วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย ....P.5 : Inhibitors

Jan. 25, 2014

Inhibitors:

การยับยั้ง (inhibit) ฤทธิ์ของเอ็นไซม์ CYP isozyme ...
ถือเป็นต้นตอที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาของยารักษาที่คนไข้ใช้รักษา
ซึ่งนำไปสู่การเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

รูปแบบของการยับยั้งที่พบได้บ่อยที่สุด คือการแย่งชิงอำนาจในการออก
ออกฤทิ์ของยาตัวเดียวกัน โดยมียาบางตัวสามารถยับยั้งฤทธิ์ของเอ็นไซม์
ที่ตนเองไม่ได้เป็น substrates ของเอ็นไซม์ตัวนั้นเลย

ยกตัวอย่าง ketoconazole ซึ่งนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์
จากปฏิกิริยาของยาได้

มีสารหลายตัวสามารถยับยังฤทธิ์ของ enzymes ได้มากกว่าหนึ่งตัว
ด้วยการยับยั้งไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวิภาพของยา wararin
ยกตัวอย่าง... omeprazole เป็นสารที่มีฤทธิ์สูงในด้านยับบั้งเอ็นไซม์ 3 ตัว
ที่มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของยา warfarin

ถ้าหากมีการกินยาสองตัวพร้อมกัน จะทำให้ความเข้มข้นของ warfarin
ในกระแสเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปัองกันไม่ให้มีการจับตัวของ
เม็ดเลือด (inhibition of coagulation) เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการ
มีเลือดออกได้...

(ยาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP ที่สำคัญ คือ erythromycin, ketoconazole,
และ ritonavir...เป็นยาที่สามารถยับยั้งเอ็นไซม์ได้หลายตัว...)

ยา Cimetidine สามารถบล๊อกเมทตาบอลิซึมของยา theophylline,
clozapine, และ warfarin

สารที่มีตามธรรมชาติก็สามารถยับยั้งเมทตาบอลิซึมของยาได้...
เช่น Grapefruit juice  สามารถยับยั้งเอ็นไซม์ CYP3A4  และเนื่องจากมียา
หลายตัวที่เป็น substrates หรือถูกกระทำให้เกิดการเปล่ยนแปลงทางเคมี
โดยของเอ็นไซม์ตัวนี้ (CYP3A4) ซึ่ง ได้แก่ amlodipine, clarithromycin,
และ indinvir.

ดังนั้น เมื่อมีการกินพวก grapefruit juice ร่วมกับยาดังกล่าว...
จะเป็นเหตุให้มีความเข็มข้นของยาในกระแสเลือดในปริมาณสูงเกินความ
ต้องการด้านรักษา  หรือ เป็นเหตุให้เกิดพิษของยาได้

การเกิดพิษาจากการยับยั้ง “เมทตาบอลิซึม” ของยา อาจไม่เกิดทันที
แต่จะเป็นการเพิ่มปริมาณของยาในเลือดอย่างช้าตามเวลาที่ผ่านไป  และ
ก่อให้เกิดผลของยาในระยะยาวได้

PREVIOUS SECTION: P. 4: Inducers

NEXT SECTION:   P. 6 Phase I Reactions not involving the P450 system:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น