March 22,2013
ยิ่งโลกของเรามีการพัฒนามากขึ้นเท่าใด
เราจะพบว่า ประชากรของคนสูงอายุยี่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น
เป็นการเพิ่มประชากรของคนสูงอายุทั่วทุกมุมโลก
โดยเราจะพบว่า ในโลกที่พัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นถึง 15 % และ 5 – 8 %
ซึ่งคนเหล่านั้นจะมีอายุโดยเฉลี่ยมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
ลองมาพิจารณาการเผาผลาญ “คาร์โบฮัยเดรต” ของคนสูงอายุ
จากผลจากการศึกษาในคนสูงอายุ พบว่าคนสูงอายุส่วนใหญ่
จะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังรับประทานอาหารกันค่อนข้างสูง
ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่สูงขึ้น
สำหรับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนสูงอายุ ระหว่างท้องว่างพบว่า
มีค่าสูงขึ้น 1 – 2 mg/dL ต่ออายุที่แก่ขึ้นหนึ่งทศวรรษ
สวนระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร จะเพิ่มขึ้นถึง 15 mg/dL ต่อหนึ่งทศวรรษ
ของอายุที่แก่ขึ้น
อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น ?
ผลจากการศึกษา จะเห็นว่ากลไกต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสาร “อินซูลิน” ออกมาน้อย
ตลอดรวมถึงการทำงานของอินซูลิน ยังเป็นที่ถกเถียงกัน...
หาข้อสรุปไม่ได้
การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง (hyperglycemia) ?
อาจเป็นผลเนื่องมาจากตับปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือด
โดยเป็นผลมาจากการสร้างอินซูลินบกพร่องไป
เป็นเหตุให้มีการสร้างน้ำตาลโดยตับ (gluconeogenesis)
นอกจากนั้น ยังอาจเป็นผลมาจากลดการใช้น้ำตาลของอวัยวะสวนอื่น ๆ
ปัญหาของคนสูงอายุ รูปร่างผอม ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน...
เราจะพบว่า การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงส่วนใหญ่เป็นผล
เนื่องมาจาก การขาดอินซูลิน (insulin deficiency)
ส่วนคนอ้วน...ซึ่งมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง
เป็นผลเนื่องมาจากการขาดอินซูลิน และร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน
(insulin resistance)
นอกจากนั้น เรายังพบว่ามีปัจจัยภายนอกร่างกายอีกหลายอย่าง เข้ามามีบทบาทต่อ
การทำให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเปลี่ยนแปลงไป เช่น อาหาร (diet), ยา (medication),
การออกแรง (activity), โรคเรื้อรัง และความเครียด
ซึ่งต่างสามารถลดปริมาณของมวลกล้ามเนื้อ และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
เป็นเหตุทำให้มี glucose intolerance ได้
การวินิจฉัยโรคเบาหวานในคนสูงอายุ
การวินิจฉัยโรคเบาหวานในคนสูงอายุ จะไม่แตกต่างจากคนหนุ่ม
ADA ให้ให้มาตรฐานในการวินิจฉัยโรคเบาหวานไว้ดังนี้:
Ø ตรวจน้ำตาลหลังอดอาหาร (FBS) สองครั้งมีค่าสูงกว่า 126 mg/dL
Ø ซุ่มตรวจน้ำตาลมีเลือดมีค่า มีค่า ≥ 200 mg/dL พร้อมกับมีอาการของ
โรค หรือ
Ø ความทนทานน้ำตาลกลูโกส (oral glucose tolerance test) มีค่า ≥ 200 mg/dL
นอกจากนั้น ADA ยังแนะให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ไดรับการตรวจคัดกรองดูว่า
เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดยแนะว่าทำการตรวจทุกปี
มีผลจากการวินิจฉัยเมื่อไม่นานมานี้ กล่าวว่า
ในคนสูงอายุที่ตรวจพบว่า การตรวจพบ ความทนทานต่อน้ำตาลกลูโกส
มีค่ามีค่า ≥ 200
mg/dL จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกโรค (โรคประจำตัว)
แม้ว่าระดับน้ำตาลตอนอดอาหารจะปกติก็ตาม
ในการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากระดับปกติขณะอดอาหาร
สามารถตรวจพบโรคในคนหนุ่มได้ ( แต่อาจผิดพลาดในคนสูงอายุได้ 31 %)
สำหรับในรายที่ไม่แน่ใจว่า คนสูงอายุเป็นโรคเหบาหวานหรือไม่
ควรทำการตรวจด้วย “ความทนทานต่อน้ำตาลกลูโกส” (2-hour oral glucose tolerance test)
อาการ และอาการแสดง
คนสูงอายุเป็นโรคเบาหวาน อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการที่สับสนได้
หรือ เขามาตรวจร่างกายประจำปี แล้วพบโรคเบาหวานโดยบังเอิญ
ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นเป็นประจำ ดังนั้น ก่ารตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวาน
จึงเป็นเรืองที่ควรกระทำทุกปี
มีคนสูงอายุอีกกลุ่มหนึ่ง มาด้วยปัญหาของระบบอย่างอื่น เป็นต้นว่า
มีปัญหาด้านปัสสาวะ (incontinence), ปัญหาเกี่ยวกับตา (retinopathy),
มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์ (Erectile dysfunction) และมีบาดแผลที่เท้า (foot problem)
ซึ่ง ยากต่อการรักษา
นอกจากนั้น คนสูงอายุทีเีป็นโรคเบาหวาน โดยไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคดังกล่าว
อาจมาพบแพทยด้วยอาการต่างต่อไปนี้ได้ เช่น
§ Diabetic neuropathy cachexia
คนสูงอายุ (ชาย) จะมีอาการปวดเส้นประสาทส่วนปลาย, คลื่นไส้, ซึมเศร้า และน้ำหนักลด
กลุ่มอาการดังกล่าว อาจหายไปได้เองภายในไม่กี่เดือน โดยไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ
§ Diabetic neuropathy
ภาวะของเส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน สามารถเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกับเส้นใด
เส้นหนึ่ง (focal and asymmetric) ที่พบได้บ่อยสุด
คือ เส้นประสาทเส้นที่สาม (oculomotor nerve) ทำให้เกิดอาการปวดตา และเห็นภาพซ้อน
ภาวะเช่นนี้ สามารถหายเป็นปกติ (reversible) กายในไม่กี่อาทิตย์
§ Amyotrophy
กล้ามเนื้อของแขน และขาส่วนใกล้ลำตัว (proximal muscle) เกิดลีบ และอ่อนแรง
ร่วมกับเส้นประสาทหลายเส้นเกิดการอักเสบ (polyneuropathies)
ซึ่งอาจรักษาให้ดีได้ด้วย immune therapy
ในคนไข้สูงอายุทุกราย ที่ไม่สามารถลุึกจากเก้าอี้ได้
ให้สงสัยเอาไว้ก่อนว่า อาจเป็น amyopathy :ซึ่งมีต้นเหตมาจากโรคเบาหวาน
§ Malignant otitis externa
เป็นโรค หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในคนสูงอายุทีเป็นเบาหวาน
ควรพิจารณาวินิจฉัยด้วยแพทย์เฉพาะทาง
ภาวะเช่นนี้ จะทำให้คนไข้จะมีอการปวดหูอย่างมาก
§ Pappilary necrosis.
ภาวะไตสูญเสียการทำงานอย่างฉับพลัน สามารถเกิดขึ้นกับคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
เป็นการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะต้องให้การรักษาอย่างเต็มที่ (aggressively)
เพราะมันสามารถทำให้การทำงานของไตเลวลงได้
§ Osteoporosis.
คนสูงอายุที่เป็นเบาหวานทุกราย ควรได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุนทุกราย
พวกเขามีโอกาสหกล้มได้ง่าย มีโอกาสเกิดกระดูกแตกหักได้ง่าย
NEXT >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น