วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Parkinson’s disease (6): coping and support

(Cont.)

ในเมื่อมนุษย์เราต้องยืนอยู่บนโลกอย่างสง่าผ่าเผย...
และแม้ว่า เราจะเป็นโรคอะไรก็ตาม โรคที่รักษาหายได้ ให้เป็นหน้าทีของแพทย์เขา
ส่วนโรคที่รักษาไม่หายละ...เราจะทำอย่างไร ?
โดยเฉพาะเราดันเป็นโรคนั้นซะด้วยซิ...

สิ่งที่เราสามารถกระทำได้ หรือพยายามที่จะกระทำ คือ ทำให้โรคนั้นมันเชื่องลง...
หากจะเปรียบเปรย....ก็คือ ทำให้เสือตัวนั้น (โรค) เชื่องเหมือนแมวเสีย...
นั่นเป็นหน้าที ของท่านต้องกระทำ- ศึกษาหาวิธีการร่วมกับแพทย์... ว่าจะทำอย่างไร ?

คนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” จะรับมือกับโรคดังกล่าวอย่างไร ?

แม้ว่า PD’s จะเสื่อมลงอย่างเนื่อง สุดท้าย มันจะกระทบ กับวิถีชีวิตของมนุษย์ใน
ทุกแง่มุม เช่น สังคมรอบตัว การบ้าน การเรือน และงานประจำทั้งหลาย คนไข้จะต้อง ยอมรับมันเสียก่อนว่า มันเป็นกับเราแล้ว


การมีชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรัง เป็นเรื่องที่ยากลำบากยิ่ง
เมื่อมันเกิดกับใครแล้ว มันจะทำให้คน ๆ นั้นเกิดความรู้สึหลายอย่าง “ขี่โมโห” “หงุดหงิด” “หมด อาลัยตายอยาก” และอื่น ๆ

ที่เป็นเช่นนั้น มันก็มาจากมปัญหาเกิดขึ้นในสมองของเขา มันมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี ในตัวสมองนั้นเอง ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคเกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา

ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ เป็นบุคคลสำคัญ ที่จะให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน (กาย และจิตใจ)

กลุ่มสนับสนุนอื่น ๆ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครหมู่บ้าน นักสังคมสงเคราะห์ นักสังคม...ตลอด รวมถึงเจ้าหน้าที่พยาบาล และแพทย์ ต่างมีบทบาทต่อการให้ความช่วยเหลือแก่คนไข้ได้
การอยู่ใกล้กลุ่มคนเหล่านี้ น่าจะมีประโยชน์ต่อคนไข้ในหลายด้านอย่างแน่นอน

มีคำถามว่า เราสามารถป้องกันไม่ให้คนเป็นโรค “พาร์กินสัน” ได้หรือไม่ ?

เวลาเราตั้งคำถามอะไรก็ตามแต่ คำตอบ ที่ออกมา ไม่ตรงกับที่ท่านต้องการ
ทานจะรู้สึกอย่างไร ?

นักวิทยาศาสตร์หลายนาย เชื่อว่า การเกิดโรค “พาร์กินสัน” นั้น เกิดจากการกระตุ้นผ่าน กระบวนการอันซับซ้อนของพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น สารพิษ (toxins) โรคภัยไข้เจ็บ (illness) และบาดเจ็บ (trauma)

นั่นเป็นความเชื่อของพวกเขา
แต่จริงแล้ว เราไม่ทราบสาเหตุของมัน และประการสำคัญ เราไม่มีทางป้องกันโรคดังกล่าว ได้เลย

ความรุนแรงขอโรค พาร์กินสัน โดยดูจากอาการแสดงที่ปรากฏ แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก บางคนเป็นมาก บางคนมีอาการน้อย
ประการสำคัญ เราไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า แต่ละรายจะเสื่อมลงเร็วแค่ใด ไม่มีใครตอบได้
ตัวโรค “พาร์กินสัน”เอง ไม่ใช้ตัวโรคที่ทำให้คนไข้ตาย หรอก
หากจะถามว่า คนไข้ประเภทนี้มีอายุยืนยาวเท่าไร ?
คำตอบ ก็คือ ยืนยาวเหมือนคนปกตินั้นแหละ
แต่....แต่คนไข้พวกนี้ มักจะมีแนวโน้ม เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น หกล้ม กระดูกแตกหัก กระดูกเปาะบาง ผ่าไม่ได้ ต้องนอนเตียงนาน เป็นเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น
เกิดโรคปอดอักเสบ (pneumonia) สำลัก หายใจติดขัด.....ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ สามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้

Parkinson’ disease at a glance

• โรค “พาร์กินสัน” เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่เสื่อมไป มีการสูญเสียเซลล์สมอง ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตสาร dopamine เป็นเหตุให้ motor function เสียไป

• อาการเริ่มแรก ได้แก่ อาการสั่นระรัว, ข้อแข็ง, เคลื่อนไหวช้า, สูญเสียการทรงตัว, สุดท้ายจะเดินแบบ parkinson’s gait (เดินขาลาก, ช้า, ลำตัวงองุ้มไปข้างหน้า , ไม่แกว่งแขน)

• มีอาการ secondary symptoms เกิดขึ้นเมื่อเซลล์สมองถูกทำลายเพิ่มขึ้น เช่น anxiety, depression, และ dementia

• คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรค “พาร์กินสัน” อายุมักจะมากกว่า 60 ขึ้นไป


• การให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ มีชีวิตได้ยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้...



Sources:
www.medicinenet.com.> …>Parkinson disease index
www.mayoclinic.com/health/parkinsons-disease/DS00295

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น