วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

เมื่อต้องมีชีวิตร่วมกับโรคเบาหวาน... (Living with type 2 Diabetes)

April 16, 2013

เมื่อท่านถูกวินิจว่าเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ท่านจะต้องดูแลสุขภาพของท่านอย่างดีที่สุด
ซึ่งจะทำให้การรักษาโรคของท่านได้ง่าย และสามารถลดอันตราย
จากการเกิดภาวะแทรกซ้อในโรคเบาหวานได้

 

การดูแลตนเอง (Self care)

การดูแลตนเอง ถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนิืนชีวิตประจำวัน
ซึ่งเราหมายความถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตัวเองในทุกๆ ด้าน
และมีความรู้สึกเป็นสุขจากการมีสุขภาพที่ดี

ในการดูแลตัวเอง ประกอบด้วยการทำให้สุขภาพของตนเองมีสุขภาพดี
การคงสภาพทั้งกาย และใจให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์, ป้องกันไม่ให้เกิดโรค
หรืออุบัติเหตุ  ตลอดรวมถึงการดูแลรักษาความเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย
และโรคประจำตัวให้อยู่ภายใต้การควบคุม 

สำหรับคนที่ต้องมีชีวิตร่วมกับโรคประจำตัวในระยะยาว  โรคไม่ทางหายขาด
เช่น การเป็นโรคเบาหวาน  และโรคความดันโลหิตสูง  
การดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม  สามารถทำให้เขาสามารถ
ดำเนินชีวิตได้ยืนยาว มีคุณภาพชีวิตทีดีขึ้น พึงพาตนเองได้
และที่สำคัญสามารถทำให้ตนองมีความรู้สึกดี, ไม่ความเครียด,
และไม่มีความซึมเศร้า และอื่น ๆ 

ทำการตรวจสอบเป็นประจำ (Regular review)

เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน...
เนื่องจากมันเป็นโรคเรื้อรัง  จะอยู่กับท่านไปตลอดชีวิต 
ดังนั้น ท่านจะต้องทำการติดต่อกับผู้ให้การดูแลรักษาโรคของท่านเป็นประจำ
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้การรักษา  เป็นสิ่งที่ท่านพึงต้องกระทำ
เพราะจะทำให้ท่านสามารถปรึกษา สอบถามข้อสงสัย
ที่ท่านต้องการทราบเกี่ยวกับโรคของท่านได้

รับประทานอาหารสุขภาพ (Healthy eating)

มีบางท่านเข้าใจผิดคิดว่า ...
เมื่อเป็นโรคเบาหวานจะต้องรับประทานอาหารพิเศษผิดจากคนทั่วไป  ไม่แตก
ต่างกันเลย  ตามเป็นจริง  ท่านควรรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย
โดยประกอบด้วยสารใยอาหารสูง, ผลไม้, ผักชนิดต่าง ๆ, 
มีปริมาณของไขมัน, เกลือ และ น้ำตาลต่ำ

อาหารชนิดต่างๆ จะกระทบต่อคนเราในหลายทิศทางด้วยกัน
ดังนั้น ความสำคัญจึงอยู่ที่ว่า  เราจะต้องทราบว่า 
เราจะต้องรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณน้ำตาล “กลูโกส” ซึ่งได้สัดส่วนกับอินซูลิน
ที่ท่านได้รับ  โดยนักโภชนาการสามารถวางแผนด้านอาหารให้แก่ท่านได้

การออกกำลังกายเป็นประจำ (Regular exercise)

เป็นที่ยอมรับกันว่า....
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านได้  
ดังนั้น ในกรณีที่ท่านเป็นโรคเบาหวาน 
ท่านจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

เหมือนกับคนอื่นทั่วไป...
ท่านควรตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า  อย่างน้อย ๆ ท่านจะต้องออกกำลังกาย
ได้ 150  นาที ( 2 ชั่วโมงครึ่ง) ต่อหนึ่งอาทิตย์  ด้วยการออกกำลังกายชนิด แอโรบิค 
ด้วยแรงพอประมาณ  เช่น ปั่นจักรยาน, หรือ เดินเร็ว

อย่างไรก็ตาม  ถ้าท่านไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ท่านควรปรึกษา
แพทย์ผู้ให้การรักษาก่อน

เนื่องจากการออกกังกายสามารถกระทบต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ได้  ดังนั้น  ตัวท่านเองพร้อมแพทย์ผู้ให้การรักษา  อาจต้องทำการปรับขนาด
หรือปริมาณของ “อินซูลิน”  หรือ “อาหาร”  เพื่อทำให้ระดับของน้ำตาลในกระ
แสเลือดคงสภาพที่แน่นอนได้

ไม่สูบบุหรี่ (Do not smoke)

เพียงแค่เป็นโรคเบาหวาน...
ท่านก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจแล้ว 
(heart attack และ stroke)  ถ้าท่านยังสูบบุหรีอีกด้วย  
ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวให้มากขึ้นไปอีก
นอกจากนั้น  การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในปอดได้อีกต่างหาก

ลดการดื่มลง (Limit alcohlol)

สำหรับท่านที่เป็นเบาหวาน...
การดื่มพอประมาณคงไม่เป็นไร  และไม่ควรดื่มในขณะท้องว่าง
เพราะ แอลกอฮอล์สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ สูง หรือ
ต่ำได้  ทั้งนี้ขึนกับปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ท่านดื่ม  หากท่านดื่มมากจะทำให้
ร่างกายกายเกิดภาวะต้านอินซูลิน (insulin resistance) 

การดื่มแอลกอฮอล์ยังมีผลต่อการรักษาด้วยอินซูลิน
และมีผลกระทบต่อการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด  ดังนั้น หากท่าน
เป็นดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว....ให้ดื่มพอประมาณ  ระวังอย่างดื่มมากเกินไป
เพราะอันตรายมันเป็นของท่านเอง หาใช้ใครอื่นไม่

รักษาสูขภาพให้ดี (Keeping well)

คนเป็นโรคเรื้อรังทั้งหลาย  รวมทั้งโรคเบาหวาน  จะได้คำแนะนำให้ได้รับวัคซีน
สำหรับป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคหวัดใหญ่ (flu)}, โรคปอดอักเสบจากเชื้อ 
pneumococcal  ด้วยการฉีด pneumococcal vaccination สามารถทำให้เขารอดพ้น
จากการเป็นโรคPneumococcal pneumonia ได้

ให้หมั่นดูแลเท้าของตนองให้ดี (Look after your feet)
ใครก็ตามที่เป็นโรคเบาหวาน...
ท่านมีโอกาสเกิดปัญหาที่เท้าได้เสมอ  เป็นต้นว่า มีแผลที่เท้า
และมีเท้าอักเสบจากรอยขีดข่วนเพียงเล็กน้อยได้

ที่เป็นเช่นนั้น  เพราะการไหลเวียนของเลือดในบริเวณของคนเป็นโรคเบาหวาน
มักจะไม่ค่อยจะดี  ประกอบกับการมีน้ำตาลในเลือดสูง  ยิ่งสามารถทำให้เกิดอันตราย
ต่อเส้นประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการชา  ไร้ความรู้สึกแม้จะมีแผล 
หรือการอักเสบที่บริเวณเท้า...

เพื่อเป็นการป้องกันไมให้เกิดมีปัญหาขึ้นที่เท้า...
ท่านควรหมั่นดูแลเท้าทุกวันด้วยการทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำอุ่น  สรวมรองเท้าที่เหมาะสม
หากมีแผลเกิดขึ้น  แม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องพบแพทย์ทันที

ทั้งหมดที่กล่าวมา  เป็นเรื่องของท่านที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งคัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น