Continued....
ยาที่แพทย์เรานำไใใช้รักษาคนไข้
นอกจากประโยชน์ที่เราต้องการจะได้รับจากยาแล้ว
เราต้องคำตึงถึงโทษของมันด้วย และประเด็นที่เราจะพูดถึง คือ
ถ้าหากใช้ในปริมาณมากไป...แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับได้รับโทษแทน
ในการรักษาเบาหวาน หากใช้ไม่ถูกต้อง
เช่นให้น้อยไป ย่อมไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้
แต่หากให้มากไป ย่อมทำให้เกิดผลเสีย ระดับน้ำตาลลดต่ำจนเป็นอันตรายได้
ยาที่แพทย์เรานำไใใช้รักษาคนไข้
นอกจากประโยชน์ที่เราต้องการจะได้รับจากยาแล้ว
เราต้องคำตึงถึงโทษของมันด้วย และประเด็นที่เราจะพูดถึง คือ
ถ้าหากใช้ในปริมาณมากไป...แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับได้รับโทษแทน
ในการรักษาเบาหวาน หากใช้ไม่ถูกต้อง
เช่นให้น้อยไป ย่อมไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมายได้
แต่หากให้มากไป ย่อมทำให้เกิดผลเสีย ระดับน้ำตาลลดต่ำจนเป็นอันตรายได้
Correction doses of
insulin
ในการรักษาด้วย
insulin มีคำพูดประโยคหนึ่ง ที่เราได้ยินจากแพทย์
ผู้ทำการรักษาคนไข้
นั่นคือ “correction doses of
insulin”
ซึ่งเขาหมายถึง
“การให้ rapid-acting insulin เพิ่มแก่คนไข้ก่อนที่
เขาจะรับประทานอาหาร เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น”
Correction dose ที่พบบ่อยที่สุด คือการเพิ่ม insulin 2 units ให้แก่คนไข้ที่มี
ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดก่อนรับประทานอาหาร
ซึ่งมีค่าสูงกว่า
150 mg/dL หรือ
บางทีมีค่าสูงกว่า 200 mg/dL
Correction dose สามารถกระทบต่อระดับของระดับน้ำตาลได้อย่างมาก
ยกตัวอย่าง ถ้าท่านใช้ aspart insulin 6 units สำหรับคุมอาหารเที่ยงวัน
แต่ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเที่ยงพบว่า มีค่า 250 mg/dL
การให้
aspart insulin 6 units จะไม่เพียงพอต่อการลดระดับน้ำตาลทั้งก่อน
และหลังรับประทานอาหารเที่ยง
และถ้าท่านเพิ่ม
aspart อีก
4 units รวมเป็น 10
units….
Ø
4 units ของ
aspart insulin ถือเป็น
correction dose
ซึ่งจะทำหน้าที่คุมระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร
Ø
ส่วน 6 units จะทำหน้าคุมระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร
วิธีการแก้ไข้ดังกล่าว
(correction dose) เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพ
ที่มีระดับน้ำตาลสูง ซึ่งสามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลง ดีกว่าที่จะปล่อย
ให้ระดับน้ำตาลสูงตลอดทั้งวัน
อินซูลิน และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีการเริ่มรักษาด้วยอินซูลิน
(insulin therapy)…
มีคนไข้เป็นเบาหวานจำนวนหนึ่ง ชอบบ่นว่า
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทั้งๆ
ที่เขารับประทานอาหาร
และออกกำลังกายเหมือนเดิมทุกประการ
สาเหตุที่ทำให้น้ำนำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นเพราะ ร่างกายสามารถใช้น้ำตาล
ซึ่งก่อนหน้านั้นมันจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และน้ำตาลที่ร่างกายไม่ได้ใช้ทันที
ซึ่งก่อนหน้านั้นมันจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และน้ำตาลที่ร่างกายไม่ได้ใช้ทันที
จะถูกสะสมไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน
ผลจากการศึกษา
พบว่า สตรีที่เป็นเบาหวาน เมื่อมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจึง
เป็นเหตุให้พวกนางยุติการใช้
insulin จนทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
การมีน้ำหนักเพิ่ม
เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
แต่การรับประทานอาหารน้อยลง และออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสามารถช่วยได้
การรักษาด้วยยาเม็ดรับประทาน
มีคำถามว่า เมื่อใช้ยา insulin
รักษาโรคเบาหวานแล้ว จำเป็นต้อง
รับประทานยาเม็ดลดน้ำตาลหรือไม่
?
ผลจากการศึกษาเป็นจำนวนไม่น้อย แสดงให้เห็นว่า
คนที่เป็นโรคเบาหวานได้รับทั้งยาฉีด
(insulin)
และยาเม็ดลดน้ำตาลร่วมกัน
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่า
การใช้ long acting insulin เพียงชนิด
เดียว
การให้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล
metformin เมื่อมีการเริ่มต้น
insulin…
สามารถลดน้ำหนักตัวได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ของการรักษาด้วย insulin
การให้
sulfonylurea เช่น glyburide และ glipizide สามารถลดระดับน้ำตาลใน
กระแสเลือดที่มีระดับสูงหลังรับประทานอาหาร และเป็นวิธีที่ได้ผลดี เมื่อมีการ
ใช่ร่วมกับการฉีด
long-acting insulin (วันละครั้ง)
Metformin ยังคงให้ใช้ต่อไปได้ทั้งๆ
ที่มีการเริ่มให้ short-acting insulin
เพื่อคุมระดับน้ำตาลหลังอาหาร ส่วนพวกยาเม็ด glyburide และ glipizide ควร
ยุติลงเมื่อเริ่มให้
short acting insulin แก่คนไข้
สำหรับ
Thiazolidinedione เช่น piogliztzone (Actos)…
เมื่อมีการใช้แล้วร่วมกับ
insulin
มักจะทำให้คนไข้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
มีน้ำกักเก็บ
(fluid retention) ในร่างกาย
ดังนั้น เราจึงเห็นแพทย์สั่งเลิกให้ยากลุ่มนี้แก่คนไข้
เมื่อมีการเริ่มให้ insulin
มียาอีกตัว ซึ่งมีการใช้บ่อยที่สุด โดยมีการใช้ก่อนที่จะเริ่มให้ insulin
คือยา
exenatide (Byetta) เป็นยาฉีด
ซึ่งทำให้น้ำหนักลดได้ดี
และมีแพทย์จำนวนไม่น้อยนิยมให้ใช้
exenatide ต่อไป
ทั้งๆ ที่มีการเริ่มใช้ insulin
อย่างไรก็ตาม เราต้องทราบด้วยว่า FDA ไม่ได้อนุมัติ
อย่างไรก็ตาม เราต้องทราบด้วยว่า FDA ไม่ได้อนุมัติ
ให้ใช้ exenatide และ insulin ร่วมกัน
โดยสรุป...
ในการรักษาโรคเบาหวาน
มีเป้าหมายโดยรวมที่รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียง
กับปกติ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่พบว่า
การรักษาด้วย “อินซูลิน” เป็นวิธีที่ดีที่สุด
สามารถทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลให้บรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
ในการรักษาด้วยอินซูลินนั้น...
เรายังไม่มีวิธีที่ดีทีสุดสำหรับคนไข้เบาหวานทุกคน
แต่การรักษาโรคเบาหวานด้วยอินซูลิน ควรเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
และมีการพิจารณาปัจจัยรอบด้านด้วย
ในการรักษาด้วยอินซูลิน เมื่อเวลาผ่านไปมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงขนาดของยาไป
ในการรักษาด้วยอินซูลิน เมื่อเวลาผ่านไปมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงขนาดของยาไป
อย่างไรก็ตาม
เราสามารถเริ่มการรักษาด้วย “อินซูลิน” และพร้อมที่จะ
เปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนต่อไป เพื่อควบคุมเบาหวานให้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น