วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

เมื่อเธอเป็นโรค...ปวดหัว “ไมเกรน” 2

continued...

การรักษา...”ไมเกรน

ปรากฏว่า  มียาหลากหลายถูกนำมาใช้รักษาไมเกรน...
นอกจากมียาบางตัวที่ใช้รักษาไมเกรนแล้ว  ยังมียาอย่างอีกหลายตัวที่ใช้รักษาโรคอื่นแล้ว 
ถูกนำมาใช้ลดอาการปวดหัวไมเกรน  หรือป้องกันไม่ให้เกิดไมเกรนได้

ยาที่ใช้ในการจัดการกับ migraine แบ่งเป็นสองกลุ่มดังต่อไปนี้:

ยาบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน
(Pain-relieve medications):

ยาในกลุ่มนี้  บางที่แพทย์เขาเรียกว่า abortive treatment เป็นยาที่
ทำให้โรคไมเกรนที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลใด (abortive)  เป็นยาที่ให้
แก่คนไข้ที่มีอาการปวดไมเกรนได้เกิดขึ้นแล้ว  
โดยยาจะออกฤทธิ์  ทำให้อาการปวดศีรษะที่มีอยู่หายไป

ยาป้องกัน
(preventive medications):

เป็นยาที่คนไข้จะต้องใช้ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ  
เพื่อลดความรุนแรง (severity) และความถี่(frequency) ของปวดหัวไมเกรนลง  และ...
ในการเลือกวิธีการรักษาโรคปวดหัว "ไมเกรน" จะเป็นแบบใด ย่อมขึ้นกับความถี
ความรุนแรงของโรคปวดไมเกรน, ระดับของความไร้สมรรถภาพที่เกิดจากโรค 
และโรคอื่น ๆ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว  

ยาที่ใช้ในการป้องกันโรค "ปวดหัวไมเกรน"  
มียาบางตัวไม่สามารถใช้ในคนตั้งครรภ์ หรือใช้ในขณะ ทีกำลังให้นมลูก 

ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด 
(Pain-relieving medications)

เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บปวดจากโรคไมเกรน ให้ประสบผลดี...
เราจำเป็นจะต้องรับประทายยาแก้ปวดทันทีเมื่ออาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้น 
มันอาจช่วยถ้าท่านได้พักผ่อน หรือหลับในที่มืดหลังรับประทานยา 

ยาบรรเทาอาการเจ็บปวดได้แก่:
ยาแก้ปวดที่พวกเราต่างทราบเป็นอย่างดีว่า  สามารถใช้แก้ปวดได้ดี 
ได้แก่ ibuprofen (Advil,Motrin) หรือ acetaminophen
(Tylenol) อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้

นอกจากนั้น  ยังปรากฏว่ามียาอีกเป็นจำนวนมากที่ผลิตออกจำหน่าย
ในรูปแบบของยาผสม เช่น acetaminophen + aspirin + caffeine (ExcedrinMigraine)
ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนระดับเบาได้  
แต่ในรายที่รุนแรงอาจไม่ได้ผล

หากมีการใช้บ่อยและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดมีผลในกระเพาะอาหาร 
หรือทำให้เกิดมีเลือดตกในกระเพาะลำไส้  หรืออาจทำให้เกิดมีอาการปวดหัวไมเกรนย้อน
กลับ (rebound headache) ได้


o   Triptans.  
ยาในกลุ่มนี้อาจเป็นยาที่เหมาะสำหรับคนไข้ปวดหัวไมเกรน  มันจะออกฤทธิ์ลดอาการปวดหัว, 
อาการคลื่นไส้, และความไวต่อแสง และเสียง   ซึ่งมักเกิดร่วมกับโรคไมเกรนได้

ยาในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย sumatriptan (Imitrex), rizatriptan (Maxalt), almotriptan (Axert), naratriptan (Amerge), Zolmitriptan (Zoig), frovatriptan( Frova) และ eletriptan(Relpax)

ผลข้างเคียงที่ได้จากการใช้ยากลุ่ม tryptans ได้แก่ อาการคลื่นไส้ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง 
และไม่ควรใช้ยาในคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้องหัวใจ 
และสมองขาดเลือด (myocardial infarction & Stroke)

มียาเม็ดผสมระหว่าง sumatriptan และ naproxen sodium
(Treximet) ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นยาที่ประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการขอไมเกรน

o   Ergot.
มียาผสมสองตัวระหว่าง Ergotamine และ caffeine ซึ่งเรารู้
ในนาม cafergot หรือ Megergot เป็นยาที่คอนข้างถูก  แต่ประสิทธิภาพสู้ยากลุ่ม triptans ไม่ได้

มียาอีกตัว ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่า และมีประสิทิภาพดีกว่า
Ergotamine  ได้แก่ Dihydroergotamine (D.H.E. 45,
Migranal) ซึ่งถูกผลิตออกมาในรูปเป็นพ่นเข้าจมูก หรือใช้ฉีด

o   ยาทีใช้แก้อาการคลื่นไส้ (Anti-nausea medications)
เนื่องจากโรคปวดหัวไมเกรนมักจะมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยเสมอ
ซึ่งอาจมี หรือไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้  
และยาที่ใช้ในการรักษาอาการดังกล่าวได้ดี  มักจะใช้ร่วมกับยาอย่างอื่นเสมอ
ยาที่เราใช้บ่อยได้แก่ metoclopramide (Reglan) หรือ prochlorperazine (Compro).

ยาที่มีฝิ่นเป็นส่วนประกอบ (Opiates)
เป็นกลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง และป้องกันอาการปวด  และมักทำให้เกิดการเสพติด (narcotics)
ซึ่งบางครั้งถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนก็ต่อเมื่อคนไข้
ไม่สามารถตอบสนองต่อยากลุ่ม triptans หรือ ergot  และ
ยาในกลุ่ม opiates จะใช้เป็นกรณีสุดท้ายเท่านั้น

o   Dexamethasones.
ยาในกลุ่มนี้ (สารสเตียรอยด์) อาจใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดีขึ้น  
แต่ไม่ควรใช้บ่อยนัก

ยาป้องกันไห้เกิดโรปวดหัวไมเกรน (Preventive medications)

ยาป้องกันไม่ให้เกิดปวดหัวไมเกรน... ใช่ว่าจะให้กับคนไข้ทุกคนไขปวดหัวไมเกรนทุกรายไป...
ท่านอาจเป็นคนหนึ่ง  ซึ่งอาจต้องได้รับยาป้องกันไม่ให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรน...
โดยมีข้อบ่งชี้ดังนี้:

เมื่อท่านเกิดโรคปวดหัวไมเกรนตั้งแต่สองครั้งต่อเดือนขึ้นไป 
หรือเมือเกิดขึ้นแล้วทำให้ท่านสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานไป,
หรือยาบรรเทาอาการปวดหัวไม่เกรนไม่สามารถช่วยได้ 
หรือในรายที่เกิดมีอาการนำ “ออร่า” เกิดเป็นเวลานาน หรือมีอากาการอ่อนแรงเกิดร่วม

ยาป้องกันโรคไมเกรน (preventive medications) สามารถช่วยคนที่เป็นโรคไมเกรน  
โดยช่วยลดทั้งความถี่, ความรุนแรง และระยะเวลาของอาการปวดหัวไมเกรนได้ 
และอาจเพิ่มประสิทธิภาพของยาบรรเทาอาการไมเกรนลงได้

แพทย์อาจแนะนำให้ท่านใช้ยากลุ่มดังกล่ว  ทำการปัองกันด้วยการรับประทานทุกวัน  
หรือจะใช้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน
 เช่น ก่อนมี่ประจำเดือนเป็นต้น

เป็นที่ทราบว่า...
ยาป้องกัน (preventive medications) ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรนได้ 100 % 
แถมมีบางราย อาจทำให้คนไข้เกิดมีอาการปวดหัวไมเกรนได้ย่างรุนแรงได้

ถ้าการใช้ยาป้องกันของท่าน  สามารถทำให้ท่านไม่มีอาการไมเกรนนานเป็นเวลา 6 เดือน ถึงปี... แพทย์อาจแนะนำให้ท่านลดยาลงจนกระทั้งหยุดยา....
หลังจากนั้น ค่อยสังเกตุว่า  โรคไมเกรนจะกลับมาหรือไม่ ?

ยาต่าง ๆ ที่แพทย์ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรน
(preventive migraine) ได้แก่:

ยาที่ใช่กับระบบหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย(Cardiovascular drugs). 

ยาลดความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดหัวใจตีบแข็ง กลุ่ม Beta blockers
ได้รับการยืนยันว่า สามารถลดความถี่  และความรุนแรงของโรคปวดหัวไมเกรนได้
ยาที่ได้รับการใช้  ชื่อ propranolol (Inderal)  เป็นยาที่ได้รับการยืนยันว่า  
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคไมเกรนได้เป็นอย่างดี

ยาในกลุ่ม channel blockers เช่น verapamil เป็นอีกตัวหนึ่ง  ซึ่งอาจมีประโยชน์
ในการป้องกันโรคปวดหัวไมเกรน และสามารถลดอาการที่เกิดจาก “ออร่า”  ได้
นอกเหนือจากนั้น  ยังมียาลดความดันโลหิตีกตัว ชื่อ lisnopril ได้รับการพิสูจน์ว่า  
สามารถลดความรุนแรงของโรคไมเกรนได้เช่นกัน

ยาต้านอาการซึมเศร้า
(Antidepressants).
ยาต้านอาการซึมเศร้าบางตัว สามารถป้องกันอาการปวดหัวบางอย่างได้ 
รวมทั้งโรคปวดหัวไมเกรนได้อีกด้วย

ยาต้านอาการซึมเศร้า  เช่น Tricyclic antidepressants  เช่น Amitriptyline, nortriptyline 
ได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันโรคปวดหัวไมเกรนได้

ยาต้านอาการซึมเศร้า (tricyclic antidepressant) อาจลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
โดยการลดระดับของ serotonin และสารเคมี ของสมอ

ยา amitriptyline เพียงตัวเดียวที่ได้รับการยืนยันว่า   

สามารถรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้เป็นอย่างดี  โดยที่คนเป็นโคไมเกรน
ไม่ต้องมีอาการซึมเศร้าแต่อย่างใด

ส่วนยากลุ่มอื่นๆ เช่น selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) และ 
serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) 
ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถป้องกันโรคไมเกรนได้

ยาต้านลมชัก (Anti-seizure drugs).

ยาที่เราใช้รักษาอาการซัก (anti-seizures) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการลดความถี่ ของโรคปวดหัว
ไมเกรนได้เช่นกัน เช่น valproate,  topiramate (Topamax) และ gabapentin (Neurontin)

ผลเสียของยาต้าอาการชักได้แก่  อาการคลื่นไส้, อาเจียน,
ท้องร่วง, ผมร่วง และเกิดอาการวิงเวียน

Cyproheptadine.
  
ยาต้าน histamine ซึ่งมีผลต่อ serotonin โดยตรง
 ชื่อ cyproheptadine สามารถรักษาโรคไมเกรนในเด็ก

Botulinum toxin type A (Botox). 

Botulinum toxin type A ได้รับการยอมรับให้ใช้รักษาโรคปวดหัวไมเกรนเรื้อรังในผู้ใหญ่  
โดยการฉีดเข้าตรงบริเวณหน้าผาก หรือต้นคอ  
เป็นยาที่ดี  สามารถทำให้อาการปวดไมเกรนได้ และสามารถฉีดซ้ำได้ทุก 12 อาทิตย์

นอกเหนือจากยาที่นำมาใช้รักษาอาการปวดหัวไมเกรนแล้ว ยังมีกรรมวิธีอย่างอื่น 
ซึ่งสามารถช่วยรักษาไมเกรนได้อีก เช่น

o   การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (muscle relxation) เช่น การอาบน้ำอุ่น, การเล่นโยคะ, การฟังเพลง, 
อ่านหนังสือ....สามารถก่อให้เกิดกล้ามเนื้อผ่อนคลายได้

o   นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และอย่านอนนานเกิน...
โดยอย่างน้อย ต้องนอนหลับพักผ่อนให้พออย่างน้อย  6 – 8 ชม

o   พักผ่อน และผ่อนคลาย หากเป็นไปได้ควรพักผ่อนในห้องมืด เงียบสนิทไม่มีเสียง  
หรืออาจประคบด้วยน้ำแข็งห่อด้วยผ่้ากดเบาๆ ตรงบริเวณต้นคอ, และบริเวณที่ปวด (หนังศีรษะ) 

การป้องกันโรปวดหัวไมเกรน (Prevention)

ในคนเป็นโรคปวดหัวไมเกรนจะได้รับยาป้องกัน (Preventive medication) หรือไม่  

การปรับเลี่ยนวิถีชีวิตของเขาสามารถลดจำนวนการเกิด และความรุนแรงของโรคปวดหัวไมเกรน

ได้อย่างแน่นอน 

คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยคนไข้ปวดหัวไมเกรนได้:

§  หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น (Avoid triggers)

บางท่านอาจถูกกระตุ้นด้วอาหาร  ก็ให้หลีกเลี่ยงเสีย
บางรายเผชิญกับกลิ่นบางอย่างก็ทำให้เกิด...ก็จงเหลีกเลี่ยงเช่นกัน
โดยทั่วไป ให้พยายามดำเนินกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติเหมือนเดิม
นอนให้เป็นเวลา รับประทานให้เป็นเวลา และจงหัดควบคุมความเครียด
ทีเกิดให้ได้

§  ออกกำลังกายเป็นประจำ (Exercise regularly)

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  สามารถลดความเครียดได้เป็นอย่างดี 
และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคปวดหัวไมเกรนได้ด้วย

ในการออกกำลังกาย ท่านต้องออกให้กำลังให้ถูกวิธี
โดยเริ่มต้นด้วยการอุ่นเครื่อง  warm up  ก่อนเป็นเวลา 5 -10 นาที
แล้วตามด้วยการออกกำลังกายด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น เดินเร็ว หรือวิ่งเหยาะ ๆ ประมาณ 30 นาที  
แล้วตามด้วยการทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็นลง  (cool down)
ด้วยการเดินอย่างช้าประมาณ 5 –10 นาทีเป็นเสร็จ....

ความอ้วนก็เคยคิดว่า  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนได้...
การลดความอ้วน  สามารถช่วยไม่เหิดปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน....
ลองดูซิ.

§  ลดผลที่จะเกิดจากฮอร์โมน estrogen.

สำหรับสุภาพสตรี  ระดับของฮอร์โมน “เอสโตรเจน” 
อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดปวดหัวไมเกรนได้ ดังนั้น การหลีกเลี่ยงไม่รับยาที่มีสาร
estrogen เป็นส่วนประกอบ ก็น่าจะช่วยป้องกันไม่ไห้เกิดปวดหัวไมเกรนได้


http://www.mayoclinic.com

1 ความคิดเห็น: