Feb. 24, 2014
ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (Risk assessment)
ของคนไข้ ในสมัยก่อน จะพบว่า คำแนะนำเก่า (old guideline) ครอบคลุม
เฉพาะโรคทางระบบหัวใจ-เส้นเลือดเท่านั้น แต่ในคำแนะนำใหม่ (new guideline)
ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสมอง (stroke) เข้าไปด้วย
ภายหลังการเสนอให้มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้เป็นหนึ่ง
ในสี่เป้าหมาย เพื่อนำไปพิจารณาแผนการรักษานั้น ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์ว่า
ผลของการคำนวนที่ได้ เป็นค่าที่เกินความเป็นจริง (overestimating Risk)...
แต่ผู้เสนอแนวทาง(ใหม่) ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ค่าของการประเมินความเสี่ยงได้ค่า
ที่สูงเกินจริงนั้น เป็นผลดีกับคนไข้ โดยช่วยให้เขามีความกระตือรื้อร้นที่ปรึกษา
แพทย์ว่า...เขาควรปฏิบัติตนเช่นใด...
กลุ่มคนที่เสนอ “แนวทางสำหรับการรักษา” (guideline) ไม่ให้ค่าตัวเลข
ของปัจจัยเสี่ยงเ (Risk Assessment) ป็นการเฉพาะ (จาก risk calculator)...แต่เป็น
เพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการณ์ ว่าจะทำการรักษาอย่างไรเท่านั้นเอง
โดยสรุป... แนวทางที่เสนอให้ทำการรักษาด้วยยา statin (statin therapy)
ให้พิจารณาในคนไข้ 4 กลุ่มต่อไปนี:
1. กลุ่มคนที่ไม่มีโรคหัวใจ (cardiovascular disease) มีอายุระหว่าง
40 -75 ปี และมี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (hear disease) หรือสมอง (stroke)
ภายใน 10 ปี 7.5 % หรือมากกว่า
2. กลุ่มคนที่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดต่างๆ (heart attack, Stable or
unstable angiona, peripheral vascular disease, transient ischemic attack หรือ stroke)
3. กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีระดับของ LDL cholesterol 190 mg/dL
หรือสูงกว่า
4. กลุ่มกคนที่เป็นโรคเบาหวานทั้งประเภทหนึ่ง & สอง ซึ่งมีอายุ ระหว่าง 40 – 75 ปี
มีคนไข้บางคน...ไม่พบว่า ไม่มีเข้าข้อใหน ( 1 – 4 ) แต่อาจได้ประโยชน์
จากการใช้ยา statins....การตัดสินใจควรเป็นคนไข้แต่ละรายไป
สำหรับคนไข้ที่ใช้ยา (กินยา) statins...
แนวทางที่เสนอมานั้น ไม่ได้บอกว่าต้องทำให้ระดับของ LDL cholesterol ลดลงสู่
ระดับใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นประเด็นที่แตกต่างจากที่แพทย์เคย
ทำการรักษามาเป็นเวลานานหลายปี
ผลของการวิจัย ชี้ว่า การลดระดับ LDL cholesterol สามารถลดความเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคหัวใจ (heart disease) และโรคสมอง (stroke) จริง
แต่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า ต้องลดลงถึงระดับใดจึงจะดีที่สุดสำหรับคนไข้
ดังนั้น เราจึงเห็นว่า แนวทางการรักษา จึงเน้นไปที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
(patient’s risk level) ร่วมกับการให้ยา statin ตามขนาดที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ยาลดไขมันตัวอื่น ๆ เสริมเข้าไป เช่น fibrates และ niacin
ในรายที่ไม่สามารถลด LDL cholesterol เพราะยาทั้งสองไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อ
การเกิด heart attack หรือ stroke เลย
แนวทางที่ได้นำเสนอไว้...
ยังเสนอให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ร่วมกับ
การรักษาด้วยา statin (statin therapy) ซี่งประกอบด้วย การรับประทานอาหารที่ดี
(heart-healthy diet) , ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน,ไม่สูบบุหรี่,
ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินปกติ...
ถ้าท่านทำตามที่เสนอไว้ข้างต้น...
ท่านสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากการเป็นโรคหัวใจ (heartAttack) และ
โรคสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด (stroke) และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข...
<< BACK: Part 2
Source: American Heart Association
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น