วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเด็นน่ารู้ในเรืองโรคเบาหวาน. P.4: Cardiovascular disease and Diabetes

Feb. 28,2014

ได้เห็นเหตุการณ์อย่างหนึ่ง...
อดนึกถึงคำสอนของครูสมัยโน้นไม่ได้ว่า  มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่
อยู่รอบตัวเราเกิดขึ้นได้  เป็นเพราะเราได้ปล่อยให้สิ่งเล็กน้อย ให้กลาย
เป็นเรื่องใหญ่...  ซึ่งตรงข้ามกับการทำให้เรื่องใหญ่ๆ ที่น่ากลัวทั้งหลาย
ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก  ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ...

เรือ่งเช่นนี้มี่พบได้ในทุกวงการ...
ในวงการแพทย์ก็มีให้เห็นเป็นประจำ  และนี้คือตัวอย่าง  ที่นำเสนอ
ให้เป็นอุทาหรณ์:

กระทาชายนายหนึ่งวัย 30s  มาโรงพยาบาลด้วยเรื่องไม่สบาย ไม่ค่อยมี
เรี่ยวแรง  ตาด้านหนึ่งมองไม่เห็น  ส่วนอีกข้างพอมองเห็นบาง...

แพทย์ได้ทำการตรวจเลือดพบว่า
ระดับน้ำตาลในกระเสเลือด (หลังกินข้าว) วัดได้ 1040 mg/dL (ค่าปกติ
< 110 mg/dL)  ตรวจผลของน้ำตาลในเลือดย้อนหลัง 2 เดือน 
วัดได้ 24 (ค่าปกติ  4.8-5.9 )  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเป็นที่ตกใจของแพทย์
ผู้ทำการรักษา  มันบ่งบอกให้ทราบว่า  หนุ่มคนดังกล่าว เป็นหวานขั้นรุน
แรง  ถูกปล่อยปละละเลยไม่ทำการรักษา  จนเป็นเหตุให้เกิดตาบอด

ตัวอย่างที่นำเสนอมานี้...
เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับโรคเบาหวาน  แม้ว่าจะเป็นโรคเรื้อรัง 
สามารถรักษาได้  แต่หากไม่ทำการรักษา  สามารถทำให้ตาถูกทำลาย
จนถึงกับตาบอดดังที่ปรากฏ
....

ประเด็นที่จะนำเสนอ...
เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง โรคเบาหวาน  และโรคหัวใจ และเส้นเลือด
ซึ่งมีสถิติที่น่าสนใจดังนี้:

o    โรคหัวใจ (heart disease) และสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด
(stroke) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง  ที่ทำให้คนเสียชีวิต และเกิดความ
พิกลพิการของคนในสหรัฐ  ซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน   

ตามเป็นจริง...คนเป็นเบาหวาน พบว่า...ประมาณ 65 % เป็นอย่างน้อย
จะ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ (heart disease) 
และสมองถูกทำลาย (stroke)

o   จากสถิติพบว่า  คนเป็นเบาหวาน (วัยผู้ใหญ่) มีโอกาสเกิดโรคหัวใจ 
และสมองถูกทำลายได้เป็น 4 เท่าของคนปกติ

o   จากสมาคม American Heart Association ได้จัดให้โรคเบาหวาน
เป็นหนึ่งในเจ็ดของปัจจัยเสี่ยง  ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และเสนเลือด
ซึ่งสามารถควบคุมได้



วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเด็นที่น่ารู้ในโรคเบาหวาน: P 2: Types of Diabetes : T1D

Feb. 25, 2014

โรคเบาหวานจะถูกแบ่งเป็นสองชนิด: ประเภท 1 และ  2 (T1D & T2D)
ทั้งสองชนิดอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้   จึงเห็นว่า 
ประวัติครอบครัวมีคนเป็นเบาหวาน... จะทำให้สมาชิคในครอบครอบครัว
มีความเสี่ยงต่อเป็นโรคเบาหวานได้สูง

โรคเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1D)
จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรง   ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อตับอ่อนไม่สามารถ
สร้างฮอร์โมน “อินซูลิน”   หรือผลิตฮอร์โมนตัวดังกล่าวได้น้อย   ย่อม
ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว...
คนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่งจึงจำเป็นต้องพึงพา “อินซูลิน”  ซึ่งมีหน้า
ที่ในการทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป
จากการที่ต้องพึ่งพาอินซูลินนี้เอง เขาจีงเรียกเบาหวานประเภทหนึ่งนี้
ว่า เป็น insulin-dependent diabetes

ในสมัยก่อน เบาหวานประเภทหนึ่ง (T1D) ถูกเรียกว่า juvenile diabetes 
เพราะเป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยในเด็ก และในวัยหนุ่ม
อย่างไรก็ตาม เน่ื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง  สามารถเกิดขึ้นกับคน
ทุกวัย   และเกิดในคนที่มีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
เบาหวานประเภทหนึ่ง

ในระหว่างการเกิดเบาหวานประเภทหนึ่ง...
ระบบภูมิคุ้มกันเกิดได้ทำงานเพี้ยนไปจากเดิม โดยเราไม่ทราบว่า
อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น....แทนที่จะทำลายศัตรูที่บุกรุกเข้าสู่กาย แต่หันมา
โจมตีทำลายเซลล์ที่มีชื่อว่า beta cells ภายในตับอ่อนให้เสียไป

เมื่อเซลล์(beta cells) ถูกทำลาย  เป็นเหตุให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิต
อินซูลิน  หรือผลิตได้น้อย  เป็นเหตุให้มีน้ำตาลเหลือค้างในกระแสเลือด
เป็นจำนวนมาก

เมื่อมีน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก...
โดยเฉพาะเมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน  มันจะทำให้อวัยวะทุกอวัยวะ
ในร่างกายถูกทำลาย (damage) ไป

<< BACK  P. 1 : How diabetes develops ?

NEXT >> P. 3: Type 2 Diabetes

ประเด็นน่ารู้ในเรืองโรคเบาหวาน. P.3 : Type 2 Diabetes (T2D)

Feb. 27, 2014

บางท่านได้ยินแพทย์เตือนให้ทราบว่า...
“ท่านกำลังจะเป็นโรคเบาหวานนะ...”
ถ้าจะพูดตามที่พวกแพทย์เขาพูดกัน  เขาหมายถึง Precursors to
Diabetes หรือก่อนเป็นโรคเบาหวาน  ซึ่งตรงกับคำที่แพทย์เขาบอก
ท่านว่า “ท่านกำลังเป็นเบาหวานนั้นแหละ...."

ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน...
เขาดูกันที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการเจาะตรวจในขณะท้องว่าง
ได้ค่าสูงกว่าปกติ....เกือบถึง 126 mg/dL
แต่ถ้าเมื่อใด  ระดับน้ำตาลวัดได้ 126 mg/dL   แพทย์เขาก็จะบอกว่า
ท่านเป็นโรคเบาหวานเข้าแล้ว....

เพื่อให้ง่ายต่อการจำ  ผลการตรวจเลือดต่อไปนี้  จะบอกให้ท่านทราบ
ว่า  ท่านอยู่ในขั้นกำลังจะเป็นโรคเบาหวาน (prediabetes)

Ø ระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่าง  (FBS) มัค่าระหว่าง
100 – 125 mg/dL (IFG)
Ø ผลการทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินที่มีต่อน้ำตาลที่
คนไข้กินเข้าไป...เสียไป (glucose tolerance test-GT)
โดยเราจะพบว่า  คนที่มีการตอบสนองต่อินซูเลินเสีย  เมื่อตรวจพบ
Fasting blood sugar < 100 mg/dL และรำดับน้ำตาลในเลือดหลัง
การกินน้ำตาล 150 mg ได้ 2 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 140 – 199 mg/dL
(IGT)

Ø ผลการตรวจค่า A1C สูงกว่าปกติ: ค่า A1C เป็นผลของการตรวจหาค่า
เฉลี่ยของการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในช่วง 2 – 3 เดือน
ที่ผ่านมา  คนที่ถือว่าอยู่ในภาวะก่อนเป็นเบาหวานจะมีค่าระหว่าง
5.7 % - 6.4 %
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะก่อนเป็นเบาหวาน:
เราจะพบว่า  ชาวอเมริกันวัยระหว่าง 20s  มีโอกาสตกอยู่ในภาวะของ
ก่อนเป็นเบาวานกันสูง  ทั้งนี้เพราะคนของเขาม้ำหนักตัวเกิน และอ้วน
นั้นเอง  และผลจากการวิจัยบพบว่า  คนที่ตรวจพบ IFG และ IGT
จะมีความเสี่ยงต่อการการโรคเบาหวานประเภทสอง, โรคหัวใจ,
และสมองถูกทำลาย (stroke) สูงขึ้น

กล่าวกันว่า...
คนที่ตกอยู่ในภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) ในระยะยาว 
อาจเกิดการทำลาย (damage) ในระบบหัวใจ และเส้นเลือดได้
ซึ่งผลของการศึกษา  พบว่า  คนเป็นโรคก่อนเป็นเบาหวาน  
มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เป็นสองเท่าของคนปกติ

ยิ่งเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง  หากไม่ได้รับการรักษา  อาจนำไป
สู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวหลายอย่าง  เป็นต้นว่า 
โรคหัวใจ(heartDisease) และสมอง (stroke)   
ซึ่งเป็นเหตุผลเพียงพอให้เราเรียนรู้อาการต่าง ของโรค  รวมไปถึง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค  พร้อมกับปฏิบัติการณ์ป้องกัน  
และให้การรักษาอย่างเหมาะสม.....


ประเด็นที่น่ารู้ในโรคเบาหวาน: P 1: How Diabetes Develops ?

Feb. 25, 2014

อาหารที่ท่านรับประทานกินเข้าไป...
มันจะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล  หรือกลูโกส   ซึ่งเป็นพลังหลักที่สำคัญ
สำหรับมนุษย์ 

ภายในช่องท้อง ใกล้กับกระเพาะอาหาร จะมีตับอ่อน (pancreas) 

ทำหน้าที่ผลิต (สร้าง) ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “อินซูลิน”  มีบทบาทสำคัญ
ในการทำให้น้ำตาลในกระแสเลือด เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย 
 เพื่อให้ใช้เป็นพลังงานต่อไป

ถ้าร่างกายของท่านไม่สามารถผลิต “อินซูลิน” ได้เพียงพอต่อ
ความต้องการ และ/หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ จะเป็นเหตุทำให้น้ำตาลในกระแสเลือเพิ่มระดับ
สูงขึ้น และเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ มันสามารถก่อให้เกิดปัญหา
สองประการ:

1. ประการแรก..เกิดขึ้นทันที นั้นคือ เซลล์ในร่างกายต้องอด
ไม่มีน้ำตาลสำหรับใช้เป็นพลังได้ และ

2. ประการที่สอง... เมื่อเวลาผ่านไป การมีน้ำตาลในกระแส
เลือดในปริมาณสูงๆ อาจทำให้อวัยวะที่สำคัญ ๆ ถูกทำลาย
(damage) เป็นต้นว่า ตา, ไต, เส้นประสาท หรือ หัวใจ

โรคเบาหวานจะถูกแบ่งเป็นสองชนิด: ประเภท 1 (T1D) และประ
เภทที่สอง (T2D) ทั้งสองชนิดอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
จึงเห็นว่า ประวัติครอบครัวว่ามีคนเป็นเบาหวาน จึงทำให้สมาชิค
ในครอบครอบครัวมีความเสี่ยงต่อเป็นโรคเบาหวานได้สูง

NEXT >> P. 2 Type of Diabetes

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เมื่อท่านมีไขมัน Triglyecerides ในกระแสเลือดสูง p. 3: Treatment of severe hypertriglyceridemia

Feb. 25, 2014

ในกรณีที่ตรวจพบว่า...
ไขมัน “ไตรกลัเซอไรด์” ในกระแสเลือดของท่านสูงมากๆ (sever hyper-
Triglyceridemia)  เช่น สูงมากกว่า 500 mg/dL จะต้องได้รับการรักษาทันที
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบของตับอ่อน (pancreatitis)
โดยทั่วไป ยาที่จะให้เป็นตัวแรก คือ  fibrate ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(lifestyle changes)

ในรายที่มีระดับ “ไตรกลีเซอไรด์” ในกระแสเลือดสูง 200 – 500 mg/dL:
การรักษาที่คนไข้ควรเริ่มการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle chages) 
และตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดมีระดับไขมันตัวดังกล่าวสูง  เป็นต้นว่า 
ความอ้วน (obesity), ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (hypiothyroidism)
หรือ โรคเบาหวาน (diabetes)

ถ้ายังปรากฏว่า ผลการตรวจ “ไตรกลีเซอไรด์” ยังสูง
สมาคม NCEP-ATP III ...แนะนำให้ทำการรักษา LDL cholesterol  ก่อน 
ต่อจากนั้นทำการรักษา non-HDL cholesterol ให้ลดสู่เป้าหมาย โดยการใช้ยา statin
ในขนาดที่เหมาะสม  ซึ่งอาจตามด้วยยา fibrates(ถ้าจำเป็น)

การให้ยา fenofibrates ร่วมกับยา statin จะปลอดภัยที่สุด...
ส่วนยา gemfibrozil เมื่อใช้ร่วมกับ statin แล้วมีโอกาสเกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อ
(rhabdomyolysis) ได้

ในปัจจุบันได้รับการยอมรับให้ใช้ omega-3 fish oil เพื่อรักษาภาวะไขมัน
ไตรกลีเซอไรด์สูงได้ และสามารถให้เสริมยา statin ได้

Niacin ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับรักษา...
ซึ่งในปัจจุบันมียารวมรหว่าง Niacin และ simvastatin

สำหรับคนที่มีไขมัน “ไตรกลีเซอไรด์” สูงพอประมาณเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ส่วนไขมันตัวอื่นๆ ยังอยู่ในระดับปกติ...
 NCEP-ATP III ไม่ได้แนะนำอะไรเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม ถ้าระดับไขมัน “ไตรกลีเซอไรด์” มีระดับสูง และ

LDL cholesterol & non-HDL cholesterol มีความเข็มข้นเป็นปกติดี
เราอาจทำการรักษาด้วยยาเพื่อลดระดับ “ไตรกลีเซอไรด์” โดยเฉพาะใน
รายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจจากหลอดเลือด (CVD)
หรือรักษาในรายที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2

<< BACK

www.aafp.org/afp/2011/0201/p242.html

เมื่อท่านมีไขมัน Triglyecerides ในกระแสเลือดสูง p. 2: continued

Feb. 24, 2014

ผลจากการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า....
การมีระดับ “ไตรกลีเซอไรด์” สูง  เป็นปัจจัยเสียงอิสระต่อการเกิด
โรคหัวใจที่มีต้นเหตุจากหลอดเลือด (CVD)   ความเสี่ยงดังกล่าว
ดูเหมือนจะพบเห็นในผู้หญิงได้มากกว่า หรือในคนที่เป็นโรคเบาหวาน

ความเสี่ยงดังกล่าว (ไตรกลีเซอไรด์สูง) ...
ส่วนมากจะพบเห็นในคนที่มีระดับของ LDL-Cholesterol สูง และ HDL cholesterol ต่ำ 
และแม้ว่า ความเสี่ยงจากการเกิดมีระดับของ triglycerides สูง มักจะทำให้ลดลง
โดยการควบคุมระดับ HDL cholesterol ได้ก็ตาม แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่
เหลือก็ยังคงมีเหลืออยู่ดี

จากการศึกษาชิ้นใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่ง  ได้ทำการประเมินความเสี่ยงที่เกิดร่วมกับ
ภาวะไขมัน triglycerides ผิดปกติ   พบว่า ในเพศชายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคได้ 14 % และในหญิงได้ 37 % ในทุก ๆ 88 mg/dL ของระดับไตรกลีเซอรไรดฺ
ที่เพิ่มเหนือกว่าระดับปกติ   ที่เป็นเช่นนี้  เขาให้เหตุผลว่า  การมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
จะมีอนุภาคของสารในกรแสเลือด  ซึ่งทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็ง

จากการตรวจหาไขมันในเลือด...
เราสามารถประเมินหาค่าของอนุภาคที่ทำให้เส้นเลือดเกิดการแข็งตัวได้
โดยคำนวนจากค่าของ non-HDL cholesterol (total cholesterol minus HDL)

สมาคม ...The NCEP Adult Treatment Panel III (ATP III) ได้ชี้แนะให้หาค่า
ของ non-HDL cholesterol ในคนไข้ที่มี Triglycerides สูงกว่า 200 mg/dL
และบางคนได้แนะนำให้ใช้ค่าของ non-HDL cholesterol ในคนไข้ทุกราย  ซึ่งมีความ
สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจากโรคหลอดเลือดตีบตัน (CVD)
จะดีกว่าการใช่ค่า LDL cholesterol

<< BACK

NEXT >> P. 3 continued

เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์ของท่านผิดปกติ P.1 : Should we treat moderately Elevated triglycdrides ?

Feb. 24, 2014

ปกติแล้ว ระดับของไตรกลีเซอไรด็ของคนเราจะมี่ค่า 10 – 70 mg/dL
โดยเฉลี่ยแล้วจะมี่ค่า 30 mg/dL    หากมีค่ามากกว่า 150 mg/dL ถือว่า
ผิดปกติ    และหากค่าระหว่าง 200 – 500 mg/dL  ถือว่ามีค่าสูง (high)
คำถามมีว่า...เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการรักษาภาวะของไตรกลีไรด์
ที่สูงขึ้น ?

เมื่อระดับ “ไตรกลีเซอไรด์” มีค่าสูงกว่า 500 mg/dL...
มันอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบของตับอ่อน (pancreatitis) ได้

มื่อระดับ “ไตรกลีเซอไรด์” อยู่ระหว่าง 200 – 500 mg/dL  โดยเฉพาะ
ไขมันตัวอื่น ๆ มีค่าปกติ จะก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆ หรือไม่นั้น
ปรากฏว่า ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ในคนไข้ที่เป็นโรค familial hypertriglyceridemia (Fredrickson type IV)
ปรากฏว่า   ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจ (cardiovascular disease)

อย่างไรก็ตาม...
คนไข้ที่มีระดับ “ไตรกลีเซอไรด์”  ในระดับผิดปกติ ส่วนมากแล้วพบว่า
ระดับไขมันตัวอื่น ๆ (lipid profiles)  ก็มีค่าผิดปกติด้วยเสมอ
เป็นต้นว่า  LDL cholesterol มีระดับสูง, HDL choesterol มีระดับต่ำ

นอกเหนือไปจากนี้...
คนที่มี “ไตรกลีเซอไรดื” ในกระแสเลือสูง (hypertriglyceridemia) มักจะพบ
ในคนที่มีกลุ่มอาการ “เมทตาบอลิค” (metabolic syndrome)  เป็นตันว่า
 พุงยื่น (abdominal obesity), ความดีนเลือดสูง (hypertension),
เกิดภาวะต่อต้านอินซูลิน (insulin resistance), HDL cholesterol ต่ำ,
ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคหัวใจจากหลอดเลือด
 (coronary heart disease)

จากกรณีดังกล่าว...
“ไตรกลีเซอไรด์” ที่มีระดับผิดปกติ (สูงขึ้น)  ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึง
พฤติกรรมของคนได้เป็นอย่างดี   ซึ่ง มีอาชีพนั่งอยู่กับโต๊ะ (sedentary). ชอบ
รับประทานพวกแป้ง (CHO) เสียเป็นส่วนใหญ่ (high-carbohydrate diets)
และมีน้ำหนักเกิน  หรือเป็นคนอ้วน (obese)


NEXT >> P. 2

เมื่อท่านมีไขมัน “คลอเลสเตอรอล” สูง p.3 : Key for Cholesteral Treatment

Feb. 24, 2014

ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Risk assessment) 
ของคนไข้ ในสมัยก่อน จะพบว่า คำแนะนำเก่า (old guideline) ครอบคลุม
เฉพาะโรคทางระบบหัวใจ-เส้นเลือดเท่านั้น  แต่ในคำแนะนำใหม่ (new guideline) 
ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสมอง (stroke) เข้าไปด้วย

ภายหลังการเสนอให้มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้เป็นหนึ่ง
ในสี่เป้าหมาย   เพื่อนำไปพิจารณาแผนการรักษานั้น ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์ว่า
ผลของการคำนวนที่ได้ เป็นค่าที่เกินความเป็นจริง (overestimating  Risk)...
แต่ผู้เสนอแนวทาง(ใหม่) ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ค่าของการประเมินความเสี่ยงได้ค่า
ที่สูงเกินจริงนั้น เป็นผลดีกับคนไข้   โดยช่วยให้เขามีความกระตือรื้อร้นที่ปรึกษา
แพทย์ว่า...เขาควรปฏิบัติตนเช่นใด...

กลุ่มคนที่เสนอ “แนวทางสำหรับการรักษา” (guideline) ไม่ให้ค่าตัวเลข
ของปัจจัยเสี่ยงเ (Risk Assessment) ป็นการเฉพาะ (จาก risk calculator)...แต่เป็น
เพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการณ์  ว่าจะทำการรักษาอย่างไรเท่านั้นเอง

โดยสรุป... แนวทางที่เสนอให้ทำการรักษาด้วยยา statin (statin therapy)
ให้พิจารณาในคนไข้ 4 กลุ่มต่อไปนี:

1. กลุ่มคนที่ไม่มีโรคหัวใจ (cardiovascular disease) มีอายุระหว่าง
    40 -75 ปี และมี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (hear disease)  หรือสมอง (stroke) 
    ภายใน 10 ปี 7.5 % หรือมากกว่า

2. กลุ่มคนที่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดต่างๆ (heart attack, Stable or 

   unstable angiona, peripheral vascular disease, transient ischemic attack หรือ stroke)

3. กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีระดับของ LDL cholesterol 190 mg/dL 

    หรือสูงกว่า

4. กลุ่มกคนที่เป็นโรคเบาหวานทั้งประเภทหนึ่ง & สอง ซึ่งมีอายุ ระหว่าง 40 – 75 ปี


มีคนไข้บางคน...ไม่พบว่า ไม่มีเข้าข้อใหน ( 1 – 4 ) แต่อาจได้ประโยชน์
จากการใช้ยา statins....การตัดสินใจควรเป็นคนไข้แต่ละรายไป

สำหรับคนไข้ที่ใช้ยา (กินยา) statins...
แนวทางที่เสนอมานั้น ไม่ได้บอกว่าต้องทำให้ระดับของ LDL cholesterol ลดลงสู่
ระดับใดเป็นการเฉพาะ   ซึ่งเป็นประเด็นที่แตกต่างจากที่แพทย์เคย
ทำการรักษามาเป็นเวลานานหลายปี

ผลของการวิจัย ชี้ว่า การลดระดับ LDL cholesterol สามารถลดความเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคหัวใจ (heart disease) และโรคสมอง (stroke) จริง
แต่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า ต้องลดลงถึงระดับใดจึงจะดีที่สุดสำหรับคนไข้

ดังนั้น เราจึงเห็นว่า แนวทางการรักษา จึงเน้นไปที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
(patient’s risk level)  ร่วมกับการให้ยา statin ตามขนาดที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ยาลดไขมันตัวอื่น ๆ เสริมเข้าไป เช่น fibrates และ niacin
ในรายที่ไม่สามารถลด  LDL cholesterol เพราะยาทั้งสองไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อ
การเกิด heart attack หรือ stroke เลย

แนวทางที่ได้นำเสนอไว้...
ยังเสนอให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง  ร่วมกับ
การรักษาด้วยา statin (statin therapy) ซี่งประกอบด้วย การรับประทานอาหารที่ดี
(heart-healthy diet) , ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน,ไม่สูบบุหรี่,
ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินปกติ...

ถ้าท่านทำตามที่เสนอไว้ข้างต้น...
ท่านสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากการเป็นโรคหัวใจ (heartAttack) และ
โรคสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข...

<< BACK:    Part 2

Source: American Heart Association

เมื่อท่านมีไขมัน “คลอเลสเตอรอล” สูง p.2 : Key for cholesterol treatment


Feb. 24, 2014

หน่วยงาน AHA & ACC ได้เสนอแนวทางการปฏิบัติ เพื่อปองกัน
ไม่ให้เกิดโรคหัวใจ (heart disease & stroke) โดยมีเป้าหมาย 4 ประการ
คือ:

o การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle)
o ลดระดับไขมัน cholesterol
o ลดความอ้วน (obesity) และ
o ประเมินความเสี่ยง (risk assessment)

แนวทางทั้ง 4 ที่เสนอมานั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แพทย์นำไปพิจารณา
ในการรักษา ...ให้คำนึงถึงสุขภาพโดยรวมของคนไข้เป็นสำคัญ   และจาก
ข้อเสนอแนะดังกล่าว ได้เป็นต้นเหตุให้มีคนชาวอเมริกันเป็นจำนวนไม่น้อย
หันมาใช้ยา statins กันมากขึ้น   โดยหมอส่วนใหญ่ จะสั่ง statins  ให้แก่คนไข้
โดยคำนึงพิจารณาค่าLDL cholesterol ในกระแสเลือดเป็นสำหลัก

แต่ตามเป็นจริงมีว่า  เขาต้องการให้มีการพิจาณาปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นด้วย
ไม่เพียงแต่ให้ความสนใจแต่ค่าของ cholesterol เพียงอย่างเดียว  เป็นต้นว่า
ให้พิจารณาเรื่อง  อายุ, เพศ, เชือ้ชาติ,  การสูบบุหรี,  ความดันเลือดสูง
(มีได้รับการรักษหรือไม่?) , โรคเบาหวาน ?  ตลอดรวมถึงระดับของ
 “คลอเลสเตอรอล” ในกระแสเลือด

ไม่เพียงแต่ที่กล่าวมาเท่านั้น...
แพทย์ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ อีก  เช่นประวัติทางครอบครัวด้วย เป็นต้น

ภายหลังการประเมินถึงปัจจัยเสี่ยงตามที่กล่าวแล้วเท่านั้น แพทย์จึงสามารถ
ตัดสินใจว่า   คนไข้ควรได้รับการรักษาอย่างใดจึงดีที่สุดสำหรับคนไข้
ในแต่ละราย

จากข้อความที่เสนอไปนั้น เป็นเหตัให้แพทย์ส่วนใหญ่เปลี่ยความคิด
จากการพิจารณาระดับ cholesterol เพียงอย่างเดียว แต่ได้ไปพิจารณา
ปัจจัยอย่างอื่นก่อนที่จะให้การรักษาคนไข้ว่า...เขาจำเป็นต้องได้รับยา
Statin หรือไม่ ?

จากสถิติของสหรัฐฯ...
แพทย์เขาเชื่อว่า ประชาชนวัยผู้ใหญ่ประมาณหนึ่งในสาม
จะได้รับประโยชน์จากการใช้ statin เพื่อรักษาภาวะไขมันคลอเลสเตอรอล
ที่ผิดปกติ  เพือป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ และสมอง  และในจำนวนนี้
ยังได้รวมถึงคนที่เคยเป็นโรคหัวใจ และสมอง(heart disease & stroke) มาก่อน
(secondary prevention)

นอกจากนั้น กลุ่มคนที่ไม่เคยมีอาการของโรคหัวใจ และสมองมาก่อน...
แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (cardiovascular disease) และสมอง (stroke)
โดยพิจารณาจาก  Risk Assessment calculator แล้วพบว่า  เขามีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคดังกล่าวภายใน 10 ปี อย่างน้อย 7.5 % ควรได้ับการพิจารณาป้อง
กันด้วยยา (primary prevention)


<< BACK: Part 1

 NEXT >> Part 3

เมื่อท่าน“คลอเลสเตอรอล” สูง p.1 : Key for cholesteral Treatment)

Feb. 24, 2014

ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้...
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “คำแนะนำ” สำหรับการป้องกัน 
ไม่ให้เกิดโรคหัวใจ และสมอง (heart disease & stroke) ซึ่งได้
เสนอขึ้นใหม่โดยlสมาคม- The American Association & American
College of Cardiology

เมื่อหน่วยงาน- American Heart Association และ American
College of Cardiology ได้เสนอ “แนวทางใหม่” เพื่อให้แพทย์นำไป
พิจารณา  เพื่อการป้องกันไม่ให้คนเกิดเป็นโรคหัวใจ และเส้นเลือด และ
สมองถูกทำลายจากการขาดเลือด  แต่ผลปรากฏว่า มีการใช้ยา statins
กันมากขึ้น...ซึ่งไมเป็นไปตามเป้าหมายของผู้นำเสนอ “คำแนะนำ”
โดยกล่าวว่า...

โดยเขากล่าวว่า...
"การใช้ statins เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถลด
อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และสมอง (heart attack& stroke)”

Mariell Jessup, M.D. จาก American Heart Association กล่าวว่า...
“เป้าหมายของการเสนอคำแนะนำ...มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้คนชาวอะเมริกัน 
ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจ และสมอง (heart disease & stroke)...
โดยหวังให้คนเขามีชีวิตยืนยาว และ มีสุขภาพสมบูรณ์ดี”

โดยชี้แนะว่า...
ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยารักษ "คลอเลสเตอรอล"  ควรทำการปรึกษาแพทย์
ถึงผลดี และผลเสียก่อน ก่อนที่จะมีการใช้ยา statins จะต้องมีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม (lifestyle changes) เสี่ยก่อน

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ (heart disease & สมอง (Strokes)
มีแนวทาง 4  ประการ ให้เป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งได้แก่:

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestyle changes)
2. ระดับคลอเลสเตอรอล (Cholesterol)
3. ความอ้วน (Obesity)
4. ประเมินปัจจัยเสี่ยง (Risk assessment)


NEXT >> Part 2

เมื่อต้องจัดการกับ“คลอเลสเตอรอล” ด้วยยา P. 6: Omega-3 Fatty Acid

Feb. 23, 2014

ไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ omega-3 และ omega-6 fatty Acids
และอาหารที่สามารถให้ omega 3-fatty acids
อาหารต่างๆ ที่มี omega-3 fatty acids ได้แก่น้ำมันปลา  (fish Oil)
และพืชบางชนิด และน้ำมันที่ได้จากผลเปลือกแข็ง (nut)
ส่วน omega-6 fatty acids สามารถพบได้ในปาล์ม, ถั่วเหลือง,
และน้ำมันทานตะวัน

น้ำมันปลา (Fish oil) มี omega-3 fatty acids สองตัว ซึ่งได้แก่:
Docosahexaenoic acid (DHA) และ eicosapentaenoic acid (EPA)

ผลไม้เปลือกแข็ง (nuts), g, เมล็ดพืช, และน้ำมันพืช จะมี
Aicosapentaenoic acid (EPA) ซึ่งอาจทำให้เปลี่ยนเป็น DHA และ
EPA ในร่างกาย

มีรายงานว่า Omega-6 fatty acids มีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ (heart disease)
และอาการซึมเศร้า (depression) และทำให้ระดับของ choesterol
อยู่ในระดับที่ดีขึ้น

ผลจากการศึกษาพบว่า การกิน omega-3 จะเกิดผลดีต่อคนที่เป็นมะเร็ง,
อาการซึมเศร้า และภาวะสมาธิสั้น( ADHD หรือ attension-deficit
hyperactivity disorder)   ดังนั้น จึงทำให้น้ำมันปลาซึ่งมี omega-3 Fatty acids
ได้กลายเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมกันสูงมาก

มีหลักฐานยืนยันว่า การรับทานน้ำมันปลา (fish oil) ในรูปแบบอาหารเสริม
ซึ่งมี DHA & EPA อาจลดระดับ triglycerides และ ลดอัตราเสี่ยงต่อ
การเกิด heart attack, การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และสมองถุกทำลาย (stroke)
ซึ่งเกิดในคนที่เป็นโรคหัวใจมาก่อน

DHA & EPA อาจมีประโยชน์ต่อคนที่มีเส้นเลือดแดงแข็งตัว หรือในรายที่
มีความดันเลือดสูง แต่หากกินในขนาดสูง อาจเกิดผลเสียได้
เช่น ทำให้เกิดมีเลือดออกเพิ่มขึ้น, ทำให้ lDL cholesterol สูงขึ้น,
ก่อให้เกิดปัญหาด้านควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด


<< PREVIOUS  P. 5 : Fibrates


SOURCE: American Heart Association

เมื่อต้องจัดการกับ“คลอเลสเตอรอล” ด้วยยา P. 5: Fibrates (fibric acid derivatives)

Feb. 23, 2014

Fibrates เป็นสาร (ยา) ที่ดีสำหรับลดระดับtriglycerides และใน
บางรายสามารถเพิ่มระดับ HDL cholesterol ได้
แต่จะไม่สามารถลด LDL cholesterol ลงได้เลย และยาตัวนี้ส่วน
ใหญ่จะนำมาใช้ในคนที่มี triglycerides สูง หรือรายทีมี HDL-C  ต่ำ
โดยให้เมื่อทำให้ LDL cholesterol ลดลงสู่ระดับปกติแล้ว

Fibrates เป็นยาที่ลด triglycerides (bad fats) ได้ดีที่สุด
ไม่เพียงเท่านั้น fibrates ยังทำให้ HDL choleserol ให้สูงขึ้น
และ เราอาจใช้ fibrates ร่วมกับ statins เพื่อการรักษา

ยาในกลุ่ม Fibrates ที่มีใช้ในปัจจุบันได้แก่:

o Gemfibrozil (Lopid®)
o Fenofibrates (Antara®, lofibra®, Tricor® และ Triglide™)
o Clofibrate (Arromid-S®)


<< PREVIOUS    P.4: Resins

 NEXT >> P. 6 :Niacin (nicotinic acid)

เมื่อต้องจัดการกับ“คลอเลสเตอรอล” ด้วยยา P. 4: Resins (known as bile acid requestant or bile acid-binding drugs)

Feb. 23, 2014

Niacin เป็น B vitamin พบได้ในอาหาร และในอาหารเสริมที่ประกอบ
ด้วยไวตามินรวม (multivitamin supplements)

ยาในกลุ่มนี้ เป็นยาลดไขมัน cholesterol โดยการออกฤทธิ์ที่บริเวณ
ลำไส้ ด้วยการช่วยเพิ่มการกำจัดเอา cholesterol

โดยปกติ ร่างกายของคนเราจะใช้ cholesterol เพื่อสร้างน้ำดี
ซึ่งเป็นสารที่ถูกใช้ในกระบวนการย่อยอาหาร

Niacin มันจะรวมตัวกับน้ำดี (bile) ทำให้สารดังกล่าว
ไม่สามารถูกใช้ในกระบวนการย่อยอาหาร เป็นเหตุให้ตับมีการสร้าง
น้ำดี (bile) เพิ่มมากขึ้น เมื่อตับต้องสร้างน้ำดีมากขึ้น ยิ่งมีการใช้
ไขมันคลอเลสเตอรอลมากขึ้น เป็นเหตุให้ “คลอเลสเตอรอง” ที่ไหล
เวียนในกระแสเลือดลดน้อยลง

เมื่อให้ในขนาดสูง (high doses) สามารถลดไขมัน triglycerides
และเพิมไขมันดี HDl cholesterol
แพทย์อาจให Niacin แก่คนที่มีระดับไขมัน triglycerides ในกระแสเลือด
ในปริมาณสูง

ผลเสียที่เกิดจากสาร niacin...
สามารถทำให้เกิดหน้าแดงได้ (flushing) แต่ในปัจจุบันนี้ มียาหลาย
ตัวสามารถลดผลข้างเคียงดังกล่าวได้ และการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
สามารถช่วยลดอาการหน้าแดงได้

เราไม่ควรใช้ niacin ในคนที่มีอาการทางกระเพาะ...เช่น ปวดท้อง,
กระเพาะเป็นแผล เพราะยาดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้อง
ได้ และควรตรวจการทำงานของตับเป็นระยะด้วย..

Resins ที่มีใช้ในสปัจจับัน ได้แก่:

o Choestyramine (Questran®, Questran® light, Prevalite®)
o Colestipol (Colestid®)\
o Colesevelam HCl (Welchol®)


<< PREVIOUS: P3: Selective cholesterol absorption inhibitors

 NEXT >> P. : P. 4 :Fibrates (fibric acid derivatives)

เมื่อต้องจัดการกับ“คลอเลสเตอรอล” ด้วยยา P. 3: Selective cholesterol absoption inhibitors


Feb. 23, 2014

ยาในกลุ่มนี้ ถือเป็นหลุ่มใหม่    ซึ่งถูกนำมาใช้ลดไขมัน (cholesterol-
Lowering medications) โดยออกฤทธิ์ด้วยการป้องกันไม่ให้สาร
คลอเลสเตอรอล ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้

Selective cholesterol absorption inhibitors เป็นยาที่ที่สามารถลด
ไขมัน LDL choesterol ได้ดี และอาจลดระดับ triglycerides
ซึ่งเป็นไขมันเลว (bad fats) และสามารถเพิ่ม HDL cholesterol ได่

ยาในกลุ่มได้แก่ ezetimbibe (Zetia®)
ซึงได้รับการยอมรับให้นำมาใช้รักษา คลอเลสเตอรอล ในกระแส
เลือดสูง ตลอดรวมถึงบางรายที่มีระดับไขมันคลอเลสเตอรอลสูง
โดยมีมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม


<< PREVIOUS  P. 2: Statins

 NEXT >> P. 4:  Resins

เมื่อต้องจัดการกับ“คลอเลสเตอรอล” ด้วยยา P. 2: Statins (HMG CoA Reductase inhibitors)

Feb. 23, 2014

Statins (HMG CoA reductase inhibitors) เมื่อเรากินเข้าไป...
มันจะไปออกฤทธิ์ที่ตับ (liver) ด้วยการทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีการ
สร้าง cholesterol ขึ้นได้

Statins เป็นยาที่ใช้ลดระดับ LDL cholesterol ได้ดีที่สุด และสามารถ
ลดไขมัน triglycerides (bad fats) ได้พอประมาณ
และยังสามารถเพิ่มระดับไขมันดี HDL cholesterol ให้สูงขึ้นได้อีกด้วย

ภายใต้ประโยชน์ที่พึงได้จรับจากยา statins...
ผลอันไม่พึงประสงค์จากผลข้างคียงก็มีเช่นกัน   แต่มีได้ไม่มากนัก
เมื่อร่างกายปรับตัวได้ ผลอันไม่พึงประสงค์จะหายไปเอง

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ และตับอาจเกิดขึ้นได้...แต่พบได้น้อย
แต่ไม่ควรชะล่าใจ....เราจำเป็นต้องทำการตรวจการทำงานของตับอย่าง
สม่ำเสมอ (regular check up)  และ ในสตรีที่กำลังตังครรภ์
หรือท่านที่เป็นโรคตับเรื้อรัง (chronic liver disease) ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้

ยากลุ่ม Statins ที่มีใช้ในปัจจุบัน:

o Atorvastatin (Lipitor®)
o Fluvastatin (Lescol®)
o Lovastatin (Mevascor®)
o Pravastatin (Pravaschol®)
o Rosuvastatin Calcium (Crestor®)
o Simvastatin (Zocor®)

นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า มีการเอายาหลายขนานมารวมในเม็ดเดียว
กัน ที่ควรทราบได้แก่:

o Advicor® ( lovastatin+niacin)
o Caduet® (atorvastatin + amlodipine) และ
o Vitorin™ (simvastatin + exetimibe)


<<< PREVIOUS:  P.1 Drugs therapy for cholesterol

 NEXT >>> P. 3 : Selective cholesterol absorption inhibitors