วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มาเรียนรู้เรื่องความดันเลือดกันดีไหม ? P. 8: Hypertensive Urgency

Jan. 27, 2014

ความดันเลืดดสูงวิกฤติ หรือ Hypertensive Urgency...
เราหมายถึงภาวะความดันเลือดสูง,มาก (อย่างรุนแรง)  โดยความดันตัวบน
Sytolic pressure วัดได้ 180 หรือสูงกว่า หรือความดันโลหิตตัวล่างวัดได้
110 หรือสูงกว่า...โดยไม่มีการทำลายอวัยวะใด ๆ
       
คนที่เป็นความดันเลือดสูงวิกฤติ hypertensive urgency อาจมีอาการ
เพียงอย่างเดียว หรือมีอาการหลายอย่างดังต่อไปนี้ได้:

 ปวดศีษะอย่างรุนแรง (Severe headache)
 หายใจหอบ (Shortness of breath)
 เลือดกำเดาออก (Nosebleeds)
 มีความกระวนกระวายอย่างหนัก (Severe anxiety)

ในการรักษาภาวะความดันเลือดสูงวกฤติ (Urgency) จำเป็นต้องได้รับการปรับ
และเพิ่มขนาดของยารักษาความดันชนิดกิน และส่วนมากไม่จำเป็น
ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล  เพื่อลดระดับความดันให้ลดลงอย่างรวดเร็ว

ที่สำคัญ คนที่มีระดับความดันสูง และอ่านได้ 180/110 หรือสูงกว่า
สมควรได้รับการตรวจอย่างรีบด่วน เพราะการตรวจดูการทำงานของอวัยวะ
และระดับความดันเลือดสูงขึ้น มี่ความสำคัญต่อการพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม

Hypertensive Emergency
ความดันโลหิตสูงวิกฤติ หมายถึงภาวะความดันเลือดสูงถึงระดับที่ทำให้
อวัยวะภายในถูกทำลาย (damage)   ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อความดันเลือดตัว
บน (systolic) ได้สูงเกิน 180 หรือความดันตัวล่าง (diastolic) สูงเกิน 120....
แต่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อความดันโลหิตอาจต่ำกว่านี้ได้
โดยที่คนๆ นั้นไม่เคยมีความดันเลือดสูงมาก่อนได้

ผลต่างๆ ที่เกิดจากการไม่รักษาความดันโลหิตสูงในระดับดังกล่าว
สามารถก่อให้เกิดความรุนแรงได้ดังต่อไปนี้:

 ภาวะสมองขาดเลือด (stroke)
 สูญเสียความรู้สึกตัว (Loss of consciousness)
 กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด (Heart attack)
 สูญเสียความทรงจำ (Memory loss)
 มีการทำลายตา และไต (Damage to the eye and kidneys)
 ไตสูญเสียการทำงาน (Loss of kidney function)
 หลอดเลือดเอออติคฉีกขาด (aortic dissection)
 เจ็บหน้าอก Angina (Unstable chest pain)
 ปวดบวม (Pulmonary edema (มีเลือดคั่งในปอด)
 มีอาการชักร่วมกับความดีนเลือดสูง (Eclamsia)

ถ้าท่านมีความดันเลือดสูง ตัวบน (systolic) อ่านได้ 180 หรือสูงกว่า
หรือความดันตัวล่าง (diastolic) อ่านได้ 110 หรือสูงกว่า   และมีอาการ
บ่งบอกว่า  มีการทำลายอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เจ็บหน้าอก, หาย
ใจหอบ, ปวดหลัง, มีอาการชา/ อ่อนแรง, สายตาเปลี่ยนแปลงไป, พูด
ลำบาก....

ในกรณีเช่นนี้ ท่านอย่าได้รีรอปล่อยให้ความดันเลือดลดลงได้เองเป็นอันขาด
ท่านจะต้องไปพบแพทย์ อย่างรีบด่วนที่สุด   และหากท่านไม่สามารถไป
พบแพทย์ได้เอง ท่านควรให้ใครสักคนพาท่านไปโรงพยาบาล
เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


PREVIOUS SECTION                                          NEXT   SECTION
P. 7.: When does HBP require           P. 9: When is blood pressure
emergency medical treatment               too low ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น