วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Parkinson’s Disease (2): Genes....

(cont.)



What genes are linked to Parkinson’s disease

ในขณะนี้ เราไม่ทราบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค “พาร์คินสัน”
เหตุจูงใจอันหนึ่ง คือ มีการพบว่า ประวัติครอบครัวของคน ที่เป็นโรคดังกล่าว สามารถพบได้ถึง 15 %

จากการศึกษาทางด้านพันธุกรรม ของคนที่เป็นโรค “พาร์กินสัน” ปรากฏว่า มี genes หลายตัว
ที่เกี่ยวพันธุ์กับการเกิดโรคดังกล่าว
จากการศึกษาเรื่องพันธุกรรม...ไม่แน่ เราอาจพบวิธีการรักษาแบบใหม่ ๆ ก็ได้

มี genes อยู่ประมาณ 5 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค “พารคินสัน”

1. SNCA (synuclein,alpha non A4 component of amyloid precursor):
ในคนไข้ที่เป็นโรค พาร์คินสัน พบ โปรตีน SNCA รวมตัวกันเป็นก้อนที่เซลล์ของสมอง ของคนที่เป็นโรคดังกล่าว เขาเรียกมันว่า Lewy body
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ gene SNCA จะปรากฏพบเห็นในระยะแรกของการเกิดโรค “พาร์คินสัน”

2. PARK2 (Parkinson’s disease autosomal recessive,juvenile 2):
Gene ชื่อ PARK2 เป็นตัวทำให้เกิด โปตีน parkin
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ PARK2 พบในคนไข้ที่เป็น juvenile Parkinson’s disease
PARK2 ทำหน้าที่ช่วยเซลล์สมองทำการสลาย (breakdown)
และสร้าง Protein ขึ้นใหม่ (recycle)

3. PARK7 (Parkinson’s disease autosomal recessive,early onset 7): เราจะพบการเปลี่ยนแปลงในพันธุกรรมของ gene PARK7 ของคนไข้ที่เป็นโรค”พาร์คินสัน” ในระยะแรกที่เกิดโรค
PARK7 gene จะสร้างโปรตีนที่มีชื่อว่า DJ-1 ซึ่งอาจทำหน้าที่ปกป้องเซลล์จาก oxidative stress

4. PINK1(PTEN-induced putative kinase 1) สิ่งที่พบ คือ gene ตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลง (mutation) ในระยะเริ่มต้นของการเกิดโรค “พาร์กินสัน”
หน้าที่โดยตรงของโปรตีนที่ถูกสร้างโดย gene-PINK1 ไม่เป็นที่ทราบชัด มันอาจทำหน้าที่ปกป้องเซลล์สมอง (ส่วนที่เป็น mitochondria) จากความเครียด (stress)

5. LRRK2 (Leucine-rich repeat kinase 2): LRRK2 เป็ตัวสร้างโปรตีน dardarin
การเปลี่ยนแปลง (mutation) ของ LRRK2 gene จะมีความสัมพันธ์กับระยะสุดท้ายของโรค “พาร์กินสัน”

นอกเหนือจาก genes ต่างๆ ที่กล่าวมา ยังปรากฏว่า มี genes อีกหลายตัว อาจมีส่วนร่วม
กับการเกิดโรค “พาร์กินสัน” ได้ เช่น genes GBA (glucosinase beta acid), SNCAIP (synuclein alpha interacting protein) และ UCHL1 (ubiquitin carboxyl-terminal esteraseL1)

Who is at risk for Parkinson’s disease?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค “พาร์คินสัน”

• ปัจจัยเสียง... จะเป็นอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่ทำให้คนเป็นโรคพาร์คินสันกัน
ส่วนใหญ่คนที่มีอายุมากกว่า 60 จึงมีโอกาสเป็นโรคนี้

• ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าหญิงถึง 1.5 ถึง 2 เท่าตัว

• ประวัติครอบครัวที่เป็นโรค “พาร์คินสัน”

• ประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ไม่สบาย (illness) ถูกสารพิษ เช่น สารเคมีใช้ฆ่าแมลง(pesticide) , สารเคมีที่ใช้ทำลายวัชพืช(herbicide)



Next >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น