วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ยารักษาโรคไขข้อที่เราควรรู้ (Arthritis Medications) 2

April 1,2013


Disease-Modifying Antirheumatic Drugs (DMADs)

กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินโรค ด้วยการทำมันช้าลง 
ที่เราควรทำความเข้าใจ มีหลายตัวด้วยกัน โดยเฉพาะยาที่ถูกนำมาใช้ในโรค
ไขข้อ “รูมาตอยด์” และโรค “ลูปัส” โดยยาดังกล่าวมักจะเป็นยา
ที่ถูกใช้ในการรักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคมะเลเรีย....

ยาที่ใช้รักษาโรคมาเลเรีย (Anti-malrial drugs) ได้แก่
· chloroquine(Aralen)   และ hydroxychloroqauine (Plaquenil) และ...
ยาต่างๆ ที่ออกฤทธิ์สูงสุดในการรักษาโรคไขข้อได้แก่
 Methotrexate (Rheumatrex),  Sulfasalazine,  Azathioprine (Imuran)

โดยยาต่างๆ ดังกล่าวจะออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการอักเสบ  ซึ่งเชื่อว่า
มันจะออกฤทธิ์ต่อระบบคุ้มกัน

ยากลุ่มดังกล่าว  ยังมีความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้
และก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์ อาจกินเวลาเป็นอาทิตย์ หรือกินเวลานานหลายเดือน 
ดังนั้น  ในระหว่างที่รอให้ยาออกฤทธิ์ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม NSAIDs
หรือยากลุ่ม steroids ร่วมด้วย ซึ่งจะให้ผลในการบรรเทาอาหารได้เร็ว

ยาในกลุ่ม DMADs เมื่อให้แก่คนไข้ อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง
เป็นต้นว่า  ก่อให้เกิดท้องร่วง, ผื่นตามผิวหนัง, โลหิตจาง, เม็ดเลือดขาวลดต่ำลง
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อได้

โดยทั่วไป เมื่อยาออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการทำงานของระบบคุมกัน
มันจึงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบติดเชื้อได้สูง
นอกเหนือจากนั้น ยา methotrexate ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาต่อ "ตับ"  และ "ปอด"

ยารักษามะเลเรีย (antimalarial drugs) สามารถเป็นอันตรายต่อตาได้
ดังนั้น คนไข้ทุกรายก่อนใใช้ยา และหลังการใช้ยา ควรได้รับการตรวจตาเป็นประจำ

Gold salts เป็นยาอีกตัวหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่ม DMADs ซึ่งได้ถูกนำไปใช้รักษาโรคไขข้อ
เป็นเวลานานนับศตวรรษ   โดยเราไม่ทราบแน่ชัดว่า  การทำงานของ gold salt จะเป็นเช่นใด?
และเนื่องจากในปัจจุบัน  เรามียาใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
จึงเป็นเหตุให้แพทย์ไม่นิยมใช้ gold salt เพื่อการรักษาโรค "รูมาตอยด์" กันอีก

เมื่อไม่นานมานี้ ปรากฏว่ามีการวิจัยใหม่ๆ ได้พบวิธีการรักษาโรคไขข้อใหม่ ๆ
ได้ผลเป็นที่ประทับใจ ได้แก่ leflunomide (Arava) และยาต่าง ๆ
ซึ่งสามารถหยุดยั้งฤทธิ์ tumor necrosis factors (TNF) ได้

§ Leflunomide จะทำหน้าที่หยุดยั้งฤทธิ์ที่เกิดจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
โดยทำให้โปรตีน ซึ่งมีส่วนในการสังเคราะห์ DNA เกิดคววามบกพร่อง และเสียหายไป

§ Anti-TNF drugs จะทำหน้าที่ทำลายฤทธิ์ของ TNF  ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
และทำลายข้อ

ยาที่ทำหน้าที่บล็อกการทำงานของเอ็นไซม์ TNF ได้แก่:

§ Adalimumab (Humira) ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง ต่อสองอาทิตย์

§ Certolizumab (Cimzia) ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุก 2 – 4 อาทิตย์

§ Etanercept (Enbrel) ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 – 2 ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์

§ Golimumab (Simoni ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกเดือน

§ Inliximab (Remicade ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดทุก 4 – 8 อาทิตย์


นอกจากนั้น ยังมียาอีกหลายตัวที่เราควรรู้....

o Anakinra (Kineret) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งสารเคมี  ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
  (mediators) ของการอักเสบชื่อ Interleukin-1 (IL-1)

o Tocilizumab (Actemra) จะออกฤทธิ์ยับยั้งสารที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง (mediator)
   ของการอักเสบชื่อ interleukin-6 (Il-6)

นอกจากนั้น ยังมียาฉีดสำหรับรักษาโรคไขข้อรูมาตอยด์ ชื่อ

o Abatacept (Orencia) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเซลล์ของระบบคุ้มกัน
   ซึ่งทำหน้าที่ก่อให้เกิดการอักเสบ

o Rituximab (Rituxan) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเซลล์ของระบบภูมิ
   คุ้มกัน ชื่อ B-cells ไม่ให้สร้างภูมต้านทานบางชนิด

o Belimumab (Benlysta) สามารถยับยั้งฤทธิ์ของ B-cells และ
    เป็นยาตัวแรกที่ได้รับยอมรับสำหรับรักษาโรค systemic lupus Erythematosus

ในปัจจุบันได้มีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องระบบภูมคุ้มกันไม่ให้ตอบสนอง
ต่อการทำให้เกิดการอักเสบ ตลอดรวมไปถึงความพยายามที่จะสร้างวัคซีน
เพื่อต้านการเกิดการอักเสบ.... ซึ่งเรากำลังรอดูผลที่จะเกิดในอนาคต

นอกจากนั้น การลดน้ำหนักตัวสามารถช่วยข้ออักเสบได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่า ยาสำหรับการรักษาโรคไขข้อ ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน...
ส่วนใหญ่จะเป็นยาบรรเทาอาการให้ทุเลาลง

ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด  

โรคไขข้อส่วนใหญ่จะเป็นพวก โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis)
ซึ่งไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น หรือเกิดน้อยมาก
ดังนั้น การรักษาอาการ "ปวด" จากโรคข้ออักเสบดังกล่าวจึงเป็นเป้าหมายหลัก

ยา acetaminophen(Tylenol) อาจเพียงพอต่อการควบคุมอาการปวดได้
ยาอย่างอื่นซึ่งสามารถลดอาการของโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ได้แก่ NSAIDs

นอกจากนั้น ยังมีการใช้ สาร corticosteroids หรือยา hyaluronate) รักษาโรคไหขข้อดังกล่าว
ซึ่งสามารถลดอาการปวดได้พอประมาณได้เช่นกัน


<< BACK


http://www.intelihealth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น