PMR เป็นคำที่ย่อมาจาก Polymyalgia Rheumatica
LORA คำย่อของ Lated Onset Rheumatoid Arthritis
\ EORA คำย่อของ Early Onset Rheumatoid Arthritis
เพื่อให้ง่ายแก่การสื่อข้อความ จะขอใช้คำย่อแทนคำเต็มโดยตลอด
PMR เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อ และ กระดูกแบบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ ซึ่งมีอาการ ของโรค ที่ยากแก่การวินิจฉัยว่า อาการที่พบเห็นนั้น เป็นของโรค PMR หรือ LORA
PMR เป็นโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย
โดยทั่วไป อาการที่ปรากฏ อย่างน้อยจะเริ่มด้วยอาการปวด (aching) พร้อมด้วยการเคลื่อนไหว ติดขัด (stiffness) ที่บริเวณข้อไหล่ และข้อสะโพก
เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนสูงอายุ ระหว่าง 50 – 60 ซึ่งมีการพยากรณ์โรคในขั้นดี
โดยทีมันตอบสนองต่อการรักษาด้วยสาร steroid อย่างรวดเร็ว
สาเหตุของโรคดังกล่าว มีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม โดยพบว่า การอักเสบที่เกิดขึ้น ถูกควบคุมด้วย ยีน-TNF-alpha และ IL-1Ra receptor antagonist genes
นอกจากนั้นแล้ว ยังพบ IL-6 ในคนไข้ที่เป็นโรค PMR อีกด้วย พร้อมกับพบว่า สาร IL-6 จะ ลดลงอย่างรวดเร็วหลังการได้รับ glucocorticoid
ในคนที่ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน (ความเครียด) เป็นเวลานาน จะกระทบต่อ Hypothalamus- Pituitary- adrenal axis โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มปฏิกิริยา ที่ทำหน้าที่ควบคุม และกำกับดูแล ขั้นตอนต่างของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร ความรู้สึก อารมณ์ ทางเพศ....ตลอดรวมไปถึงการตอบสนองต่อความเครียด และบาดเจ็บที่ร่างกายได้รับ ซึ่งทำให้เชื่อว่า อาจมีส่วนทำให้เกิดโรค PMR ก็ได้
ซึ่งในระยะไม่นานมานี้ ได้พบข้อมูลที่สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว คือ ในขณะที่ต่อมเหนือไต- adrenal gland ทำงานน้อยลง ทำให้ระดับของ cortisol และ DHEAS ลดน้อยลง ซึ่งเราจะพบ ในคนไข้ที่กำลังเป็นโรค PMR ซึ่งทำการตวจพบในขณะที่ไม่ได้รับการรักษา
การที่คนไข้มีการอักเสบของข้อเล็ก ๆ ที่มือทั้งสองข้างเหมือนกัน อาจก่อความลำบากในการวินิจฉัย แยกระหว่างโรค PMR และ LORA
Anti-citrillinated peptide antibody (CCP) สามารถนำมาพิจารณาแยกโรค PMR และ LORA
อย่างไรก็ตาม มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่เป็น LORA มีผลทางตรวจเลือดไม่พบ Rheumatoid factor (seronegative) มีเยื้อบุข้ออักเสบไม่รุนแรง (mild synovitis) ตอบสนองต่อสาร glucocorticoid อย่างรวดเร็ว และปรากฏว่าข้อของเขาไม่มีการถูกทำลายเลย
ในการติดตามคนไข้ทั้งทังสองชนิด PMR และ LORA พบว่า อาการของคนไข้ท้งสองชนิดมการ เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เดียวดีขึ้น เดียวอาการเลวลง ซึ่งต่างจากคนไข้ที่เป็นโรค RA ที่พบเห็น ตามปกติ
จะเห็นว่า มีคนไข้ที่เป็นโรค LORA ในระยะแรก ๆ มีลักษณะเหมือนกับคนเป็นโรค PMR มาก
อีกกรณีหนึ่ง จากการศึกษาติดตามคนไข้ที่เป็น PMR และ LORA ซึ่งมีลักษณะอาการเหมือนคนไข้ PMR พบว่า ในคนไข้ที่เป็น PMR จำนวน 20 % ได้กลายไปเป็นโรค LORA ในที่สุด
Next >
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น