วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

Fibromalgia: Diagnosis (3)

เมื่อบอกว่า คนเป็นโรค Fibromyalgia ยากแก่การวินิจฉัย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ?
How is fibromalgia diagnosed ?

ตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการก็ดี หรือการาตรวจทางเอกซเรย์ก็ตาม
ไม่มีส่วนในการวินิจฉัยโรค fibromalgia โดยตรง แต่ใช้ตรวจเพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกไป

ในคนไข้ที่เป็น fibromyalgia เป็นโรคเรื้อรัง ทีมีอาการปวดกระจายทั่วไป และการที่จะบอกว่า คนๆ นั้น เป็นโรค fibromyalgia หรือไม่นั้น คือการตรวจพบจุดปวด Tender point หลายจุดอย่างน้อยมี 11 จุด ในจำนวน 18 จุด (ที่เป็น classical fibromyalgia tender points)
และตรงจุดที่เจ็บปวดเหล่านั้น ไม่มีอาการแสดงให้เห็นว่า มีอาการบวม หรือมีอาการอักเสบเลย

มีโรคอยู่หลายโรค ที่มีอาการคล้ายโรค fibromyalgia ซึ่งเราต้องแยกออกให้ได้
เช่น :

o Hypothyroidism: ทำให้ระดับไทรอยด์ ฮอร์โมนลดต่ำ

o Vitamin D insufficiency

o Parathyroid disease ซึ่งทำให้ระดับของ calcium ในกระแสเลือดขึ้นสูง

o Muscle disease เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ polymyositis

o Bone disease เช่น Paget’s disease ทำให้เกิดอาการปวดกระดูก

o Hypercalcemia

o Infectious diseases เช่น hepatitis, AIDS

o Cancer

จากรายชื่อโรคต่าง ๆ ที่ยกมา การตรวจเลือดย่อมมีประโยชน์ในการแยกโรคอื่น ๆ ออกไป เช่น โรคไทรอยด์ โรคพาราไทรอยด์ และการตรวจหาระดับ alkaline phosphatase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ของกระดูก จะพบว่ามีค่า สูงในโรคกระดูก Paget’s disease

การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการตรวจการทำงานของตับ สามารถทำให้เราแยกโรค ตับอักเสบ และ การอักเสบออกไป
การดูระดับ Vitamin D สามารถทำให้เรารู้ได้ว่า คนไข้เป็น Vitamin D deficiency หรือไม่

โรค fibromyalgia สามารถเกิดขึ้น โดยไม่มีโรคอื่นเกิดร่วม หรืออาจมีโรคอื่นเกิดร่วมก็ได้
พวก systemic rheumatic conditions ทั้งหลาย พวกนี้จะมีการอักเสบ และมีความผิดปกติ (damage) เกิดขึ้นกับเนื้อเยื้อ และอวัยวะภายใน

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ เช่น ESR, serum protein electrophoresis, antinuclear antibody (ANA), rheumatoid factor จะมี ประโยชน์ในการแยกโรค....
เพราะ การตรวจทุกชนิดที่กล่าวมา....โรค fibromyositis จะมีค่าปรกติทุกอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น