักเสบได้  ท่านอาจได้รับยาด้วยการฉีดเข้าข้อโดยตรง 
ซึ่งสามารถลดการอักเสบได้อย่างฉับพลัน  แต่ชั่วคราว ชั่วคราว  
วิธีการดังกล่าวมีการใช้น้อยมาก  เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง


ยาที่สามารถออกฤทธิ์ด้วยการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค
(Disease-Modifying Anti-inflammatory Drugs)

ยากลุ่มนี้ จะขอเรียกว่า DMARDs เป็นยาที่มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับการรักษา
โรครูมาตอยด์  โดยมันสามารถชะลอฤทธิ์ของโรครูมาตอยด์ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง
การทำงานในระบบภูมิคุ้มกัน

ยากลุ่ม DMARDs ที่ใช้บ่อยที่สุด  ได้แก่ methotrexate, hydroxychloroquine,
Sulfasalazine,  Leflunomide, adalimumab, etanercept และ infliximab

ส่วนยาตัวอื่น ๆ เป็นต้นว่า  Gold, cyclosporine, penicillamine และ
Minocyxline  จะปรากฏว่า ไม่ค่อยได้ใช้กันเพราะไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพน้อย
เท่านั้น  มันยังไม่ปลอดภัยต่อการใช้กับคนไข้อีกด้วย

DMARDs เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ช้ามาก
ซึ่งอาจกินเวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือนก่อนที่จะเห็นผลปรโยชน์เกิดขึ้น
เมื่อท่านทราบเช่นนี้แล้ว  อย่าได้ตกใจว่า  ทำไมไม่เห็นผลประโยชน์เกิดขึ้นสักที
และอย่าล้มเลิกการใช้ยาโดยพละการเป็นอันขาด

ในกรณีดังกล่าว...
แพทย์เขาจะบอกความจริงให้คนไข้ไดทราบ พร้อมกับให้กำลังใจ
ในขณะเดียวกัน  แพทย์จะให้ใช้ยากลุ่ม NSAIDs, Corticosteroids แก่คนไข้
โดยอาจให้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองตัว  เพื่อให้คนไข้รูสึกดีขึ้น  เป็น
การรอให้ยากลุ่ม DMARDs ได้ออกฤทธิ์

ในการรักษาด้วยยา DMARDs  ปรากฏว่า มียาบางตัวอาจใช้ไม่ได้ผล
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า  ยาตัวอื่นในกลุ่ม DMARDs อาจใช้ไม่ได้ผลเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่าง  ถ้าท่านไม่ตอบสนองต่อ methotrexate ท่านอาจตอบสนองต่อยา
Sulfasalazine หรือ etanercept ก็ได้

ในขณะนี้  จะพบว่า  มีนักวิจัยกำลังศึกษาหาทาง  เพื่อให้สามารถทำนายได้ว่า
คนไข้รายใดจะสนองต่อยาตัวใดในกลุ่ม DMARDs   ตลอดรวมถึงการศึกษาดูว่า 
เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเริ่มการรักษาด้วยยาในกลุ่มดังกล่าว...
ว่า  ควรให้เมื่อใด

เนื่องจากยาทุกตัวต่างมีผลข้างเคียง (side effects) เสมอ
การใช้ยา DMARDs ก็คงเป็นเช่นเดียวกัน  เราต้องตรวจสอบสุขภาพของคนไข้
เป็นระยะ ๆ ด้วย  ซึ่งยาแต่ละตัวต่างมีผลข้าเคียงแตกต่างกันไป
เช่น ก่อให้เกิดมีปัญหาเรื่องสายตา, โรคผิวหนัง, และมีผื่น, คลื่นไส้, ท้องร่วง
และมีเม็ดเลือดลดต่ำลง และอื่น ๆ

เมื่อท่านพบว่า  คนไข้เกิดแพ้ยา DMARDs ตัวหนึ่ง...
ไม่ได้หมายความว่า  ท่านจะต้องแพ้ยาตัวอื่นๆ ในกลุ่ม DMARDs

มียาสามตัวในกุ่ม DMARDs คือ Adalimumab, etanercept และ infliximab…
ทั้งสามตัวมีชื่อว่าเรียกว่า biologics

ที่เขาเรียกเช่นนั้น  เป็นเพราะยากลุ่มดังกล่าวจะทำปฏิกิริยาทางชีวภาพกับสาร
ที่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อทั้งหลายนั้นเอง

ยาทั้งสาม เป็นยาที่มีประสิทธิภาพได้สูงมาก  แต่แพทย์ที่รักษาโรครูมาตอยด์ จะ
สงวนยากลุ่ม biologics เอาไว้  จะสั่งยาเก่าให้แก่คนไข้ก่อน  ทั้งนี้เป็นเพราะยาทั้งสาม 
(newer DMARDs- adalimumab,etanercept และ infloximab)
เป็นยาที่มีราคาแพงมาก

 
มียาใหม่ ๆ ในกลุ่ม biologics ที่ถูกผลิตออกมา เพื่อใช้ในการรักษาโรครูมาตอยด์อีกหลายตัว  
จนยากแก่การจำ (ถ้าไม่ใช้บ่อย) จำไม่หวาดไหว...
เช่น   abatacept (Orencia), certikuzynab (Cunzia), golimumab (Simponi),
Rituzimab (Rituxan) และ Toxilizumab (Actenra)

และตัวสุดท้าย  ซึ่งได้รับการยอมรับจาก FDA ให้ใช้รักษาโรค “รูมาตอยด์”
ชิ้แ anakinra (Kineret) เป็นยาที่ใช้ไดผลพอประมาณ  และถูกสงวนเอาไว้ใช้ใน
กรณีที่ยาตัวอื่นไม่ได้ผล

ผลจากการใช้ยา biologics กันอย่างกว้างขวาง พบว่า ยากลุ่มดังกล่าวมีความปลอด
ภัยสูงมาก

แต่ผลเสียจากการใช้ยา infliximab ก็ปรากฏว่า  คนไข้เกิดมีวัณโรคได้บ่อย
นอกจากนั้น  เขายังพบอีกว่า  การใช้ยา infliximab ในคนไข้โรคหัวใจวาย (congestive
Heart failure)  จะทำให้คนไข้มีอัตราตายสูงขึ้น  จึงนำไปสู่คำแนะนะว่า...
อย่าใช้ยา infliximab ในคนไขที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว  และ...
ควรตรวจเอกซเรย์ปอด  เพื่อแยกโรค TB ให้ได้ก่อนที่จะได้รับการรักษา infliximab

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น