วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

มาทำความเข้าใจกับอาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” (Understanding Carbohydrates)

April 15,2013

 

วิธีที่ดีทีสุดสำหรับการควบคุมการรับประทานอาหาร คือการวัดปริมาณ

อาหารที่เป็นพวก “คาร์โบไฮเดรต” (CHO)

 

ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง...
ท่านจะต้องวัดปริมาณของ CHO ที่ได้รับประทานให้ได้สัดส่วนกับปริมาณ
ของอินซูลิน  ซึ่งสามารถจัดการกับอาหารประเภทดังกล่าวได้พอดี  จึงจะ
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้

เมื่อท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง...
ถ้าท่านรับประทานอาหารประเภท "คาร์โบไฮเดรต" ( CHO) ในปริมาณมากไป 
จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

และหากท่านรับประทานยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด  เพื่อกระตุ้นให้มีการ
หลั่งอินซูลินออกมาจากตับอ่อน  หรือได้รับอินซูลิน
ท่านจะต้องแน่ใจว่า   อาหารประเภท CHO ที่ท่านรับประทานนั้น 
จะต้องมีความสัมพันธ์กับยาลดน้ำตาลที่ท่านได้รับได้พอดี
จึงจะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดไม่สูงขึ้น

วิธีที่ดีที่สุดที่จะควบคุมระดับ “คาร์โบฮัยเดรต” ที่ท่านรับประทาน
คือการวัดปริมาณ “คาร์โบฮัยเดรต” เป็นน้ำหนักมีหน่วยวัดเป็นกรัม
หากวัดผิดเพียงไม่กี่กรัม  สามารถทำให้เกิดมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่
แตกต่างกันได้อย่างมาก

คุณสมบัติทางเคมีของ “คาร์โบฮัยเดรต”....
คาร์โบไฮเดรต เป็นน้ำตาล และประกอบด้วย น้ำตาลที่เรียกว่า “กลูโกส”
และส่วนที่โยงใยเป็นสายโซ่เสื่อมต่อกัน เรียกว่า “แป้ง”
เมื่อรับประทานเข้าไป มันจะถูกย่อยให้เป็นหน่วยเล็ก ๆ 
ถูกเรียก “กลูโกส” จากนั้นมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่รางกายต่อไป  เป็นตัวทีทำ
ให้น้ำตาลในกระแสโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

คาร์โบไฮเดรต จะพบใน:

·         พวกข้าว, ธัญพืช และพวก พาสต้า (pasta)
·         ขนมปัง (Breads), ขนมปังกรอบ (Crackers)
·         อาหารประเภทถั่ว (beans)
·         พวกผัก เช่น มันฝรั่ง (potato) ข้างโพด (corn)
·         ผลไม้ (fruit)
·         นม (milk)
·         โยเกริต (Yogurt)
·         น้ำตาล (sugars) และน้ำผิ้ง (honey)
·         อาหาร และเครื่องดื่มทั้งหลายที่มีน้ำตาล และของหวาน

 เส้นใยอาหาร (fiber)

ใยอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งสามารถได้ในผลไม้, ผัก
และพวกอาหารที่เป็นเมล็ดทังหลาย  สารอาหารพวกนี้ เมื่อรับประทานเข้าไป  
มันจะไม่ถูกย่อย และไม่ทำให้ให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น  
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น