วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตสู' ยารักษา: 5

March 8, 2013
Continued…

The right drug for the right person

ถ้า...
ท่านไม่สามารถควบคุมระดับความดันให้ลดลงสู่เป้าหมาย
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เช่น  จำกัดความเค็ม (salt), ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
และเลิกการสูบบุหรี่...ก็ถึงเวลาที่ท่านจำเป็นต้องได้การรักษาด้วยยาลดความดันซะที

ถึงแม้ว่า JNC จะให้คำแนะนำว่า คนไข้ควรเริ่มต้นด้วยการให้ยา diuretics 
แต่ก็ปรากฏว่า มีการศึกษาจำนวนไม่น้อยบ่งบอกให้ทราบว่า  
เราสามารถใช้ยาตัวอื่นได้ดีกว่า  โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างอื่นร่วม
เป็นต้นว่า  มีโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
ซึ่งคนที่เป็นโรคทั้งสองส่วนใหญ่มักจะมีความดันโลหิตสูงเกิดร่วมด้วยเสมอ
โดยมียาใหม่ ๆ ที่ถูกแนะนำให้ใช้ในภาวะดังกล่าว
เช่น ACEs inhibitors หรือ ARBs เป็นยาที่ควรใช้ในรายที่เป็นเบาหวานได้เลย

มีการศึกษาจำนวนมากมาย  ที่พยายามจะแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มยาชนิดต่างๆ ว่า
ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงตัวใดดีที่สุดสำหรับสถานการณ์แต่ละชนิด  
ยกตัวอย่าง  ผลการวิจัยของ The Antihypertensive and Lipid Lowering Treatment to prevent
Heart Attack TRIAL (ALLHAT) ได้ทำการตรวบสอบการลดความดันโลหิตสูง  
และโรคที่เกิดในระบบหัวใจและเส้นเลือด จำนวน 42,000
ทั้งชาย และหญิง  มีอายุตั้งแต่ 55 ขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคความดันขนาดเบา ถึงพอ
ประมาณ  (mild to moderate hypertension)  เป็นเวลา 5 ปี...

คนไข้ทุกคนรับประทานยาหนึ่งในสามตัวต่อไปนี้...chlorthalidone (diuretic),
Amlodipine (a calcium channel blocker) และ lisinopril (an ACE inhibitor)

ได้ผลจากการศึกษา  ซึ่งได้รายงานThe Journal of American Medical Association  ในปี 2002 
พบเรื่องที่น่าสนใจ  นั้นคือ  การให้ยา diuretic รักษาคนไข้ที่เป็นโรคความดันสูง
ปรากฏว่าได้ผลดีกว่าการใช้ยาใหม่ๆ เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง
และป้องกันไม่ให้ภาวะแทรกซ้อน เช่น stroke และ heart failure

ผลที่ปรากฏ  ประกอบกับราคาของยาขับปัสสาวะถูกมาก  จึงทำให้ JNC ได้ประกาศสนับสนุน
ให้มีการใช้ยาขับปัสสาสะ (diuretic) เป็นยาตัวแรกสำหรับรักษาคนไข้ที่เป็นโรความดันหิตสูง

และในปี  2005 ได้มีการศึกษาโดยกลุ่มย่อยของ ALLHAT ซึ่งพบข้อมูลที่สำคัญ
ว่า  Diuretics เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีสำหรับคนไข้ ที่เป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

ถึงกระนั้นก็ตาม  ความเห็นของคนส่วนใหญ่  กล่าวว่า  diuretics ไม่ใช้ยาที่ดีที่สุด
ไม่ควรเป็นยาตัวแรก  เพื่อใช้รักษาความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง 
ซึ่งรวมถึงการเป็นโรคเบาหวาน, เป็นโรคไต  และเป็นโรคหัวใจล้มเหลว

จากการวิจัยของ The Anglo-Scandinavuian Cardiac Trial (ASCOT)
ซึ่งได้ทำการศึกษาในคนที่เป็นโรคความดัน มีอายุระหว่าง 40 – 79 
จำนวน 1,9000 ราย  โดยกำหนดให้ใช้ยาระหว่าง amlodipine plus  ACE inhibitor  
กับ beta blocker ( เช่น atenolol) plus thiazide diuretic…ปรากฏว่า
 กลุ่มแรก (amlodipine + ACE inhibitor) จะมีผลดีในด้านการ
ป้องกันไม่ให้เกิดโรค heart attack และ stroke

สิ่งพบเห็นจากรายงาน...
คนไข้ที่ได้รับยา calcium channel blocker – ACE inhibitors combination
สามารถลดความดันโลหิตลงได้ 2.7 mm Hg มากกว่าที่ได้จากการใช้
Beta blocker- diuretic combination

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า  ทำไมยาสองตัวแรกจึงดีกว่ายาสองตัวหลัง
ประการที่สอง  ยากลุ่มแรก (calcium channel blocker- ACE inhibitor) ยัง
สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานได้อีกด้วย  
และยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย

ในปี 2004 ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยา ระหว่าง Valsartan(ARB) 
และ Amlodipine (calcium channel blocker) โดย The Valsartan  Anti-hypertensive
Long-term Use Evaluation (VALUE) เพื่อทดสอบดูว่า  
ยากลุ่มใดจะสามารถลดความเสี่ยง (risk factor) ต่อการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือด  
โดยทำการศึกษาในคนเป็นโรคความดัน อายุ  >50  จำนวน15,000 คน

ผลปรากฏว่า  ยา Amlodipine (calcium channel blocker) สามารถลดความดันได้ดีกว่า 
การใช้ยา ARB  โดยเฉพาะในของการรักษา 2-3 เดือนแรก
ซึ่ง amlodipine สามารถลดความดัน systolic blood pressure ได้ 4 mm Hg
มากกว่ายา valsartan แต่พอหกเดือนให้หลัง  จะปรากฏว่า 
มันทำให้ความดัน systolic ลดลงกลับน้อยลง  แต่ก็ยังลดลงถึง 2 mm Hg

Amlodipine  ยังลดความเสี่ยงต่อการเกิด heart attack ได้ดี
ส่วนคนที่รับยา valsartan มีแนวโน้มที่จะเกิดเบาหวานได้น้อยลง
และที่น่าแปลกก็คือ...ยาทั้งสองกลุ่ม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตจาก
โรค Heart attack ได้

จากผลของการศึกษาทั้งของ ASCOT และ VALUE ต่างเน้นให้เห็นความสำคัญ
ในการลดระดับความดันโลหิตสูงว่า  
สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจHeart attack และโรคทางสมอง stroke

ผลจากการศึกษาของทั้งสองกลุ่ม  ทำให้เกิดความสงสัยว่า
ทำไม JNC (Joint National Committee) จึงแนะนำให้ใช้ยาขับปัสสาวะ
เป็นยาตัวแรกสำหรับรักษาความดันโลหิตสูง 
ซึ่งในปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า  เราควรใช้ยาที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับตัวของเรา
โดยเฉพาะยานั้นๆ สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
และสามารถช่วยปกป้องไม่ให้เกิดภาวะทางโรคหัวใจได้

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด  บอกให้เราได้ทราบว่า...
ยังไม่มีวิธีการใด  ที่สามารถบอกได้อย่างชัดแจ้งว่า 
จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางระบบหัวใจ-เส้นเลือดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

รูปแบบการใช้ยารักษาความดันโลหิต  ที่เราคิดว่าดีที่สุด  
จะมีลักษณะคล้ายกับการเล่น “ภาพต่อ”  หรือ jigsaw puzzle
ซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก  เพื่อให้ได้ยาที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้แต่ละราย
ซึ่งบางคนพอใช้ปุบก็ปรากฏว่า ได้ผลดี  ส่วนอีกคนต้องผ่านการทดลอง  
โดยมีการเปลี่ยนยาหลายครั้ง....

จากประสบการณ์มีว่า  ยาที่ใช้ได้ผลดีสำหรับคนหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับตัวท่าน
ทั้งๆ ที่ท่านเป็นโรคเดียวกัน  ดังนั้นก่อนที่ท่านจะพบยาที่ดีสำหรับ
ควบคุมระดับความดันโลหิตของท่าน  อาจต้องใช้เวลาสักระยะจึงจะพบยาตัวนั้น

การปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับชนิดของยา...
ว่าท่านควรใช้ยาชนิดใดจึงจะดีที่สุดสำหรับท่าน
วิธีการที่ดีที่สุด  คือการปรับการใช้ยาให้เหมาะกับความต้องการของท่านเอง  
รวมถึงโรคประจำตัว  และความพอใจของท่านว่า  ต้องการใช้ยาชนิดใด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น