วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อต้องเริ่มใช้ "อินซูลิน" แ่กคนไข้ (Initiation of Insulin) P.1

Aug.22, 2014

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
สิ่งหนึ่งที่เราพบเป็นประจำ  คือ เมื่อแพทญืบอกว่า  ถึงเวลาที่ต้องรักษา
ด้วยการฉีดยาเมื่อใด....ส่วนหนึ่งไม่ยอมที่จะฉีด

ก่อนที่จะได้รับการรักษาด้วยการฉีด “อินซูลิน” คนไข้ทุกราย
จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์  หรือพยาบาลจนสามารถรู้ได้ว่า  ทำไม
จึงต้องฉีด   และได้รับการเรียนรู้ ภาวะน้ำตาลลดต่ำ  พร้อมกับรู้วิธีป้องกัน
อันตรายอันเกิดจากภาวะดังกล่าวได้

นอกจากนั้น  เขายังได้รับการเรียนรู้อีกว่า  เหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนชนิด
ของอินซูลิน หรือรู้เวลาของการฉีดยา  และรู้ด้วยว่า ผลของการรักษาไม่
บรรลุเป้าหมายตามที่คาดเอาไว้  และรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรต่อไป

ตัวอย่างของการรักษาด้วยการใช้ “อินซูลินฉีด”
ตัวอย่างที่ 1:

ารสั่งให้ใช้ Basal insulin (Humanin –N, Lantus®, Levemir®)
เพื่อเสริมกับยาเม็ดลดน้ำตาล (oral antihypeglycemic agents)

ในการให้อินซูลิน มีเป้าหมายดังต่อไปนี้:

 อินซูลิน (basal) ที่ใช้ควรต้องค่อยๆ เพิ่มปริมาณที่ละน้อย (titrate) เพื่อให้
ได้ระดับของน้ำตาลขณะอดอาหาร (fasting BG) มีค่าอยู่ระหว่าง 4.0 – 7.0 mmol/L 
( 72 – 108 mg/dL)

(เราสามารถคำนวณค่า mg/dL จากค่า mmol/L = 18xmmol/L)

 เราสามารถสอนให้คนไข้โรคเบาหวาน สามารถปรับเพิ่มขนาดของ
ยาได้ด้วยตนเอง หรือทำการปรับร่วมกับพยาบาลผู้ดูแลการรักษา

 เริ่มต้น เราแนะนำให้เริ่มฉีดเบซอลอินซูลิน  10 units /วัน ก่อนนอน
โดยแนะนำให้เพิ่มขนาดของอินซูลิน ครั้งละ 1 unit /วัน จนกว่าระดับของน้ำตาล
จะลดลงสู่ระดับที่ตั้งเอาไว้

o สำหรับคนสูงอายุ ควรปรับขนาดยา (titration) อย่างช้า ๆ ด้วยอินซูลินขนาด
(dose) ต่ำ ๆ โดยมีเป้า (targets) ที่ "สูง" กว่าคนหนุ่ม

o ในการปรับขนาดของยาฉีดด้วยตนเองตามที่กล่าว   คนไข้ควรทำการตรวจ
ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองอย่างน้อยวันละครั้ง

o ในระหว่างการรักษาด้วยยาฉีด (อินซูลิน) หากเกิดภาวะระดับน้ำตาลลดต่ำ
(BG< 4.0 mmol/L)  โดยเกิดขึ้นสองครั้งภายในหนึ่งอาทิตย์   หรือเกิดภาวะน้ำ
าลในเลือดตกในตอนกลางคืน (nocturanal hypoglycemia) ไม่ควรปรับเพิ่ม
ปริมาณของอินซูลินเป็นอันขาด...

o ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่างมีค่า < 5.5 mmol/L หรือ 5.5x18 mg/dL 
ให้พิจารณาปรับ "ลด" ขนาดอินซูลิน 1 – 2 units เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะ
น้ำตาลตกในตอนกลางคืน (nocturnal hypoglyemia)

o ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia) ควรหยุดยาเม็ด
ลดระดับน้ำตาล (oral medications) ในตอนกลางวัน โดยเฉพาะกลุ่มยาที่เพิ่ม
การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เช่น glipizide, glibenclamide เป็นต้น


<< NEXT : P.2 : continued

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น