วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องที่ควรรู้จาก เคมีบำบัด (Chemotherapy)

April 1, 2013


มีความรู้บางอย่างสามารถเรียนรู้ได้จากเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น
เป็นต้นว่า  ในสงครามโลกที่ที่ผ่านมา เราได้พบทหารผ่านศึก สัมผัสกับ mustard gas 
แล้วพบว่า แกสดังกล่าว  ได้ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนลดน้อยลง....
ปกติเซลล์มะเร็งจะมีการแบ่งตัว และเจริญอย่างรวดเร็ว

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว  ได้นำไปสู่การคิดค้นหาสารต่าง ๆ เพื่อนำ
มาใช้รักษาเซลล์มะเร็ง  ด้วยการทำให้มันแบ่งตัวช้าลง  หรือยุติการแบ่งตัว 
และการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

โดยในปัจจุบัน  ปรากฏว่า  มียา ซึ่งถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งกันเป็น
จำนวนมากมาย (มากกว่า 100)

นอกจากนั้น  แพทย์ยังสามารถทำการตรวจทางพันธุกรรม 
เพื่อให้สารเคมีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนั้น  ยังมีการตรวจความผิดเพี้ยนทางพันธุกรรม (genetic mutation) 
ซึ่งสามารถระบุได้ว่า  มะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นชนิดใด  
ยกตัวอย่าง  มะเร็งเต้านมของคนไข้  เหมาะกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการเฉพาะ
หรือไม่ ?

ในการรักษาโรคมะเร็ง...
อย่างที่กล่าว  เคมีบำบัด คือการใช้ยาที่เป็นสารเคมี  ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง
สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่กำลังเจริญเติบโตภายในร่างกายลงได้

ยาที่ใช้ทำหน้าที่รักษา สามารถทำให้ขนาดของก้อนมะเร็งหดตัว และเล็กลงได้  
มันอาจป้องกันเซลล์มะเร็งไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้

ในปัจจุบัน ปรากฏว่า มียารักษามะเร็งมากกว่า 80 ชนิด ถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งกัน  
และในการรักษาโรคมะเร็งดังกล่าว  ส่วนมากเรามักจะใช้ยาหลายตัวร่วมกัน  
บางทีใช้สองตัว  หรือใช้ได้มากกว่านั้นก็ได้

เราจะพบว่า แพทย์ผู้เชี่ยวในการรักษาโรคมะเร็ง
เขาจะวางแผนการรักษา  โดยคำนึงถึงชนิดของมะเร็ง,  การกระจายของเซลล์มะเร็์ง
ไปยังส่วนอื่นขอบร่างกายได้มากน้อยแค่ใด

ไม่ว่าเซลล์มะเร็งจะกระจายไปไกลแค่ใหน ?
ยารักษามะเร็งสามารถเดินทางไปถึงทุกส่วนของร่างกาย
ดังนั้น  ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งจึงสามารถทำลายมะเร็งได้
ไม่ว่า  มันจะแพร่กระจายไปถึงส่วนใดของร่างกาย

นอกจากนั้น  ยาดังกล่าว ยังสามารถฆ่ามะเร็ง ซึ่งมีขนาดเล็กขนาด
ที่ไม่สามารถตรวจพบได้อีกด้วย

เคมีรักษา:


เคมีรักษาถือเป็นพื้นฐานการรักษาที่สำคัญสำหรับมะเร็งบางชนิด
โดยเฉพาะมะเร็งของเม็ดเลือด และเซลล์ไขกระดูก
เช่น “ลูคีเมีย”(Leukemia), “ลิมโพมา” (lymphoma), และ
“มัลตะเปิ้ล มัยอีโลม่า” (multiple myeloma)

สำหรับมะเร็งชนิดอื่น ๆ...
เคมีบำบัดจัดเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้ร่วมกับวิธีการรักษาชนิดอื่น ๆ 
เช่น “รังสีรักษา”, และหรือ “การรักษาด้วยการผ่าตัด” 
ซึ่งมักเป็นมะเร็งชนิดที่เป็นก้อนแข็ง (solid tumors)
เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งของลำไส้ใหญ่  และมะเร็งของอวัยวะอย่างอื่น ๆ

เป้าหมายของเคมีรักษาของมะเร็งแต่ละชนิด  ย่อมแตกต่างกันไป
โดยขึ้นกับระยะ (stage) ของมัน   ดังนี้:

§  รักษามะเร็งหายขาด
§  ป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิด (ฟื้นตัว) หลังการผ่าตัด
§  ป้องกันไม่ให้มะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ
§  ลดขนาดของก้อนมะเร็งลง เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการผ่าตัด
§  ลดขนาดของก้อนมะเร็งชนิดที่ไม่สมารถรักษาได้  แต่เป็นการลดอาการที่เกิดจากขนาด
   ของมะเร็ง

การเตรียมตัว...

ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิดต่างมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป
โดยอาจขึ้นกับขนาดของร่างกาย  โดยมีปฏิกิริยาต่อยารักษา
ซึ่งท่านสามารถสอบถามจากแพทย์ผู้ให้การรักษาว่า ยาที่ท่านจะได้รับนั้นมีผลข้างเคียงอย่างไร

ยารักษามะเร็งที่ท่านจะได้รับนั้น...
อาจเป็นการรักษาในโรงพยาบาล  หรือจากคลินิกแพทย์
หรือบางทีอาจให้ยาที่บ้านของท่านเอง

อาจเป็นยาเม็ดรับประทาน หรือได้รับการฉีดจากแพทย์ 
โดยส่วนใหญ่จะเป็นยาทีต้องฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
ซึ่งอาจได้รับยาทุกวัน, หรือเป็นรายอาทิตย์  หรือเป็นรายเดือน
ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา

หลังการรักษา....

เมื่อท่านได้รับการรักษาด้วยสารเคมี (เคมีรักษา)
แพทย์อาจทำการพิจารณาตรวจสิ่งต่อไปนี้  เพื่อตรวจดูว่า
ผลของการรักษาที่ท่านได้รับเป็นเช่นใด ?

·         การตรวจร่างกาย
·         การตรวจเลือด
·         การตรวจเอกซเรย์
·         ตรวจภาพด้วย CT scans
·         ตรวจภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก MRI
·         ตรวจ Positron emission tomography (PET) scans

แพทย์จะทำการตรวจเลือดหลายอย่าง...

มียารักษามะเร็งหลายชนิด  มีผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก  
ซึ่งแพทย์จำเป็นต่้องทำการตรวจหลายอย่าง เช่น

·         เม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้านำออกซิเจน
·         เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับการอักเสบติเชื้อ
·         เกล็ดเลือด ซึ่งทำหน้าที่จับตัวเป็นก้อนเลือด เพื่อหยุดเลือดไหล

หลังการรักษา เมื่อปรากฏว่า  เม็ดเลือดขาวลดต่ำลง 
แพทย์อาจสั่งให้มีการฉีดยา เพื่อช่วยให้มีการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้น
บางครั้ง แพทย์อาจจำเป็นต้องให้เลือดแก่ท่าน (blood transfusion)

นอกจากนั้น แพทย์จะมีการตรวจดูการทำงานของตับ และไต
เพราะยาที่ใช้รักษามะเร็งสามารถทำอันตรายตับ และไตได้

ผลอันไม่พึงประสงค์จากเคมีรักษา...


ผลอันไม่พึงประสงค์จากเคมีรักษา  นอกจากสารเคมีสามารถทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว
มันยังทำลายเซลล์ปกติได้ด้วย  ทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์หลายอย่าง  
ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ จะต้องลดความรุนแรงที่เกิดจากผลข้างเคียงให้ได้ 

ผลข้างเคียงที่พบได้แก่:

·         เหนื่อยเพลีย
·         คลื่นไส้ & อาเจียน
·         ท้องร่วง
·         เจ็บช่องปาก
·         ผมร่วง
·         ผื่นตามผิวหนัง
·         ระดับเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ลดลง

เมื่อท่านได้รับเคมีรักษา...
การรักษาดังกล่าว จะไปยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ
เมื่อเม็ดเลือดขาวลดต่ำลง จะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการต่อสู้กับการอักเสบ
ติดเชื้อ  ดังนั้น เราจึงเห็นว่า คนไข้มีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย 
ซึ่งมีบางราย  เกิดความรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

เคมีรักษาสามารถกระทบต่อเซลล์เกล็ดเลือด  ซึ่งมีผลต่อการหยุดเลือด (blood clot) 
เป็นเหตุให้มีเลือดไหลไม่หยุด

ในระหว่างที่ท่านกำลังได้รับเคมีบำบัด...
ท่านอาจจำเป็นต้องหยุดการใช้ยาบางอย่างลง เพราะมันสามารถทำ
ปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้รักษามะเร็งได้

ยาที่ทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง  สามารถก่อให้เกิดความพิการในทารกแรกเกิดได้  
ฉะนั้นหากท่านตั้งครรภ์ระหว่างได้รับเคมีรักษา.ท่านควรบอกให้แพทย์ได้รับทราบ
นอกจากนั้น เคมีรักษาอาจทำให้เกิดเป็นหมันได้

ท่านควรพบแพทย์เมื่อใด ?

ในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด  ท่านอาจมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น
ซึ่งท่านควรไปพบแพทย์ เมื่อท่านเกิด:

·         เป็นไข้
·         หนาวสั่น
·         ผื่นตามผิวหนัง
·         มีอาการบวมที่มือ, เท้า หรือใบหน้า
·         อาเจียนอย่างรุนแรง
·         ท้องร่วง
·         มีเลือดออกทางปัสสาวะ และอุจจาระ
·         มีเลือดออก หรือมีรอยช้ำตามผิวหนัง
·         หายใจลำบาก
·         ปวดศีรษะอย่างแรง
·         เกิดความเจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะกินเวลานานกว่าจะหาย
·         มีอาการปวด,บวม, แดงตรงบริเวณรอบฉีดยารักษามะเร็ง

นอกเหนือจากที่กล่าว  อาจมีผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยเคมีบำบัด  
ซึ่งเป็นเรื่องทีท่านควรรู้  และที่สำคัญ  ท่านจะต้องทำความเข้าใจกับแพทย์ก่อนเริ่มการรักษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น