คนไข้สูงอายุส่วนหนึ่งมาโรงพยาบาลเรื่องโรคไข้ข้อโรคอักเสบ เป็นโรค เก๊า
และต้องกินยาสองตัวร่วมกัน โดยถือว่าเป็นรักษาแบบ maintenance เพื่อทำให้คนไข้อยูได้โดยไม่มีอาการปวดข้อ
ตัวหนึ่ง ชือว่า Colchicine อีกตัว ชื่อ allopurinol
นั่นไม่ใช้ประเด็นที่จะพูดถึงเลย ประเด็นที่จะพูด คือ เราจะใช้ยา colchicines อย่างไร จึงจะปลอดภัย
เมื่อไรก็ตามที่ระดับยา colchicines ในกระแสเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดพิษขึ้นอันตรายของมันนั้น...น่ากลัวมาก เพราะอาจทำให้ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุอย่างหนึ่งในหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว คือ ระดับของยา colchicines สูงขึ้นจากการได้รับ ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ
ยาต่าง ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับยา Colchicine:
ยา colchicine เป็นสารที่จะต้องถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ P- Glcoproteine (PGP) ซึ่งเอ็นไซม์ตัวนี้จะทำหน้าที่ขจัดยา colchicine ออกจากกายโดยขับออกทาง “น้ำดี”. “ทางปัสสาวะ” และทาง “ลำไส้”
ได้มีรายงานว่า มียาอยู่หลายตัวเมื่อใช้ร่วมกับยา colchicines แล้ว จะทำให้ระดับของยา colchicines ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น ยาเหล่านั้นได้แก่:
กลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้แก่ Clarithromycin., erythromycin
กลุ่มที่ใช้ลดความดัน ได้แก่ Verapamil
และยาทีใช้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ..Immunosuppressants .เช่น cyclosporine เป็นยาที่ใช้ในกรณีปลูกถ่ายอวัยวะ..ทำให้ร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะของคนอื่นที่ใส่เข้าไป.
ยาทั้งสามกลุ่มที่เสนอมานั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเราแล้ว มันจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ P-Glycoprotein
จากรายงานของคนที่แพ้พิษยา colchicines นั้น เป็นภาพที่ไม่ค่อยจะน่าดูเท่าไหร่นักหรอก เพราะมันมีอันตรายถึงขั้นชีวิต และตายได้
มีคนไข้รายหนึ่ง ที่เกิดแพ้พิษของ colchicines เขามาพบแพทย์ด้วยอาการ “ไข้สูง” , “ท้องล่วง” , “ปวดกล้ามเนื้อ” และ “ปวดท้อง” นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายหลังจากเจ้าตัว รับประทานยาปฏิชีวนะชื่อ clarithromycin เข้าไปแล้ว 4 วัน นั้นเอง
ผลไม่ได้อยู่แค่นั้น อาการของเขาทรุดหนัก เพราะอวัยวะที่สำคัญๆ ถูกทำลายลงหมด (multiple organ failure)
รายที่สอง: ในขณะที่รับประทานยา colchicines เขาได้รับประทานยา clarithromycin เข้าไปด้วย เพียง 3 วันให้หลัง เขาเกิดอาการไข้ ปวดท้อง และท้องเดิน
มีการเสียน้ำอย่างมาก เลือดเป็นกรด (acidosis) ไขกระดูกถูกกด ทำให้เม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลง (pancytopenia)
โชคดีที่คนไข้รายนี้รักษาได้ทัน....รอดตาย
รายที่สาม โชคร้าย... หลังจากรับประทานยา clarithromycin ร่วมกับ colchicines แล้ว แพทย์ไมสามารถช่วยชีวิตไปไว้ได้ เพราะเม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลงอย่างมาก- agranulocytosis
นอกจากยา clarithromycin เมื่อรับประทานร่วมกับยา colchicines แล้ว ย่อมก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ยาเหล่านั้น ต่างทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP เหมือนกับ clarithromycin
ดังตารางข้างล่างนี้:
ยางต่าง ๆ ที่ทำหน้าทียับยั้ง (Inhibit) P-glycoprotein
------------------------------------------------------
Amiodarone Nicardipine
Clarithromycin Propafemone
Cyclosporine Quinidine
Diltiazem Ritonavir
Erythromycin Saquinavir
Indinavir Tacrolimus
Itraconazole Tamoxefen
Ketoconazole Verapam
Nelfinavir
ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดพิษจากยา colchicine:
คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic renal insufficiency) สามารถนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมีระดับของcolchicines ในกระแสเลือดสูงนั่นเอง
นอกจากนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ระดับของ colchicines สูง สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการเกิดพิษได้ทั้งนั้น เช่น ขนาดของยาที่กินเข้าไปมากไป และโรคตับ
ท่านที่เป็นโรคเก๊า จะต้องระวังเรื่องการใช้ยาให้มาก...
มีคนพูดว่า “หมอที่เก่งที่สุด คือ ตัวเราเอง”
นั่นหมายความว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราเป็นโรคนั้นๆ แล้ว ขั้นต่อไป ท่านจะต้องรู้วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้มันทำอันตรายตัวท่านได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน งดเล้า งดเครื่องในสัตว์ งดของทะเล ไม่ซื้อยารับประทานเอง หรือหากท่านไม่ได้พบแพทย์ประจำคนเดิม ท่านต้องบอกแพทย์คนที่กำลังรักษาท่านในขณะนั้นด้วยว่า...ท่านกำลังรับประทานยาอะไรอยู่...
สงสัยอะไรก็ตาม (เกี่ยวกับยา) ท่านต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทันที...
อย่าได้ลองผิดลองถูกเป็นอันขาด...เพราะท่านเท่านั้นที่จะได้รับอันตราย หาใช้ใครอื่นไม่
กล่าวโดยสรุป:
คนไข้ที่ได้รับยา colchicines ไม่ควรรับประทานยา ที่ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP โดยเด็ดขาด เช่น ยา Clarithromycin หรือ erythromycin เพราะมันทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
หากจำเป็นจะต้องใช้ยา PGP inhibitor เราจำต้องลดขนาดของยา colchicines ลง หรือหยุดยา colchicines เอาไว้ก่อน (ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เขา)
คนไข้จะต้องรายงานอาการ ของการเกิดพิษจาก colchicines ทันที เช่น ไข้ ท้องล่วง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เกิดอาการ Paresthesia (มึนเซียตามแขนขา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น