วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

: Alzheimer’s disease (5) :Brain Tour

Topic: Alzheimer’s disease (5) :Brain Tour
นพ. มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์

เวลาเรามีโอกาสท่องเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ เราใช้โสตสัมผัสที่เรามี เช่น ตา หู ...........,
เป็นเครื่องมือ นำมาใช้เพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เราต้องการ...

มีการเที่ยวชม...อีกแบบหนึ่ง
เป็นการเที่ยวชมโดยใช้ “จิต” เป็นเครื่องมือ
“ทางจินตนาการ”
ประหนึ่งว่า...เราได้ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ หรือ...
โดยเราไม่ต้องเคลื่อนไหวกายแม้แต่น้อย แต่จะใช้ “จิต” ของเราเท่านั้น ท่องเที่ยวไปในความ นึกคิดนั้น ๆ

วันนี้ ผู้เขียนจะทดลองชวนท่านผู้อ่าน “เที่ยวชมส่วนต่างๆ ของสมองมนุษย์” ดูว่า การที่ คนเราเกิดเป็นโรค “Alzheimer’s ” นั้น ส่วนไหนเปลี่ยนแปลงไป ?

สมองของมนุษย์

สมองของท่าน เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่ท่านมี มันหนักแค่ 3 ปอนด์เท่านั้นเอง มีลักษณะ เหมือนก้อน กลม คล้าย “เยลลี่” แข็ง ที่เรารับประทานนั้นแหละ

ดูต่อไป สมองแบ่งออกเป็น สามส่วนใหญ่ๆ

1. ส่วนแรก เราเรียกว่า Cerebrum เป็นส่วนที่ใหญ่สุด บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะเป็นส่วนใหญ่ มันจะทำหน้าที่เกี่ยวกับ “ความจำ” (remembering), “แก้ปัญหา” (problem solving) , “คิด” (thinking) และ “รุ้สึก” (feeling)
นอกจากนั้น สมองส่วนนี้ ยังมีบทบาทในการ “ควบคุมการเคลื่อนไหว” อีกด้วย

2. ส่วนที่สองเรียก Cerbellum มันจะอยู่ตรงตำแหน่งด้านหลังของศีรษะ หรือที่เราเรียกว่า “ท้ายทอย” มันจะอยู่ใต้สมองส่วนแรก (cerebrum)
มันมีหน้าทีในการทำงานให้ประสานกัน (coordination) และการรักษาความสมดุล

3. ส่วนที่สาม Brain stem มีลักษณะเป็นก้านของสมอง อยู่ในตำแหน่งใต้ต่อสมองส่วนหน้า (cerebrum) และจะอยู่หน้าต่อสมองส่วนทีสอง (cerebellum) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง “สมอง” กับส่วนที่เราเรียกว่า “ไขประสาทสันหลัง” (spinal cord) มันมีหน้าทีในการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ (automatic functions) เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร การเต้นของหัวใจ และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ

Supply lines:

เมื่อเรามองเข้าไปในเนื้อสมอง เราจะพบว่า มีแขนงของเส้นเลือดมากมาย กระจาย ไปทั่วเนื้อสมอง ให้ลองนึกภาพหัวผักกาด ถูกดึงจากดินขึ้นมา เราจะเห็นรากของหัวผักกาด เยอะแยะไปหมด ในสมองของคนเราก็เช่นกัน
เส้นเลือดในสมองก็เป็นเช่นนั้นแหละ
มันจะทำหน้าที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง
เนื่องจากมันเป็นอวัยวะที่สำคัญ จึงมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากมายดังที่เห็น (กล่าว)

การเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง เส้นเลือดแดงจะนำเลือดประมาณ 25 – 25 % ของ ปริมาณเลือดทั้งหมดที่ท่านมี เข้าสู่สมอง
และในสมองจะมีเซลล์ประมาณ Billions เซลล์ ซึ่งต้องได้รับออกซิเจนประมาณ 20 % จากเลือดของท่าน เพื่อใช้เป็นพลังงาน
เมื่อใดที่คุณคิดหนัก...คิดมากๆ...เมื่อนั้น คุณอาจจำเป็นต้องใช่พลังงาน (fuel) และ ออกซิเจน (oxygen) ถึง 50 %
เมื่อท่านมองเข้าไปยังกลุ่มเส้นเลือดในสมอง ซึ่งมีลักษณะเป็น network นั้น มัน ประกอบด้วยเส้นเลือดแดง(capillaries) และเส้นเลือดดำ (veins) รวมไปถึงเส้นเลือดที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นมาเรียก arteries

The Cortex: “Thinking wrinkles”

เมื่อเรามองดูสมองคนคนเรา เราจะเห็นผิวของมันเป็นยัก เป็นลอนตลอดทั้งผิวของ สมอง ส่วนที่เป็นยักเป็นลอนนั้นจะอยู่ด้านนอกของสมอง ส่วนที่เราเรียก cerebrum เรา เรียกสมองส่วนนี้ว่า cortex
นักวิทยาศาสตร์เขาได้วาดภาพสมองส่วนนี้เป็นภาพแผนที่ไว้ พร้อมระบุตำแหน่ง ต่างๆ สัมพันธ์กับการทำงานบางอย่างให้เราได้ทราบ

Specific regions of the cortex

เมื่อเขาวาดเป็นแผนที่ไว้ เพื่อระบุตำแหน่ง....ซึ่งแต่ละส่วนจะทำหน้าที่

• ทำหน้าที่แปลผล “ข้อมูล” การรับรู้ของประสาทสัมผัส (sensations) จากตา หู จมูก ลิ้น และกาย
• เป็นที่กำเนิดความคิด (thoughts) แก้ปัญหา ตลอดรวมถึงการวางแผนในการปฏิบัติงาน
• สร้าง และเก็บข้อมูล (ความจำ)
• ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย (control voluntary movement)

Left brain / right brain

สมองของท่านที่มีรูปลักษณะเป็นทรงกลมนั้น จะแบ่งเป็นซีกซ้าย & ขวา ขนาด เท่ากัน
ผู้เชี่ยวชาญเขาไม่แน่ใจนักว่า สมองซีกซ้าย หรือขวา มันทำงานต่างกันอย่างไร ยกเว้น

• สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกายด้านขวา
• สมองซีกขวา ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกายด้านซ้าย
• ในคนส่วนใหญ่ สมองส่วนที่มีหน้าที่ในการพูด การใช้ภาษา จะอยู่ทางซีกซ้าย

The Neuron Forest

เป็นที่รู้กันว่า การทำงานขงสมองนั้น มันขึ้นอยู่กับการทำงานของเซลล์สมอง
ในสมองของคนเรา ( ผู้ใหญ่) มีเซลล์ประสาท (neuron) อยู่ประมาณ หนึ่ง พันล้าน ล้าน (one billion) เซลล์
แต่ละเซลล์จะมีแขนงที่แตกออกไปเหมือนรากต้นไม้อีกเยอะแยะ เพื่อเชื่อมต่อกับ ปลายประสาทของเซลล์ประสาท (neurons) ตัวอื่น ๆ ตรงตำแหน่งที่มันแตะกันนั้น มี มากมาย (100 trillion)
( 1 trillion จะมีค่าเท่ากับ เลข 1 ต่อด้วย 0 ต่อกัน 12 ตัว)
มองเข้าไปประหนึ่งว่า เป็นป่า ดง (forest) ซึ่งอัดแน่นไปด้วยต้นไม้อย่างหนาทึบ
(ไม่ใช้ป่าไม้ในเมืองไทยในขณะนี้หรอกนะ)

การที่คนเรามีความคิด ความจำ หรือความรู้สึกต่างๆ มันจะปรากฏเป็น”สัญญาณ” (signals) วิ่งผ่านดงเซลล์ประสาท (neurons) ที่อยู่กะโหลกศีรษะคนเรานี้เอง

ในคนเป็นโรค Alzheimer’s เราจะพบว่า เซลล์ประสาทเหล่านี้แหละที่ถูกทำลาย ไป

Cell signaling

สัญญาณของประสาท ที่สร้างเป็นความจำ (memories), ความคิด (thought) จะเคลื่อนจากเซลล์สู่เซลล์ในลักษณะคลื่นของกระแสไฟฟ้า ที่เล็กที่สุด (tiny electrical charge)
เซลล์ปราสาทแต่ละตัว จะเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทสมองตัวอื่นตรงตำแหน่งที่ เรียกว่า Synapse
เมื่อคลื่นประสาทวิ่งมาถึงรอยต่อ (synapse) มันจะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมี ออกมา และสารเคมีตัวนี้ เราเรียกว่า “สารสื่อประสาท” หรือ “neurotramsmitter” ทำ หน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเซลล์ (neurons) ให้คลื่นประสาทวิ่งผ่าน จาก เซลล์ตัวหนึ่ง สู่เซลล์อีกตัว
สารที่ทำหน้าที่เป็นสื่อประสาท หรือ ที่เรียกว่า neurotramsmitters นั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในร่างกายของเรามีหลายสิบตัว

ลองมองเข้าไปดูเซลล์ประสาทของคนเป็นโรค Alzheimer’s ว่าเป็นอย่างไร?
เขาพบว่า คนที่เป็นโรคดังกล่าว เกิดมีความผิดปกติขึ้นทั้งสองส่วน คือ คลื่นไฟฟ้า ที่วิ่งผ่านตรงรอยต่อ (synapse) ก็เสียไป บทบาทของสื่อประสาท (neurotransmitter activity) ก็เสียไป

การท่องดูส่วนต่างๆ ของสมอง (Brain Tour) แค่นี้น่าจะเพียงพอต่อการเข้าไป เรียนรู้เรื่องโรค Alzheimer’s ได้พอสมควร
ส่วนที่เหลือ คิดว่าไม่น่าจะมีประโยชน์อะไรมากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น