วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

Over active Bladder:

นี้คือความทุกข์ของมนุษย์ ที่น่าสงสาร และเห็นใจ
เพราะเขาต้องอยู่กับมันทุกวัน ต้องรู้สึกกับมัน ทั้งกลางวัน และกลางคืน
“คุณหมอครับ....ทำอย่างไร ผมจึงจะหายจากอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ได้ ?”

นั่นคือปัญหาของคนที่ต้องมีชีวิตอยู่กับ กระเพาะปัสสาวะที่ทำงานมากเกิน
มันกระตุ้นให้คนอยากปัสสาวะบ่อยๆ และเขาต้องรีบไปปล่อยมันเสียด้วย
แน่นอน คนที่มีอาการอย่างนั้น จะรู้สึกหงุดหงิด และเป็นทุกข์อย่างหนัก

อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านรู้ไว้เถิด ว่า ท่านไม่ได้อยู่คนเดียวหรอก เพราะจากสถิติ
พบว่า ชายอายุมากกว่า 40 ขึ้นไป พบว่า หนึ่งในหกคน จะมีอาการเหมือนกับท่าน
ภาวะเช่นนี้ บางคนเรียกว่า OAB ซึ่งเป็นตัวย่อมาจาก over active bladder นั่นเอง

เมื่อไหร่ และทำไม ภาวะ OAB มันถึงเกิดขึ้น ?

ขอให้เข้าใจตรงกันเสียก่อนว่า OAB มันจะเกิดขึ้นเมื่อ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมันหด ตัว (contracion) โดยตัวของมันเอง ท่านไม่สามารถควบคุม หรือบังคับมันได้เลย
นอกจากควบคุมไม่ได้ มันยังหดบ่อยเสียด้วย หดแบบไม่รู้กาลเทศะ

จิตรับรู้ของท่าน สัมผัสกับการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะว่า มันเป็นเรื่อง “รีบด่วน” ต้องปัสสาวะ “เดียวนี้”
หากเปรียบมันเหมือน “ลูก” ตัวเล็กๆ ที่เอาแต่ใจตัวเอง...มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ

ถ้าบังเอิญ ท่านเป็นชนิด “dry form OAB” .ท่านสามารถเดินไปห้องน้ำ และปล่อย ปัสสาวะทัน ไม่ต้องกังวลใจ หรือถูกกดดันแต่อย่างใด
แต่ในทางตรงกันข้าม “wet form OAB” ท่านจะไม่สามารถไปห้องน้ำได้ทันเวลา
ต้องปัสสาวะลาด ควบคุมไม่อยู่ กางเกงเปียก เป็นเรื่องที่น่าอับอายผู้คนที่อยู่รอบข้าง
เราเรียกกรณีนี้ว่า Urge incontinence

อะไร ทำให้เกิด ภาวะ OAB ขึ้น ?

มีสาเหตุมากมาย ที่สามารถทำให้เกิดอาการ OAB ขึ้น ได้แก่:

• ผลข้างเคียง (side effects) จากยาที่ท่านรับประทาน เช่น ยาขับปัสสาวะ (diuretics) หรือยา ซึ่งมีสาร caffeine

• โรคที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท (neurological diseases) ยกตัวอย่าง
เช่น โรค “พาร์คินสัน” หรือ โรค multiple sclerosis

• โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือสาเหตุอย่างอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความละคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ

• ความผิดปกติบางอย่างในกระเพาะปัสสาวะ เช่น เนื้องอก (bladder cancer)

• ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือ เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก

• เส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะถูกทำลายลง เช่น ได้รับบาดเจ็บ (injury) หรือ เป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน

• สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด ต่างมีโอกาสเป็น OAB ทั้งนั้น

สาเหตุทั้งหมดที่เล่ามา มี 7 อย่างด้วยกัน
แต่ก็มีหลายราย ที่เราไม่สามารถบอกได้เลยว่า อะไรเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะ OAB

ภาวะ OAB สัมพันธ์ กับ ปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

โดยเฉพาะคนสูงอายุ เมื่อท่านมี OAB ท่านอาจมีปัญหาอย่างอื่นเกิดร่วมด้วย เช่น ตัวท่านมี โอกาสหกล้ม กระดูกสะโพกแตกหัก และจะนำไปสู่การเกิดปัสสาวะอักเสบ เกิดแผลอักเสบ ที่บริเวณผิวหนัง

หากภาวะ OAB ทำให้ท่านต้องตื่นนอน ในตอนกลางคืนวันละหลายครั้ง เราเรียกภาวะนั้น ว่า Nocturia
จากการที่นอนไม่พอ จะสัมพันธ์กับความรู้สึก เหนื่อยเพลีย (fatigue) อ่อนแรง (poor energy) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานตามปกติลดลง
คุณภาพชีวิตเสียไป

ความรู้สึกไม่มีความสุข หมดอาลัยตายอยาก มีความสัมพันธ์กับ OAB สูงมาก โดยเฉพาะ เกิดกับกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ

คุณควรบอกกับแพทย์ หรือผู้ดูแลรักษาตัวท่านเกี่ยวกับอาการของท่าน บอกให้เขาได้ทราบทุก อาการ แม้ว่า คุณอาจไม่คิดว่ามันสัมพันธ์กันก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น