วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

ยารักษาโรค “ไมเกรน” : สำหรับท่านที่เป็นโรค...ควรรู้เอาไว้

March 20,2013

ในการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องยา  ที่ใช้รักษาโรคปวดหัวไมเกรน
อาจทำให้เกิดความสับสนได้ไม่มากก็น้อย
ด้วยเหตุผลที่ว่า  มียาจำนวนไม่น้อยที่ถูกนำมาใช้รักษาภาวะดังกล่าว
โดยมีเป้าหมายแตกต่างกัน  และมีบางกรณี  ยาตัวเดียวกันใช้ได้ผลดีในคนหนึ่ง 
แต่เมื่อถูกใช้โดยคนไข้อีกคน  ปรากฏว่า  ไม่ได้เรื่องเลย...
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เพื่อให้ง่ายต่อการจำ  ยารักษาไมเกรน ถกจัดเป้น 3 กลุ่มด้วยกัน
ได้แก่ ยาเกี่ยวกับการป้องก้น (preventive medications), 
ยาที่ทำหน้าที่ไม่ให้ไมเกรน  ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีอาการมากนัก หรืไม่มีอาการเย
 (abortive medication)   และยาบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากโรปวดหัวไมเกรน  
 (rescue medication)

Preventive Medication: 
ยาที่ใช้สำหรับป้องกัน  จุดมุ่งหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรคปวดหัวไมเกรนลง 
โดยแพทย์จะแนะนำให้คนไข้รับประทานยาชนิดนี้  เมือเกิดมีอาการประมาณ  3 ครั้ง ต่อเดือน 
หรือเป็นบ่อยกว่านั้น  หรือเมื่อเกิดอาการดังกล่าวแล้ว  เป็นเหตุให้คนไข้ไม่สามารถ
ดำเนินชีวิตได้ตามปกติได้

มีบางคนที่เป็นโรคไมเกรน ไม่เต็มใจที่จะกินยาทุกวัน...
ซึ่งหมายความว่า  ถ้าเขาปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
เขาจะต้องกินยาดังกล่าวไปตลอดโดยไม่กำหนด

เรามีข้อมูลให้ท่านพิจารณา...

ไมเกรน เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ไม่ใช่แค่ปวดศีรษะเท่านั้น
มันเหมือนกับโรคประจำตัวชนิดอื่นๆ ที่คนเป็นโรคแล้วจะต้องกินยา
ทุกวัน  เช่น  เบาหวาน หรือโรคต่อมไทรอยด์  ดังนั้น  เมื่อเราเข้าใจว่า “ไมเกรน” เป็นโรคชนิดหนึ่ง 
จึงไม่เหตุผลใดที่จะต้องต่อต้านการรักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อปัองกันทุกวัน
เพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น

ยา.นกลุ่มป้องกัน น (preventive medication)กลุ่มนี้  มี 4 ตัวด้วยกัน ได้แก่

§  Inderal (propranolol) เป็นยาในกลุ่ม beta blocker 
   ซึ่งถูกใช้รักษาโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง
§  Blocadren (timolol) เป็นยาในกลุ่ม beta blocker….
§  Depakote และ Depakote ER (divalproex sodium) เป็นสา
   ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงในคลื่นกระแสประสาทในสมอง
   (neuronal stabilizing agent)  เช่น anticonvulsants ที่ใช้รักษา
   โรคชักกระตุกทั้งหลาย (seizure disorders)
§  Topamax (topiramate) เป็นยาอีกตัวที่ออกฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้มี
    การเปลี่ยนแปลงในคลื่นกระแสไฟฟ้า (ประสาท) ในสมอง

นอกเหนือจากนั้น FDA ยังรับรองหให้ใช้ onabotuliumtoxin (botox) 
สำหรับใช้รักษา (ป้องกัน) ปวดศีรษะไมเกรนชนิดเรื้อรัง

Abortive Medications
ตามเป็นจริง  ยากลุ่ม abortive medications จะทำหน้าที่ (ออกฤทธิ์)
ยุติปฏิกิริยาของไมเกรน  ที่เกิดอย่างต่อเนื่องตามธรรมชาติ
และยากลุ่มดังกล่าว  ยังช่วยบรรเทาอาการที่เกิดร่วมกับโรคไมเกรน
ด้วยยากลุ่มนี้ได้แก่:

§  Triptans:  ได้แก่ Imitrex, Maxalt, Zomig, Amerge, Axert,
§  Rexert และ Frova
§  Ergotamine เช่น Migranal nasal spray และ DHE-45 (ยาฉีด๗

มีบางราย...
ยา triptans ถูกนำไปใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไมเกรน (prevention)
นาย Amerge & Frova ได้ทำการศึกษา และพบว่า ยาตัวนี้สามารถป้อง
กันสตรีไม่ให้เกิดมีไมเกรน  ซึ่งเธอจะถูกกระตุ้นโดยรอบประจำเดือนทุก ๆ เดือน

และจากการรัปบระทานยากลุ่ม triptans เป็นเวลา 5 - 7 วัน  และต้องรับประทาน

ก่อนที่ประจำเืดือนจะมา 2 วัน  สามารถป้องกันไม่ให้เธอเกิดปวดหัวไมเกรนขึ้นได้

พอมาถึงปี 2008…
มียาตัวใหม่ ในกลุ่ม triptan ได้ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กัน นั่นคือ  Treximet 
ซึ่งเกิดจาการผสมระหว่าง naproxen  และ  sumatriptan
โดยมี จุดมุ่งหมายให้ NSAID (naproxen) ทำหน้าที่ลดการอักเสบ 
ส่วน sumatriptan จะออกฤทธิ์ที่เส้นเลือด และเส้นประสาท
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดโรคไมเกรน

Rescue Medications
Rescue medications หมายถึงยาแก้ปวด  ซึ่งจะพิจารณานำมาใช้เมื่อ
ยากลุ่ม abortive medication ไม่สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้
นอกจากยาแก้ปวดแล้ว  ยังมียาอย่างอื่นที่ถูกนำมาใช้
เพื่อลดอาการทีเกิดรjวมกับไมเกรน  เช่น ลดอาการคลื่นไส้ลง  
ซึ่งจะช่วยทำให้คนไข้ผ่อนคลายได้

ยาแก้ปวด หรือ rescue medication ไม่สามารถยุติการเกิดไมเกรนได้
เป็นแค่บดบังอาการเอาไว้สักสองสามชั่วโมง ขณะที่โรคไมเกรนกำลัง
ดำเนินตามวิถีของมัน

ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวด (rescue medication) ได้แก่:

§  Acetaminophen with codeine, osycodone, or hydrocodone
เช่น Vicodin, Percoect, Tylenol # 3

§  Oher analgesics (pain relievers) เช่น Ultram, ketorolac
(Toradol) และอื่น ๆ
คนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดแก้ปวด เช่น Demerol

§  Batalbital compounds: เช่น Florinal, Fiorecet (with orwithout codeine)

§  Antinausea medications เช่น Compazine, Phenergan และ
Reglan
§  Muscle relaxants เช่น Soma, Skelaxin, Zanaflex


โดยสรุป....
ในคนที่เป็นโรคไมเกรน...
มีบ้างบางคนที่ตกอยู่ภายใต้โรค “ไมเกรน” สามารถจัดการกับโรค
ดังกล่าวด้วยยาแก้ปวดธรรมดาเท่านั้น...

สำหรับคนที่เป็นโรคไมเกรน  ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย...
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดจะต้องประกอบด้วย การป้องกัน (preventives)
เพื่อลดความถี่ของการเกิด (frequency)  และลดความรุนแรงของโรคลง  
ตามด้วยการยุติการดำเนินของโรคไมเกรน (abortive)
และสุดท้าย  หากไม่สามารถทำให้คนไข้หายจากโรคไมเกรนลงได้  
ยาแก้ปวด (rescue medications) จะช่วยทำให้คนไข้ไม่ต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลได้

มีคนไข้บางรายที่เป็นไมเกรน...
แถมยังมีโรคทางระบบหัวใจและเส้นเลือด (cardiovascular dis.)
คนไข้อาจไม่สามารถ ใช้ยาเพื่อยุติกระบวนการดำเนินของโรคไมเกรนได้ (abortive) 
และในการรักษาคนไข้ประเภทดังกล่าว  จำเป็นต้องจำกัดอยู่ทีการใช้ยาป้องกัน
(preventive medications) และขาบรรเทาอาการวปวด (rescue medications) เท่านั้น


http://www.healthcentral.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น