วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Rheumatoid Arthritis: Treatment (1)

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า....
โรค รูมาตอยด์ เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด

แต่จากการที่มียา MDARDs ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ รูมาตอยด์
ได้พบเห็นผลเป็นที่ประทับใจของทั้งแพทย์ผู้ให้การรักษา และคนไข้ที่ถูกรักษา

เป้าหมายของการรักษาโรค ได้พุ่งเป้าไปที่ ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลงเป็นประการแรก ทำให้การดำเนินของโรคยุติลงเป็นประการที่สอง ทำให้การทำลายข้อกระดูกลดน้อยลง เป็นประการต่อมา และสุดท้าย ทำให้คนไข้ สามารถดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีเป้าหมาย หรือมีคุณภาพมากที่สุด

เพื่อให้ได้รับผลการรักษาได้ดีที่สุด
การรักษานั้น จะต้องครอบคลุมทุกอย่าง คนไข้ ไม่เพียงแต่จะได้รับการรักษาทางด้าน การแพทย์เท่านั้น เขาจะต้องได้รับ การสนับสนุนทางด้านสังคม และอารมณ์ ที่คนไข้ จำเป็นต้องมีนส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง

สิ่งสำคัญในการรักษาโรค ตัวคนไข้เอง ตลอดรวมถึงคนในครอบครัว จะต้องได้รับการเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับ “ธรรมชาติ” ของโรคที่เขาเป็น ว่า มันเป็นอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีอาการอย่างไร? ตลอด รวมไปถึง “การดำเนิน..ของโรค” เป็นอย่างดี
รวมไปถึงกรรมวิธีการรักษา และยาที่นำมาใช้ในการรักษา มีอะไรบ้าง ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น มีอะไรบ้าง....? ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาโรคของเขา

กลยุทธต่าง ๆ ที่ นำมาใช้ในการรักษานั้น ต่างมุ่งไปที่

o ลดความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนไข้

o ป้องกันความพิการ อันจะนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ

o ทำให้ชีวิตของเขา (คนไข้) สามารถดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ ( สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น หรือหน่วยงานใด ๆ)

ในการรักษา จะต้องทำให้การอักเสบยุติลง ความพิการ (ทางโครงร่าง) จะต้องได้รับการ ป้องกันไม่ให้เกิด หรือ ต้องได้รับการแก้ไข หรือ ได้รับการช่วยเหลือด้วยอุปกรณ์

โดยสรุป การรักษาคนไข้โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ จะต้องประกอบด้วย

o ยารักษา (medications)

o ลดความกดดัน (stress)ไม่ให้เกิดขึ้นกับข้อกระดูก

o ให้การรักษาด้วยกายภาพบำบัด และอาชีวะบำบัด และ

o แก้ไขความพิการที่มีด้วยกรรมวิธีทางศัลยกรรม

นั่นคือแนวทางการรักษาโดยรวมของคนไข้โรค รูมาตอยด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น