Aug. 11,2014
ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2...
เราพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งจะลงเอยด้วยอาการปวดประสาทเรื้อรัง
(chronic Pain) หรืออาการปวดปวดอย่างเฉียบพลัน โดยเป็นผลจากการ
ศึกษาในคนไข้โรคเบาหวาน มีอายุระหว่าง 30 – 75 จำนวน 13,000 ราย
ในการรักษาคนไข้กลุ่มดังกล่าว ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปยังการควบคุม
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด, ควบคุมระดับไขมันคลอเลสเตอรอล
และความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้นว่า
โรคหัวใจ, โรคไตวาย, โรคตาบอด, และป้องกันไม่ให้คนไข้ถูกตัดขา
แต่เนื่องจากมักมองข้ามความเจ็บปวด หรือไม่ให้การดูแลเท่าที่ควร
เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง...เป็นอาการปวดเรื้อรัง
พร้อมกับอาการอื่น ๆ ปรากฏขึ้นในเวลาต่อมา
ผลจากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อายุมากกว่า 60 มีแนว
โน้มที่จะทรมานจากความเจ็บปวด (diabetic neuropathy) โดยที่อาการ
ปวดจะมีลักษณะ...แสบร้อน...ชา...ปวดเหมือนถูกเข็มทิ่มตำที่บริเวณมือ,
เท้า หรือขาทั้งสองข้าง นอกจากนั้น เขายังมีอาการอย่างอื่นอีก เป็นต้น
ว่า มีปัญหาในด้านการนอนหลับ, เคลื่อนไหวลำบาก, หายใจหอบ,
ท้องผูก และคลื่นไส้...
จากความจริงที่ปรากฏ แทนที่จะให้การรักษาโรคเบาหวานตามมาตรฐาน
เพียงด้านเดียว เราควรพิจารณาเพิ่มการรักษาคนเป็นโรคเบาหวาน ด้วย
การบรรเทาอาการอย่างอื่น เช่น อาการปวด รวมถึงการทำให้คุณภาพ
ชีวิตดีขึ้น โดยไม่ได้หวังให้คนไข้หายจากโรค
การรักษาด้วยวิธีบรรเทาอาการ เป็นเรื่องที่รู้กันดีในการรักษาคนไข้
ที่เป็นมะเร็งในช่วงสุดท้ายของชีวิต แม้ว่าอาการของโรคเบาหวาน
ในช่วงสุดท้ายของชวิตจะทำให้อาการเลวลงก็ตาม นักวิจับต่างแนะนำ
วิธีการเพื่อบรรเทาอาการให้แก่คนไข้ได้ตลอดช่วงที่มีชีวิต
โดยไม่ต้องคำนึงว่า คนไข้จะมีชีวิตยืนยาวนานแค่ไหน
สิ่งที่ควรทำ...
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน สิ่งเป้าหมายแรกทีท่านควรกระทำ คือควบคุมโรค
ของท่านเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะละเลยปัญหาอย่างอื่น
ยกตัวอย่าง หากท่านมีปัญหาทางกาย หรือปัญหาทางด้าน
จิตใจเกิดขึ้น ท่านจะต้องได้รับการรักษาพร้อมกันไป
อย่าลืม...
การใช้ยาบรรเทาอาการปวด, ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรักษาอาการซึม
เศร้า หากกระทำได้แต่เนิ่น ๆ ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้คนไข้ทรมานจาก
โรคโดยไม่จำเป็นได้
/www.johnshopkinshealthalerts.com/alerts/diabetes/
Diabetes-Pain-Management_6518-1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น