วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานในคนสูงอายุ 5

March 22, 2013
Continued

α - Glucosidase inhibitors
Acarbose เป็นเอ็นไซม์ alpha glucosidase inhibitor
มีผลด้วยการออกฤทธิ์ต่อระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 
และมีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในขณะท้องว่างน้อย

ยา Acarbose จัดเป็นยาที่ปลอดภัยเหมาะสำหรับใช้ในคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน 
แต่มันผลอันพึงประสงค์ทางกระเพาะและลำไส้

และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว  ควรเริ่มด้วยการใช้ยาในขนาดน้อย ๆ
สามารถลดอาการอันไม่พึงประสงค์ได้
  
Repaglinide
Repaglinide เป็นยารักษาโรคเบาหวาน ( insulinotropic antidiabetic)
ซึ่งออกฤทธิ์สั้น  โดยทำหน้าที่เสริมการสร้าง “อินซูลิน” จากตับอ่อน
เพื่อตอบสนองต่ออาหารที่คนไข้รับประทานเข้าไป
มันทำหน้าที่ควยคุมระดับน้ำตาลหลังอาหาร เป็นยาที่ปลอดภัย  และมีประสิทธิภาพ
สำหรับคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน...

Thiazolidinediones (TZD)
ในปัจจุบันเรามียาในกลุ่ม TZD จำนวน 3 ตัวด้วยกัน
ซึ่งได้แก่ troglitazone, rosiglitazone และ pioglitazone
โดยยาตัวแรก (troglitazone) ถูกกำจัดออกไปเพราะทำให้เกิดพิษต่อตับ
ถึงขั้นเสียชีวิต (hepatotoxicity) ส่วนที่เหลืออีกสองตัวยังไม่มีผลต่อการ
ทำให้เกิดพิษต่อตับ  แต่ต้องระวังเมื่อใช้กับคนที่เป็นโรคตับ

ยากลุ่มนี้ถูกใช้เพียงขนานเดียว หรือใช้ร่วมกับยากลุ่ม sulfonylureas, metformin, หรือ insulin
เพื่อใช้รักษาโรคเบาหวานประเภท 2  ด้วยการออกฤทธิ์ทำให้ร่างกาย
มีความไวต่อ”อินซูลิน”  รวมไปถึงการลดการสร้างน้ำตาล (gluconeogenesis) จากตับ

เนื่องจากยากลุ่ม TZD ไม่ได้กระตุ้น “เบต้าเซลล์” จากตับอ่อนให้ผลิตอินซูลิน
ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้จึงไม่ก่อให้เกิดภาวะ hypoglycemia
จึงเหมาะที่จะใช้ในคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน

การใช้ยากลุ่ม TZD ในกลุ่มคนสูงอายุ จะเหมือนกับคนหนุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน
แต่ก่อนใช้ในคนสูงอายุ  จำเป็นต้องประเมินการทำงานของหัวใจทุกราย
เพราะยากลุ่มดังกล่าว  สามารถก่อให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลวในคนที่เป็นโรคหัวใจได้  
และควรตรวจเอ็นไซม์ของตับ (liver enzymes) ทุกเดือน 
โดยเฉพาะ 6 เดือนแรก ต่อจากนั้นให้ตรวจทุก 2 เดือน ภายใน 6 เดือนต่อมา
และทำการตรวจทุก 3 – 6 เดือนหลังจากนั้น

Insulin
เราจะใช้ “อินซูลิน” ก็ต่อเมื่อเราไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู้เป้าหมาย
โดยการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย  และยาเม็ดลดน้ำตาล
แล้วปรากฏว่า  ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้


เราไม่มีกฎเกณฑ์ หรือชนิดของ “อินซูลิน” ที่เหมาะกับคนสูงอายุที่เป็น
โรคเบาหวาน  เป็นการยากที่จะควบคุมระดับนำตาล
ให้เป็นปกติด้วยการใช้ intermediate acting insulin เพียงวันละครั้ง

ในการเริ่มต้นด้วยการให้ insulin…
จัดเป็นเรื่องของการรักษาที่ก่อให้เกิดความเครียดได้อย่างมาก
เพราะการฉีดยาในคนสูงอายุ  เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก
และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้สูง 

ทั้งนี้  เพราะในคนสูงอายุ  มีอุปสรรคหลายอย่าง  ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถ
รับการรักษาด้วย การฉีดอินซูลินได้  เป็นต้นว่า
สายตาไม่ดี,  ฉีดยาได้ไม่ถูกต้อง,  ความรู้สึกของมือเสียไป, หาตำแหน่งฉีดยาได้ลำบาก,
และไม่สามารถตรวจวัดดูระดับน้ำตาลได้ และอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด...
ไม่ใช้ข้อห้ามไม่ให้ใช้ “อินซูลิน”เพื่อการรักษาแต่อย่างใด
ปัญหาแต่ละอย่าง  ล้วนมีคำตอบเสมอ

Insulin Analogues
อินซูลินที่ถูกผลิตขึ้นให้เหมือนกับอินซูลินที่มีตามธรรมชาติ
เช่น lispro จะออกฤทธิ์ได้เร็ว และสั้น
เป็นยาที่ดี และเหมาะสำหรับลดระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร และสะดวกต่อการใช้
โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)

ยากลุ่มนี้ (rapid acting insulin)
เป็นยาที่เหมาะสำหรับใช้ในคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งสามารถให้ก่อนอาหาร โดยไม่ต้องรอให้เสียเวลาเป็นครึ่งชั่วโมงเหมือนกับการใช้
regular insulin

เมื่อมีการใช้ rapid-acting insulin ร่วมกับ long-acting insulin
เช่น insulin glargine หรือ ultralente insulin
อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ได้ตลอดทั้งวัน และที่สำคัญยา long-acting insulin glargine
สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างสม่ำเสมอ (peakless) เหมาะที่จะนำมาใช้
เริ่มต้นรักษาในคนสูงอายุ, เพิ่มขนาดของยา และคงสภาพของยาให้
อยู่ในระดับคงที่  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำได้...


โดยสรุป...
เมื่อคนไข้เบาหวานมีอายุมากขึ้น (แก่ขึ้น)
คุณภาพชีวิตจะมีความสำคัญมากกว่าความยืนยาวของชีวิต  และ
การควบคุมโรคเบาหวานในคนสูงอายุ ผู้ซึ่งไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ
ควรมุ่งทำให้คนไข้เกิดความชำนาญในการดูแลตนเองให้ได้
นั่นคือสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ผู้การรักษาคนไข้โรคเบาหวาน
จะต้องถือเป็นหลักปฏิบัติ


http://clinical.diabetesjournals.org/content/19/4/172.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น