วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานในคนสูงอายุ 2

March 22, 2013


Continued

Monitoring

คนไข้เบาหวานทุกราย  ควรได้รับตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ
ด้วย การตรวจวัดระดับน้ำตาลในตอนเช้า (FBS), ประเมินผลการรักษา
และตรวจสอบการรับประทานยาลดระดับน้ำตาลที่ได้ผลที่สุด 
โดยไดรับยาที่มีขนาดยาน้อยที่สุด

หากเป็นไปได้  คนไข้ควรได้รับการเรียนรู้ที่จะตรวจวัดดูระดับน้ำตาลด้วย
ตนเองให้ได้  สำหรับการตรวจดูระดับน้ำตาลในปัสสาวะไม่ควรกระทำ 
เพราะไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

หลังจากเริ่มการรักษาราเบาหวาน  และการปรับแต่งขนาดของยาจากน้อยไปหามาก
การพิจารณาผลของการรักษา  สามารถกระทำได้ด้วยการตรวจหาค่า HbA1C
โดยทำการตรวจทุก 3 ด้วย

การรักษา (Management)

ในคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน...
การรักษาคนไข้กลุ่มนี้  จำเป็นต้องคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมเป็นเกณฑ์  ตลอดรวมไปถึง
การดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมของพวกเขา  และมีความปรารถนาของเขาด้วย

ในการรักษาโรคเบาหวานของคนหนุ่ม  จำเป็นต้องทำการดูแลอย่างใกล้ชิด  
เพื่อให้ทำให้ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลดสู่เป้าหมายได้ตามต้องการ

แต่สำหรับคนสูงอายุมีเป้าหมายสองประการ:
ประการแรก เป็นการดูแลตามความจำเป็นตามพื้นฐาน(basic)
และประการที่สอง  รักษาแบบมุ่งมั่น (progressive)

ในการดูแลรักษาตามความจำเป็นแบบพื้นฐาน (basic care) 
มีเป้าหมายที่ป้องกันไม่ให้เกิดอาการจากภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูง
โดยมีระดับของน้ำตาลหลังรับประทานอาหารเฉลี่ย 200 mg/dL
ซึ่งเป็นระดับที่มีน้ำตาลถูกขับออกทางปัสสาวะได้น้อย

นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า  การเสียน้ำตาลทางปัสสาวะสามารถทำให้เกิดน้ำหนักลด, 
สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ  และก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ 
และภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นจากการขาดสารอาหาร

การดูแลแบบมุ่งมั่น (aggressive care)…
การรักษาคนสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน  จะถือว่าเหมาะสมก็ต่อเมื่อเราสามารถ
ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้าหมาย พร้อมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ในระยะยาวไม่ให้เกิดขึ้นกับเขา

ภาวะน้ำตาลในเลือดระดับปกติ  โดยมีค่าต่ำกว่า 110 mg/dL HbA1C  มีระดับปกติ  
ถือว่าดีที่สุด   ซึ่งถ้าหากเราสามารรถทำได้  ย่อมทำให้คนไข้ได้รับผลประโยชน์หลายประการ
ทั้งที่เกิดขึ้นทันที (immediate)  และประโยชน์ในระยะยาว (long term)

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นทันที (Immediate):
ปัสสาวะตอนกลางคืน, จำนวนครั้ง ลดลง  การทำงานของเม็ดเลือดขาวดีขึ้น  
ตลอดรวมถึง chemotaxis ดีขึ้น  ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อลดน้อยลง  
บาดแผลที่เกิดขึ้นหายเร็วขึ้น
ประโยชน์ในระยะยาว (Long term):
 ชะลอการเกิดโรคเกี่ยวกับตา (retinopathy,cataracts), โรคเส้น ประสาท (neuropathy), และโรคไต (nephropathy),  ลดระดับ lipoprotein A และ glcosylated hemoglobin (HbA1C)
ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากระบบหัวใจ และเส้นเลือดลดลง

ในการตัดสินใจทำการรักษาโรคเบาหวานในคนสูงอายุ...

การตั้งเป้าหมาย (goal) การรักษาโรคเบาหวานในคนสูงอายุ
ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก  โดยแพทย์ และคนไข้ จะต้องตัดสินใจวางแผนร่วมกัน
ซึ่งมีประเด็นหลายอย่างควรได้รับการพิจารณา  เช่น ปัญหาสุขภาพทางกาย (medical problems) 
ของคนสูงอายุ  และเวลาที่เหลือสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก (life expectancy)
มีคนไข้สูงอายุจำนวนมาก  สมควรได้รับการรักษาเหมือนคนหนุ่มแน่นทุกประการ
โดยมีประเด็นในการรักษา ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อทำให้ระดับน้ำตาลลดสู่เป้าหมายให้ได้

ไม่ว่าเราจะตัดสินใจตั้งเป้าหมายการรักษาอย่างใด...
คนสูงอายุที่เป็นเบาหวาน  อย่างน้อยควรได้รับการดูแลรักษาให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ
ซึ่งประกอบด้วย อาหาร, การออกกำลังกาย, ยาเม็ดลดน้ำตาลในกระแสเลือด และ อินซูลิน
ซึ่งทุกอย่างควรได้รับการพิจารณาในคนสูงอายุด้วยเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น