วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

Parkinson’s Disease (5): Treatment

(cont.)


ได้กล่าวถึงกลยุทธของการรักษาโรค “พาร์กินสัน” เอาไว้ว่า
“...ทำให้คนไข้ที่เป็นโรค...มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และอายุยืนยาวที่สุด..”

ในปัจจุบัน ปรากฏว่า:
แพทย์ไม่มีวิธีการใด สามารถเยียวยาโรค “พาร์กินสัน” ให้หายขาดได้

ดูซิว่า กลยุทธของแพทย์ผู้ทำการรักษา เขาทำอย่างไร ?

แพทย์มีวิธีการหลายอย่าง ช่วยให้คนไข้ สามารถอยู่กับโรคได้
โดย
o ชะลอการไม่ให้เกิด อาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวของกาย และ
o ทำให้อาการทางเคลื่อนไหว ที่เลวลงไปแล้ว ให้มันดีขึ้น

ทำอย่างไร ?

ทุกวิธี ที่นำมาใช้ในการรักษา เป็นการเพิ่มปริมาณของสาร dopamine แก่สมองที่ขาด ไป โดย:

o ให้ dopamine แก่คนไข้โดยตรง หรือ
o ให้สารที่เลียนแบบสาร dopamine ( dopamine agonist) หรือ
o ให้ยา ที่ทำให้สาร dopamine อยู่ในสมองได้ยาวนานขึ้น โดยป้องกันไม่ให้เกิดการสลายตัวเร็วเกินไป

ผลจากการศึกษา พบว่า หากเริ่มทำการรักษาเร็ว สามารถชะลออาการเสื่อมทางการเคลื่อนไหวได้ และประการต่อมา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ขณะเดียวกัน สามารถทำให้อายุยืนยาวขึ้น

การรักษาโรค “พาร์กินสัน” ด้วยการให้ยา Levodopa จะได้ผลดี โดยสารตัวนี้จะ เปลี่ยนไปเป็น dopamine ในสมองต่อไป

อย่างไรก็ตาม ให้ทราบไว้ด้วยว่า เนื่องจากการใช้ยาตัวนี้ ต้องใช้เป็นเวลาอันยาวนาน
ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง จึงมีได้สูง :

o มีการตอบสนองต่อยาแต่ละครั้ง (each dose) สั้นมาก

o เกิดอาการกล้ามเนื้อปั้น (painful cramps) และ

o มีการเคลื่อนไหวแบบควบคุมไม่ได้ (involuntary movement) เกิดขึ้น


ดังนั้น การให้ยา levodopa อาจมีการชะลอการให้... จะให้เมื่อคนไข้มีอาการมากแล้ว

ได้มีการรวมยา levodopa กับ carbidopa (sinemet) โดยยาตัวหลังจะป้องกันไม่ให้ยา levodopa ถูกทำลาย ก่อนที่มันจะเข้าถึงสมอง
จากการรวมยาดังกล่าว ยังเป็นการลดปริมาณของตัวยา levodopa ลง พร้อมกับลดผลข้างเคียงไม่ให้ เกิดอีกด้วย

ในระยะแรก ๆ ของโรค “พาร์คินสัน” ได้มีการนำเอาสาร ซึ่งเลียนแบบการทำงานของ dopamine มาใช้ (dopamine agonist)
นอกจากนั้น ยังมีสารอีกกลุ่มหนึ่ง สามารถลดการสลายตัวของ สาร dopamine ลงได้ สารกลุ่มนั้น คือพวก monoamine oxidase type B (MAO-B)
ยาพวกนี้ สามารถลดอาการทางการเคลื่อนไหว (motor) ได้ดีทีเดียว
แต่ผลข้างเคียงก็มีเช่นกัน เช่น ทำให้เกิดอาการบวม มีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น, วิงเวียน, เกิดภาพหลอน และมีอาการคลื่นไส้

สำหรับราย ที่พัฒนาถึงระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรมอาจมีทางช่วยได้ เช่น
การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยใส่ electrode เข้าไปในบริเวณที่สมองเสื่อมไป ก็เป็นวิธีการหนึ่ง

นอกจากวิธีการดังกล่าว ได้มีการศึกษา นำเอา stem cell มาใช้ในการสร้าง dopamine- producing cells ขึ้น.....ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง กว่าจะสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรค “พาร์ กินสัน” คงต้องรอดูกันต่อไป

นอกเหนือจาก “ยา” และวิธีทางศัลยกรรมแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (rest &exercise), กายภาพบำบัด, อาชีวะบำบัด และ การฝึกพูด ต่างมีส่วนช่วยรักษาคนไข้โรค “พาร์กินสัน” เช่น
กัน... Next >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น