(cont.)
หลักสำคัญในการพิชิตศึก คือ “การรู้เขา...รู้เรา...”
ในการรักษาโรค ก็เช่นเดียวกัน
ไม่ว่า โรคที่คนเรา จะเป็นอะไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ และฉับไว...
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำการรักษา:
ผู้ทำการรักษา สามารถวางกลยุทธที่ดี และเหมาะสมกับการรักษาโรคนั้น ๆ ...
ในคนที่เป็นโรค PD’s ก็เช่นเดียวกัน
แพทย์ผู้รักษา สามารถวางยุทธศาสตร์การรักษา...เพื่อทำให้คนไข้ที่เป็นโรค PD’s มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และ ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
อย่างไรก็ตาม ในคนไข้โรค “พาร์กินสัน” ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อตอบโจทย์ ว่าคนไข้รายนั้นๆ เป็นโรค “พาร์ คินสัน” จริงหรือไม่
(จะทำได้ก็ต่อเมื่อเอาชิ้นส่วนของสมองของคนไข้ ซึ่งหมายความว่า เอาสมองคนตายมาตรวจเท่านั้นเอง)
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ในระยะแรกของโรค มีหลายโรค ทีมีอาการคล้ายกับคนไข้ที่เป็นโรค “พาร์กินสัน”
จึงไม่เป็นเรื่องแปลก...ที่จะพบว่า มีการวินิจฉัยโรคผิดบ่อยๆ
การวินิจฉัยโรค ยืนอยู่บนหลักของการที่ว่า...คนไข้รายนั้นๆ ไม่ใช่โรค “พาร์คินสัน”
ซึ่งแพทย์ทั้งหลาย ชอบพูดทับศัพท์ว่า ให้ “ rule out” โรค หรือภาวะอย่างอื่นออกไปให้หมด ที่เหลือมันก็จะ เป็นโรค “พาร์คินสัน” เอง
เป็นขั้นตอนที่สลับซับซ้อนพอสมควร
เรื่องอย่างนี้...ผู้เขียน ขอยกให้เป็นหน้าที่ของผู้เชียวชาญทางประสาทสมองไป
เขามีแนวทางในการปฏิบัติอย่างสั้นๆ ดังนี้:
o อาศัยประวัติการเกิดโรค ตรวจหาข้อมูลทางระบบประสาท และ อาการ อาการแสดงที่ปรากฏ
o Hoen and Yahr scale and Unified Parkinson’s Disease Rating scale
การตรวจเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของผู้มีประสบการณ์เขา...เป็นการตรวจวัดดู ความสามารถทางจิต พฤติกรรม อารมณ์ ความสามารถของการทำงานในชีวิตประจำวัน และตรวจดูระดับการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว
การตรวจเหล่านี้ สามารถช่วยให้ทราบโรคในระยะเริ่มแรกได้ ตลอดรวมไปถึงการดำเนินของโรค ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผู้ทำการรักษา สามารถวางแผนในการรักษาที่เหมาะสมต่อคนไข้รายนั้นๆ ได้ต่อไป
นอกจากนั้น ท่านอาจได้รับการตรวจ Brain scans และได้รับการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการอย่างอื่น ทั้งนื้เพื่อทำการแยกโรค (rule out) โรคอย่างอื่น ๆ ซึ่งสามารถทำให้มีอาการคล้ายกับโรค “พาร์คินสัน” ได้
การที่เราจะวินิจฉัยว่า คน ๆ นั้น น่าจะเป็นโรค “พาร์คินสัน” เมื่อ:
1. อย่างน้อย เขาจะต้องมีอาการ สองในสาม ของอาการต่อไปนี้:
o อาการสั่นระรัวในขณะพัก (tremor),
o มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้(rigidity) และ
o การเคลื่อนไหวช้า (slowness)
2. อาการเริ่มต้นของโรค “พาร์คินสัน” จะเป็นข้างเดียวก่อนเสมอ
3. อาการที่ปรากฏ ไม่ใช่อาการที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น “ยา” (medications) หรือพวก สมองขาดเลือด (stroke) และ
4. อาการดีขึ้นอย่างชดเจน เมื่อเขาได้รับยา “Levodopa”
Next >
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น