วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยารักษาความดันเลือดสูง: P. 1: Types of Blood Pressure Medication

Feb. 14, 2014

ถ้าท่านมีโอกาสได้ดูรายชื่อของยา  ที่แพทย์นำมาใช้รักษาความดันเลือดสูง...
ปรากฏว่า  มียาหลายขนานให้แพทย์สามารถเลือกใช้ตามอัธยาศัย
ทำให้นึกถึงถุงกอล์ฟ ที่บรรจุไม้หวดลูกกอล์ฟ  โดยมีำจำนวนมากกว่า 10  อัน...
ซึ่งผู้เช่นกอล์ฟเป็นทุกคน  ต่างรู้ดีว่า จะใช้ไม่ตีกอล์ฟแต่ละอันในสถานการณ์ใด

ในการใช้ยารักษาความดันเลือดสูง  ก็เป็นเช่นเดียวกัน
แพทย์ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการใช้ยาดังกล่าว  จะต้องรู้ว่า  จะใช้ยาแต่ละตัว
เมื่อใด  และยังรู้อีกว่า  ยาแต่ละตัวมีจุดด้อย จุดเด่น (ผลดี &ผลเสีย) อย่างไร...

ความรู้คืออำนาจ....
ในฐานะที่เราเป็นคนไข้โรคความดัน  เราย่อมมีสิทธ์ที่จะเรียนรู้ว่า  ยาที่แพทย์ให้
เรากินนั้นเป็นอย่างไร....คงไม่เกินความสามารถของเราในการเรียนรู้ได้...

กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคความดันเลือดสูง ประกอบด้วย:
                     
Diuretics:
ยาในกลุ่มนี้ จะช่วยทำหน้าที่กำจัดเอาโซเดียม (เกลือ) และน้ำส่วนเกินออก
จากร่างกายไป  และช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้ลดต่ำลง
ในการใช้ยาหลุ่มนี้   โดยทั่วไปมักจะถูกใช้ร่วมกับยาลดความดันตัวอื่น

ที่เราควรรู้ได้แก่:

o chlorthalidone (Hydroton®)
o chlorothiazied (Hygroton®)
o furosemide (Lasix®)
o hydrochlorothiazide (Edidrix®)
o indapamide (Lozol®)
o metolazone (Mykrox®)

Potassium-sparing diuretics:
o Amiloride hydrochloride (Midamar®)
o Spinronolactone (Aldactone®)
o Triamterene (Dyrenium®)

Loop diuretics:
o Bumetanide (Bumex®)

Combination diuretics:
o Amiloride hydrochloride
+ hydrochlorothiazide ( Moduretic®)
o Spironolodactone + hydrochorothiazide (aldactazide®)
o Triamterene + hydrochlorithiazide (Dyazide®)

ในกลุ่ม diuretics...
พบว่ามียาบางขนานทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุ “โปแตสเซี่ยม” ไป
เป็นเหตุให้ระดับของสารดังกล่าวลดต่ำลง  ซึ่งทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น
เช่น อ่อนแรง (wekness), เกิดตะคริวของกล้ามเนื้อขา (leg cramps),
หรือรู้สึกเหนื่อย (tired)

การรับประทานอาหารที่มี Potassium อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ
โปแตสเซี่ยมได้  หรือในกรณีที่แพทย์สั่งยาขับปัสสาวะชนิดที่ทำให้เกิดการสูญ
เสียโปแตสเซียม  ท่านสามารถป้องกันได้ ด้วยการกินยา (น้ำ หรือเม็ด)
ซึ่งมี่ส่วนประกอบ โปแตสเวี่ยม   โดยให้ควบคู่ไปกับยาขับถ่ายปีสสาวะ....

ยาขับปัสสาวะที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียโปแตสเซี่ยม
ซึ่งมีชื่อเรียก Potassium-sparing agents เช่น amiloride (Midamar®), Spironolactone
(Aldactone®), หรือ triamterene (Dyrenium®)  เป็นยาที่สามารถที่สามารถให้เพียง
ชนิดเดียโดดๆ   หรือให้ร่วมกับยาขับถ่ายปัสสาวะตัวอื่นๆ ในลักษณะยาผสม
(combination)   ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ เป็นต้นว่า...Aldactazide®, Dyazide®,
Maxzide® หรือ Moduretic®

มีคนไข้ที่เป็นโรคเก๊ามาก่อน...
การกินยาขับปัสสาวะ  สามารถทำให้คนไข้เกิดมีอาการปวดข้อได้อย่างฉับพลันได้
ต้องระวัง !

ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
การใช้ยาขับปัสสาวะ (diuretic) อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้สูงขึ้น
ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนยาเม็ดลดระดับน้ำตาล, อาหาร,  อินซูลิน

สุดท้าย...สำหรับท่านผู้สูงวัย...
ขอให้ทาบว่า  ยาขับถ่ายปัสสาวะ (diuretic) ที่ท่านกำลังใช้ลดความดันเลือดของ
ท่านอยู่นั้น  สามารถทำให้เกิดภาวะหมดสมรรภาพทางเพศได้...
ซึ่งหากเกิดขึ้นกับท่าน  ท่านเพียงแต่บอกให้แพทย์เปลี่ยนยาใหม่ให้แก่ท่าน

NEXT  >> P. 2: Beta-blockers

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น