วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

การรักษาโรคเบาหวานด้วย “อินซูลิน” (Designing An Insulin Regimen)

April 10,2013

รูปแบบการให้ อินซูลินแก่คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน....
จะเป็นการเลียนแบบการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน   ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติ
โดยทำหน้าที่  นำส่งน้ำตาลกลูโกสให้แก่เซลล์  เพื่อใช้เป็นพลังงาน

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
เรามีวิธีทดแทนอินซูลินให้แก่ร่างกายได้สองทางด้วยกัน
ทางแรกเรียก intensive Insulin therapy  เป็นการให้อินซูลินแก่ร่างกาย 
โดยอินซุลินที่ให้แก่คนไข้นั้น  จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกับอินซูลินที่ถูกสร้าง
ตามธรรมชาติ (โดยตับอ่อน) ทุกประาการ

ทางที่สอง  เป็นการให้อินซูลินตามแบบมาตรฐาน หรือจะเรียกว่า sliding
Insulin therapy   ซึ่งการให้ "อินซูลิน" สัมพันธ์กับความต้องการของร่างกาย
โดยไม่ต้ององเคร่งคัดเท่าใดนัก

การให้อินซูลินแบบใกล้เคียงธรรมชาติ
(Intensive Regimens)

เป็นวิธีการที่แพทย์เป็นคนสั่งให้อินซูลินแก่คนไข้โดยตรง 
ซึ่งมีกฎเกณฑ์ดังนี้

1.   เบซอล อินซูลิน (basal  or background insulin dose)
     เป็นการให้ "อินซูลิน"  ที่ออกฤทธิ์ยาว-นาน (Long acting insulin) 
     โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง   หรืออาจเป็นวิธีปั้มเข้าสู่ร่างกาย (insulin pump) อย่างต่อเนื่อง

      สำหรับ เบซอล อินซูลิน”  จะเป็นการให้ยาเป็นรายวัน โดยให้
      วันละครั้ง  ส่วนการให้แบบ insulin pump จะเป็นการให้อินซูลิน
      ด้วยการปั้มเข้าสู่ร่างกายเป็นช่วงทุกสองสามชั่วโมง  หรืออาจช้า หรือเร็วกว่า
      ตามความต้องการของร่างกาย

2.   โบลัส อินซูลิน( Bolus insulin Dose)
      เป็นอินซูลินทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาล หรือ คาร์โบฮัยเดรตในกระแสเลือด 
      โดยปริมาณของอินซูลินทีให้  จะมีค่าเท่ากับ อัตราส่วนระหว่าง อินซูลิน
       กับ คาร์โบฮัยเดรต (Iืืnsulin to carbohydrate ratio)”

       อัตราส่วนระหว่าง อินซูลิน และ คาร์โบฮัยเดรตจะเป็นค่าที่บอกให้
       เราทราบว่า  อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว 1 unit สามารถจัดการกับคาร์โบฮัยเดรต
       ได้กี่กรัม  ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านทำการรักษาด้วยการฉีดให้ตนเอง  จะต้องคำนวณว่า
       ตัวท่านจะรับประทานอาหารประเภท คาร์โบฮัยเดรตกี่กรัม  และจะใช้ อินซูลิน” 
       ในปริมาณที่เพียงพอต่อระดับ คาร์โบฮัยเดรต”   ที่ท่านรับประทานได้พอดี        

3.   โบลัส อินสูลิน (A bolus insulin dose to bring your blood sugar back to the     
       normal range)

      ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านมีระดับสูงขึ้น  ปริมาณอินซูลินที่ใช้
      เพื่อจัดการให้ระดับนำตาลที่สูงขึ้น  ให้ลดลงสู่ระดับที่กำหนดเอาไว้ (target range)

       Correction factor หมายถึงปริมาณน้ำตาลที่ลดลงเมื่อใช้อินซูลินออกฤทธิ์
       เร็ว 1 unit.  เมื่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูงกว่าระดับปกติมาก  
       เราจำเป็นต้องคำนวณดูว่า  น้ำตาลสูงกว่าระดับปกติมากเท่าใด
       และโดยอาศัย  ค่าจาก correction factor ทำให้เราสามารถคำนวณได้ว่า
       จะต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็วจำนวนเท่าใด  จึงจะสามารถทำให้ระดับน้ำ
       ตาลลดลงสู่เป้าหมายได้

 วิธีการใช้อินซูลินในคนเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
เพื่อทำให้ระดับอินซูลินในกระแสเลือดเหมือนธรรมชาติ  มีดังนี้:

§  อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (Long-acting insulin: glargine & detemir)
ถูกนำมาใช้รักษาคนเป็นเบาหวานประเภทสอง  ด้วยการฉีดวันละครั้ง หรือสองครั้ง  
โดยให้ร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว   ซึ่งท่านจะให้ก่อนอาหารตามต้องการ
เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาล (ในเลือด) ที่สูงขึ้น

§  อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting insulin : Aspart,glulisine, lospro)  
อาจให้โดยการปั้ม (insulin pump) เข้าสู่ร่างกาย ทุกสองสามชั่วโมงตามความต้องการ

§  อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง NPH  ด้วยขนาดน้อย (small doses) ให้ก่อนอาการ
สำหรับอาหารแต่ละมื้อ (เช้า, เที่ยง และเย็น)  และให้ NPH ขนาดสูงขึ้น (larger dose) ในตอนแย็น
โดยการให้ตอนเย็น  ร่วมกับให้  อินซูลินออกฤทธ์เร็วก่อนอาหาร
ตามที่ต้องการ และสำหรับอาหารว่าง (snacks)
เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่สูงขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น