Correction insulin
หมายถึง “การแก้ไข” หรือ “การทำให้ระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดก่อนอาหารมีค่าสูง” ลดลงสู่ระดับที่ต้องการ
บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับอินซูลินเพื่อแก้ไขระดับน้ำตาลที่สูง
ในเวลาก่อนนอน
และการให้อินซูลินในลักษณะดังกล่าว เป็นการให้อินซูลินเพิ่มจากที่ได้รับตามปกติ
เพื่อ
“แก้ไข” ระดับน้ำตาลที่ขึ้นสูง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้น้ำตาลสูงขึ้น
ชนิดของอินซูลิน...ใช้เพื่อแก้ไขภาวะน้ำตาลขึ้นสูง
(Types of Correction Insulin)
เราจะพบว่า
อินซูลินที่นำมาใช้ในการแก้ไขระดับน้ำตาลขึ้นสูงในลักษณะดังกล่าว
สามารถใช้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น
(short-acting)
หรืออินซูลินออกฤทธิ์เร็ว
(rapid-acting)
ซึ่งประกอบด้วย
ซึ่งประกอบด้วย
- Regular
- Novolog® (Aspart)
- Humalog® (Lispro)
ปริมาณอินซูลินเพื่อแก้ไข
(correction insulin) สามารถคำนวณจากสูตร
น้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากระดับเป้าหมาย (mg/dL) ÷
ICF
Insulin correction factor (ICF)
คืออะไร ?
ICF หมายถึงปริมาณของน้ำตาลในระแสเลือด
ซึ่งถูกอินซูลินในปริมาณ 1 unit จัดการให้ลดลง
และเราจะใช้ ICF จัดการแก้ไขระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ที่สูง หรือต่ำ
ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดย 1 unit of Rapid-acting insulin สามารถลดระดับ
ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดย 1 unit of Rapid-acting insulin สามารถลดระดับ
น้ำตาลในเลือดลงได้ 40 mg/dL (insulin correction factor)
ตัวอย่าง:
สมมุติท่านเป็นโรคเบาหวาน
มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดก่อนอาหาร
(Before meal blood sugar)
= 200 mg/dL
ซึ่งจำเป็นต้องลดระดับน้ำตาลลงสู่เป้าหมาย
(target blood sugar)
โดยมีค่า
=120
Insulin Correction Factor
= 40
จากข้อมูลที่ได้รับ เราสามารถคำนวณหาปริมาณอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาล
โดยใช้สูตรตามที่เสนอ
ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจากระดับเป้าหมาย
÷ ICF
(200 – 120) ÷ 40 = 2
units
2 units of rapid
insulin คือจำนวนอินซูลินที่ต้องการใช้เพื่อลดระดับน้ำตาล
จาก
200 mg/dL ลดลงสูระดับ 120 mg/dL
โดยสรุป...
สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง จะต้องจำเอาไว้:
สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง จะต้องจำเอาไว้:
· ปฏิบัติตนตามปกติ
เมื่อพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง
อย่ารับประทานอาหารน้อยลง
เพราะการทำเช่นนั้น รังแต่จะก่อให้เกิดอันตรายจากการทำให้ระดับน้ำตาลตก-hypoglycemia
· อย่าใช้แก้ไขน้ำตาลที่สูงขึ้นด้วยการให้อินซูลิน (correction insulin) บ่อยนัก
ไม่ควรใช้เกินทุก 4 – 6 ชั่วโมง ยกเว้นเว้นเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
· ถ้าท่านจำเป็นต้องใช้วิธี correction insulin ทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน หรือบ่อยกว่านั้น
ซึ่งมันบ่งบอกให้ทราบว่า มีอะไรซักอย่างในการรักษาผิดปกติเกิดขึ้นซะแล้ว....
ซึ่งมันบ่งบอกให้ทราบว่า มีอะไรซักอย่างในการรักษาผิดปกติเกิดขึ้นซะแล้ว....
ต้องบอกให้แพทย์ผู้รักษาได้ทราบ
เพื่อการปรับเปลี่ยนยาที่ให้ตามปกติ (usual dose)
· การออกกำลังกาย มีแนวโน้มทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง
ซึ่งท่านอาจไม่จำเป็นต้องใช้ correction insulin เพื่อแก้ไขระดับน้ำตาล
ในช่วงเวลาก่อนอาหาร หรือหลังการออกกำลังกาย...
· ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดวัดในขณะก่อนอาหาร มีค่าต่ำกว่า 150 mg/dL....
ไม่ต้องให้ correction insulin และระดับน้ำตาลวัดได้ก่อนนอน มีค่าน้อยกว่า 200 mg/dL
ไม่ต้องใช้ Correction Insulin เช่นกัน
ไม่ต้องให้ correction insulin และระดับน้ำตาลวัดได้ก่อนนอน มีค่าน้อยกว่า 200 mg/dL
ไม่ต้องใช้ Correction Insulin เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น