วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

Dementia (3): วินิจฉัย

(continue…)

ได้สัมผัสความรู้สึกของมนุษย์ คนที่กำลังเผชิญกับโชคลาภ และความทุกข์
สำหรับคนที่กำลังลุ้นโชค.(อะไรก็ได้)..
ถือเป็นความตื่นเต้นในด้าน “บวก” ของคนกำลังลุ้น..
เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนปราถนา.
ถ้าลุ้นแล้ว...ผลเป็นไปตามที่ต้องการ ก็ดีใจ
ถ้าไม่เป็นตามที่หวังไว้....ก็เสียใจในระดับหนึ่ง

ลองมาดูมนุษย์อีกกลุ่ม กำลัง “ลุ้น” เหมือนกัน
เป็นการ “ลุ้น” กับสิ่งที่ตนเองไม่อยากให้มันเกิด...
ยกตัวอย่าง แพทย์ได้ทำการผ่าตัด (เล็ก) เอาชิ้นเนื้อไปตรวจ เพื่อพิสูจน์ว่า
ชิ้นเนื้อของคนที่กำลังลุ้นอยู่นั้น เป็นมะเร็งหรือไม่ ?
เป็นการลุ้นด้วยความรู้สึกทุกข์ใจ
ถ้าได้ผลเป็นออกมาเป็นมะเร็ง...คนที่ “ลุ้น” จะมีความทุกข์ใจขนาดไหน

พูดไปทำไมมี
มาดูซิว่า การที่จะวินิจฉัยคนสมองเสื่อม หรือ dementia หรือไม่ แพทย์เขาทำอย่างไร ?

การสูญเสียควาทรงจำ และอาการอย่างอื่นของภาวะ dementia นั้น มันมีหลายสาเหตุ ด้วยกัน ดังนั้น การวินิจฉัยก็เป็นเรื่องไม่ค่อยง่ายนัก อาจจำเป็นต้องพึงพาการตรวจหลายๆ ครั้ง
ซึ่งมีการตรวจสอบหลาวยอย่าง ดังนี้:

ประวัติความเจ็บป่วย
ท่านจะได้รับคำถามของแพทย์เกี่ยวกับตัวท่าน หรือคนที่ท่านรัก ว่า อาการต่างๆ เกิดขึ้น เมื่อใด มีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่? ซึ่งอาจช่วยให้แพทย์สามารถรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค dementia

การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาของท่าน ข้อมูลที่ได้สามารถทำให้แพทย์ชี้สาเหตุบางชนิด ที่สามารถรักษาได้ เช่น อาการของโรคเส้นเลือดของสมองถูกอุตัน (stroke) หรือโรคอย่างอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดมี อาการทาง dementia ขึ้น
นอกจากกาตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างอื่นๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ วัดความดัน และอื่นๆ ตลอดรวมไปถึงการตรวจสอบการใช้ยาต่าง ๆ อาจมีส่วน ช่วยพิจารณาสาเหตุของการเกิดอาการสมองเสื่อมได้

การตรวจเช็คดูอาการของโรคอื่นๆ อาจสามารถบ่งบอกโรคบางอย่าง ซึ่งอาจมีอาการคล้ายๆ กับโรค dementia ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ ตลอดรวมถึงยา ต่างๆ ที่คนไข้รับประทาน

Cognitive and neuropsychological tests:

คนไข้รายใดที่สงสัยว่าเป็น dementia จำเป็นต้องได้รับการตรวจ “กระบวนการรับรู้ “ หรือ “กระบวนการคิด”
มีการตรวจมากมายที่แพทย์เฉพาะทางเขานำมาใช้กัน เช่น “กระบวนการคิด และการใช้ เหตุผล”, “ความสนใจ”, ภาษาคำพูด “ความจำ” “เหตุผล และการัดสินใจ” และอื่นๆ
การตรวจพวกนี้ มีวัตถุประสงค์ไปที่การตรวจดูว่า คนไข้รายนั้นๆ มี dementia หรือไม่ รุนแรงถึงขั้นไหน ส่วนไหนของสมองที่เสื่อมไป

Neurological evaluation

การตรวจพวกนี้ เป็นการตรวจดูความสมดุลของคนไข้ รวมทั้ง ความรู้สึก (sensory function), reflexes เพื่อให้รู้ว่า มีโรคอะไรซึ่งสามารถรักษาได้

Brain scans

เป็นการตรวจ เพื่อพิสูจน์ว่า คนไข้มีโรคต่อไปนี้หรือไม่: Stroke, Tumors หรือปัญหา อื่นๆ ที่เป็นเหตุให้เกิด dementia
ในรายที่เป็นโรค Alzeimer’s ที่เป็นมานาน สามารถตรวจพบความผิดปกติทาง Brain scans ได้เช่นกัน
การตรวจด้วย Scans ที่เรานำมาใช้ได้แก่:


• CT หรือ MRI ทั้งสองชนิดถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบคนไข้ที่สงสัยเป็น dementia กันบ่อยมาก
• Electroencephalogram (EEG) มีลักษณคล้ายการตรวจ EKG เพื่อตรวจดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจนั่นแหละ...
การตรวจดู EEG ก้เช่นกัน สามารถตรวจสอบดูความผิดปกติที่บ่งชี้ให้ทราบถึง cognitive dysfunction ที่พบในคนไข้ที่เป็นโรค Alzheimer’s
นอกจากนี้ EEG อาจตรวจดูสภาวะ “ชัก” หรือ seizures และนำมาใช้ในการ ตรวจสองความผิดปกติอย่างอื่น ที่ทำให้เกิด dementia

Laboraotory tests

นอกจากที่กล่าวมา เรายังมีการตรวจอย่างอื่นๆ เพื่อตรวจสอบดูว่า คนไข้มีโรคไต วายหรือไม่ เพราะโรคนี้ สามารถทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ นอกนั้น ยังมีโรคอื่น ๆ ที่มี กลุ่มอาการ dementia
การให้ยา หรือการรักษาอย่างอื่นๆ สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้

การตรวจที่ท่านควรรับรู้เอาไว้ มีดังนี้:

• ตรวจเลือด CBC ว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ?
• ตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล...เป็นโรคเบาหวานไหม ?
• ตรวจดูการทำงานของไต, การทำงานของตับ และดูระดับ vitamin 12
• ตรวจดูน้ำไขสันหลัง ...เป็นโรคอักเสบ หรือการอักเสบของสมอง
• ประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์

Psychiatric evaluation

เป็นการตรวจเพื่อให้รู้ว่า คนไข้อยู่ในสภาวะ “ความสะเทือนใจ” (depression) หรือมีความ ผิดปรกติทางจิตหรือไม่ เพราะอาการดังกล่าว สามารถทำให้เกิด dementia ได้

นั่น ...เป็นเรื่องให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัย.
Next>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น