ออกรอบ (เล่นกอล์ฟ) คราวนี้ ได้รับคำถามจากผู้อาวุโส เพื่อนร่วมก๊วน ยกปัญหาเรื่องการ รักษาคนไข้เป็นโรคไตวายขึ้นมาถาม
เป็นการถามที่ถูกกาลเทศะ....(หลังจากเล่นครบ 18 หลุมแล้ว)
ประเด็นที่เพื่อนคนดังกล่าวถาม เป็นประเด็นของ “ความไม่เข้าใจ และ “ไม่พอใจ”
เพื่อนเริ่มด้วยประโยคว่า
“ทำไม ญาติของเขา (ชายวัย 65) เป็นโรคไตวาย ได้รับการฟอกเลือด “วันเว้นวัน” มาเป็น เวลาประมาณ 5 ปี เศษแล้ว
ทำไมอาการไม่เห็นดีเลย....หน้าตา โทรมมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับคนรู้จักในละแวกเดียวกัน เป็นโรคไตวายเหมือนกัน ได้รับการรักษาด้วย การฟอกเลือดทุกวัน อาการของคนไข้รายนี้ ดูสดชื่นเหมือนคนปกติ...”
ถามคำถามเสร็จ ก็จ้องหน้าผู้เขียน...
แสดงออกเหมือนกับเราเป็นจำเลยก็มิปาน
ภายหลังจากหยุดไปครู่หนึ่ง ไม่เห็นผมพูดอะไร เพื่อนของเราก็เอ่ยต่อว่า
“ผมอยากถามคุณหมอว่า:
ผลการรักษา...ทำไมไม่เหมือนกัน ? และ
ผมควรแนะนำให้ญาติ (คนไข้) เปลี่ยนวิธีการ เป็น”ฟอกเลือด” ทุกวัน ดีไหม?
ผู้เขียนรู้สึกยินดี ที่ได้รับฟังปัญหาจากเพื่อน นอกจากจะให้คำแนะนำเพื่อนได้บ้าง ยังมี โอกาสได้นำปัญหาดังกล่าว มาเขียนเล่าให้เพื่อนฝูงฟังอีก...
มีความจริงที่เรารู้กัน คือ ลูก “แฝด” ยังไม่เหมือนกัน ทั้งรูปแบบ โครงร่าง อุปนิสัยใจคอ
คนไข้ก็เช่นเดียวกัน :
คนเป็นโรคเดียวกันแท้ ๆ ยังมีอาการไม่เหมือนกันเลย เช่น การสนองตอบต่อการเป็น โรคชนิดเดียวกันของแต่ละคนก็แตกต่างกัน (ทั้งร่างกาย และจิตใจ)
สนองตอบต่อยาก็ไม่เหมือนกัน
แม้แต่แพทย์ผู้ทำการรักษา อาจต่างกัน…นั่นเป็นเรื่องปกติ
ซึ่งเรื่องนี้ แพทย์เขารู้ว่า การรักษาโรคเรื่องเดียวกัน ยังต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ไม่มีสูตร ตายตัว
ในด้านการปฏิบัติตนก็ต่างกัน:
บางคนปฏิบัติไปอย่างนั้น ๆ แหละ ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง
บางคนก็เคร่งครัดเกินไป....งดเว้นทุกอย่าง จนทำให้ตัวเองเป็นโรคขาดอาหารไป (malnutrition)
ลองหันมาดูโรคไตวายที่คนไข้แต่ละราย มารับการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดดูซิ:
บางคนได้รับการฟอกเลือดเพราะมีข้อชี้บ่ง (indications) ที่แตกต่างกัน เช่น
1. Pericarditis- เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
2. Fluid overload หรือ pulmonary edema ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาขับปัสสาวะ
3. Hypertension (accelerated) poorly responsed to antihypertensives
4. Progressive uremic encephalopathy and neuropathy such as confusion, asterixis, myoclonus, wrist or foot drop
5. Bleeding diathesis
6. Metabolic syndrome เช่น เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ( acidosis ) หรือ มีภาวะ –ขาดอาหาร (malnutrition)
ทั้ง 6 ข้อที่นำเสนอนั้น เป็นข้อบ่งบอกว่า คนไข้รายนั้น ๆ จะต้องได้รับการฟอกเลือดอย่าง รีบด่วนแทบทั้งนั้น โดยไม่ต้องรอให้ค่าของ eGFR ลดลงต่ำกว่า 15 หรอก
ขืนรอ ก็เท่ากับทำให้คนไข้ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิตของเขาเท่านั้นเอง
บางท่านอาจไม่เข้าใจว่า ไตวายระยะสุดท้ายหมายความว่าอย่าไร?
หมายความว่า ไตถูกทำลายลง และสามารถทำงาน (กรองเอาของเสียออก) ได้น้อยกว่า 15%
บางที เราเรียกว่า Stage 5: eGFR < 15
ซึ่งเราสามารถรู้ได้จากการหาค่าของ Creatinine ในกระแสเลือด ของคนไข้ แล้วนำมา คำนวณหาค่า estimated glomerular filtration rate โดยใช้สูตรของ Cockcroft & Gualt equation ดังนี้
CrCl = (140-age) xWt/72(serum cr.
(ถ้าคนไข้รายนั้นเป็นเพศหญิง ให้คูณด้วย 0.85)
นั่นคือแนวทางทั่วไป (ซึ่งเป็นแค่องค์ความรู้…ที่เราควรรับทราบเอาไว้)
ประเด็นต่อไป: Types of hemodialysis
อย่างที่ท่านได้ทราบ การฟอกเลือด (hemodialysis) ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็น โรคไตวาย (kidney failure)
มันทำหน้าที เอาของเสีย และน้ำที่เกินออกจากกาย โดยกระบวนการกรอง (filter) ของ เครื่องฟอกเลือด โดยมันจะดึงเอาของเสียออก
เป็นการทำหน้าที่แทนไตที่เสียไป
ในปัจจุบันนี้ มีวิธีการดังกล่าว 5 วิธีด้วยกัน
1. Hospital based hemodialysis
2. Free-standing dialysis
3. Self-care dialysis
4. Short daily dialysis และ
5. Nocturnal home dialysis
การฟอกเลือดแต่ละชนิด แต่ละอย่าง ต่างมีข้อดี และข้อเสียด้วยกัน ซึ่งคนไข้จะต้องชั่ง เอาว่า จะเลือกใช้ชนิดใดให้เหมาะกับตน
ผู้ตัดสินใจ คือคนไข้
ไม่ใช่คนรอบข้าง
เขาเหล่านั้น เป็นเพียงผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจแก่คนไข้เท่านั้น
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นไตวาย ได้รับการฟอกเลือดที่โรงพยาบาล
ผลดีของการฟอกเลือดแบบนี้ คือ แพทย์สามารถให้การดูแลทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการทำ dialysis และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา (โรค) แทรกซ้อนที่เกิดในขณะทำการรักษาได้ทันท่วงที
ผลเสียของการฟอกเลือดแบบนี้ ก็มีเช่นกัน
เช่น ต้องมีการนัดหมาย (schedule) วัน และเวลาของการรักษา และคนไข้จะต้องพบกับ เจ้าหน้าที่ (พยาบาล และแพทย์) ที่ไม่ซ้ำหน้ากัน...
ไม่ถูกใจก็ต้องยอม.
นอกจากนั้น คนไข้จำเป็นต้องวางแผนในการเดินทาง เพื่อไปพบแพทย์ทีโรงพยาบาล
เป็นเรื่องที่ไม่น่าพิสมัยแม้แต่น้อย
ในเมื่อท่านถามมาว่า จะฟอกเลือดแบบไหนดี ?.
ท่านลองพิจารณาข้อดี ข้อเสียของการฟอกเลือดแต่อย่างดู แล้วค่อยตัดสินใจ:
Hospital based Dialysis.
ในโรงพยาบาลมีหน่วยงาน ทำหน้าที่ฟอกเลือดคนไข้ไตวายระยะสุดท้าย ชนิดไปกลับ
ฟอกเลือดเสร็จ คนไข้สามารถกลับบ้านได้
ประโยชน์ที่พึงได้รับ:
• เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบกับการดูแลทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับฟอกเลือด
• แพทย์สามารถให้การรักษากรณีฉุกเฉิน ที่เกิดขึ้นได้ทันที
ผลเสีย (disadvantage)
• ต้องมีการนัดวัน เวลา ที่จะต้องทำ dialysis ในแต่ละครั้ง
• เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า คนไข้จะพบเจ้าหน้าที่มากหน้าหลายตา
• เสียเวลาในการไปฟอกเลือด ต้องเสียเวลาเดินทาง จอดรถ และเดินทางกลับ
Free standing dialysis centers.
นอกจากหน่วยฟอกเลือดที่มีในโรงพยาบาลแล้ว นอกโรงยาบาลก็มีเหมือนกัน ซึ่งตกอยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานนอกโรงพยาบาล หรือเป็นของแพทย์เอง
หน่วยงานเหล่านี้ ดูแลรักษาคนไข้เป็นไตวายในชุมชน โดยทั่วไป คนไข้ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพคงที่แล้ว
ประโยชน์ (advantages)
• มีเจ้าหน้าเฉพาะ (แพทย์ หรือพยาบาล) รับผิดชอบโดยตรง
• เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ (medical staff) และหน่วยฉุกเฉิน สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น
ผลเสีย (disadvantages)
• จะต้องมีการนัดวัน เวลาในการทำรักษา (dialysis)
• เมื่อเวลาผ่านไป นานเข้า จะมีเจ้าหน้าที่มากหน้าเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ไม่ซ้ำหน้ากัน...
• คนไข้ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับ
Self- care analysis
เป็นหน่วยงานที่ทำการฟอกเลือด ซึ่งอาจตั้งอยู่ในโรงพยาบาล หรือตามสถานที่นอก โรงพยาบาล
การรักษาแบบนี้ คนไข้จะได้รับคำแนะนำ (สอน) ให้ทำการฟอกเลือดได้ด้วยตนเอง พร้อม กับได้รับความช่วยเหลือจากพยาบาล
งานฟอกเลือด ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของคนไข้เอง
Advantage:
• คนไข้จะทำหน้าที่ เป็นคนควบคุมการทำงาน ของเครื่องฟอกเลือดเอง
• คนไข้จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการทำ dialysis เป็นส่วนใหญ่เอง ตลอดรวมถึงยา และการทำงานของเลือด
• คนไข้ไตวาย จะอยู่ท่ามกลางของคนไข้รายอื่น ๆ ที่มีความสนใจในการฟอกเลือด
Disadvantages:
• คนไข้จะต้องเสียเวลาในการเซทเครื่อง ตลอดรวมไปถึงการปลดเครื่อง เมื่อการฟอกไตเสร็จเรียบร้อย
• ต้องจัดวัน และเวลาในการทำ dialysis
• ต้องเสียเวลาในการเดินทางไป- กลับเช่นเดียวกัน
Short daily home dialysis.
เป็นการฟอกเลือดที่บ้านในระยะเวลาสั้นกว่า 1.5 ถึง 3 ชั่วโมง
ทำการฟอกเลือด 5 – 6 ครั้งต่ออาทิตย์ กระทำในเวลากลางวัน
การทำแบบนี้ คนไข้ และคู่ชีวิต จะได้รับการฝึกสอนให้สามารถทำการฟอกเลือดเป็น
การฟอกเลือดทุกวัน ใช้เวลาไม่นาน
การฟอกเลือดทุกวัน จะได้ผลดีกว่าการทำวันเว้นวัน เพราะมันทำให้เลือดของคนไข้สะอาดทุกวัน
Advantage:
• สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
• ลดการควบคุมน้ำ และอาหาร Kidney diet ลง
• ลดยารักษา (medications) ลง
• มีเวลาในตอนกลางวันมากพอ ที่จะทำงานอย่างอื่นได้
• สามารถควบคุมการฟอกเลือด และผลที่ได้รับจากการรักษาดีกว่า
• ทำให้ระดับ nutritional status ของคนไข้ได้ดีกว่า
• มีความรู้สึก (well being) ดีขึ้น
• คุณภาพชีวิตดีกว่า (better quality of life)
Disadvantages:
• จำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกอบรม เพื่อทำให้คนไข้สามารถทำได้เอง
• ไม่มีแพทย์ หรือพยาบาลอยู่ใกล้ แต่สามารถเรียกทางโทรศัพท์ได้
• จำเป็นต้องมีห้องหับภายในบ้าน เพื่อจัดเป็นที่ตั้งของเครื่องฟอกไต
Nocturnal Home Dialysis
การทำ dialysis แบบนี้ ใช้เวลา 8 ชั่วโมง อาทิตย์หนึ่ง ทำ 4 – 6 ครั้ง
เป็นการฟอกเลือดในขณะนอนหลับ
การฟอกเลือดแบบนี้ จะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวคนไข้
คนไข้ และคู่ชีวิตของเขา จะต้องได้รับการอบรมให้สามารถควบคุมเครื่องฟอกเลือดได้เอง การฟอกเลือดในตอนกลางคืน มีลักษณะคล้ายกับการทำงานของไต ที่ทำงานตามปกติ เพราะไตเขาต้องใช้เวลานานในการทำงาน
Advantage:
• สามารถควบคุมความดัน...ได้ดีกว่า
• ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดในเรื่องน้ำ และอาหารเกินไป
• ใช้ยาน้อยลง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาไปขับธาตุ phosphorous
• มีเวลาในตอนกลางวันมากพอที่จะทำภารกิจอย่างอื่น
• ความรู้สึกโดยรวม “ดี” ขึ้น
• สภาพร่างกาย (nutritional status) ดีขึ้น
• คุณภาพชีวิตดีขึ้น (better quality of life)
Disadvantages:
• เสียเวลาในการฝึกอบรม
• จะต้องมีห้อง (ที่ว่าง) พอที่จะวางเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
จากข้อมูลทีเสนอมา ท่านสามารถตัดสินใจว่า จะเลือกใช้วิธีการแบบใด ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ของคนไข้ ที่เป็นญาติของท่านได้
แต่ การตัดสินใจขั้นสุดท้าย เป็นของคนไข้แต่เพียงผู้เดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น