วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Polymyalgia Rheumatica vs Polymyositis (1)

ก่อนให้การรักษาโรคใดๆ สิ่งแรกที่ผู้ทำการรักษาจะต้องทำ คือ
ได้คำวินิจฉัยโรคเสียก่อน
ก่อนที่จะให้การรักษา

แต่ในบางกรณี เราไม่สามารถแยกโรคออกจากกันได้เลย
ยกตัวอย่าง เช่น คนเป็นโรค polymyalgia rheumatica และ polymyositis
บางครั้งการวินิจฉัยอาจผิดพลาดได้

polymyositis และ polymyalgia Rheumatica ต่างเป็นคนละโรค ซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการวินิจฉัยให้ถูกดต้อง
แต่ก็ผิดจนได้ ...ซึ่งจะได้เสนอให้ทราบต่อไป

คนไข้ที่เป็นโรคทั้งสอง อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการเหมือนกัน คือ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณที่ ใกล้ชิดลำตัว (proximal muscle pain)

คนเป็น Polymositis จะมาด้วยอาการ “กล้ามเนื้ออ่อนแรง” (muscle weakness) พร้อมกับมีอาการอย่างอื่น เช่น กลืนอาหารลำบาก (dysphagia)

ส่วนคนที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ (muscle pain) หรือมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อลำบาก (muscle stiffness) โดยไม่มีอาการอ่อนแรง น่าจะเป็นอาการสำคัญของคนเป็นโรค Polymyalgia rheumatic

ในคนสูงอายุ การแยกโรคทั้งสองไม่ใช้ของง่าย โดยเฉพาะรายที่เกิดการอ่อนแรงปรากฏ ไม่ชัดเจน

ต่อไปนี้ จะเสนอตัวอย่างของคนไข้ 2 ราย ซึ่งได้รับการรักษาว่าเป็นโรค Polymylagia rheumatic ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่าคนไข้เป็นโรค polymyositis

รายที่ 1:
คนไข้ เพศหญิง อายุ 83 มาด้วยอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อใกล้ลำตัว พร้อมกับการ ขยับกล้ามเนื้อด้วยความลำบาก ได้รับการตรวจ erythrocyte sedimentation rate (ESR) ได้ ผล 65 mm/hour

คนไข้ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรค Polymalgia rheumatic
ได้รับการรักษาด้วย Prednisolone 30 mg/day ซึ่งทำให้อาการของคนไข้ดีขึ้น ESR ลดลงเหลือ 10 mm/h หลังจากนั้น
คนไข้ได้รับการรักษาด้วย prednisolone 10 mg/d เป็นเวลาสามเดือน

ผู้ป่วยกลับมาอีกครั้ง ด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่ใกล้ลำตัว ลำบาก พร้อมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว (ไหล่ และบริเวณกระดูก สะโพก)

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ESR 56 mm/h, aspirate transaminase มีค่า ปกติ แต่ creatine kinase มีค่าสูงมาก 517 IU/I (normal levelm20-205)
ผลจากการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ พบ moderate myositis


รายที่ 2:
คนไข้ สตรี อายุ 74 มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อใกล้ลำตัว ขยับกล้ามเนื้อด้วยความลำบาก (stiffness) ตรวจ ESR ได้ค่า 96 mm/h ไม่ได้ตรวจหา muscle enzyme.
ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรค Polymyalgia rheumatica
ได้รับการรักษา ด้วย Prednisolone 30 mg/day
สองอาทิตย์ต่อมา คนไข้มีอาการดีขึ้น ตรวจ ESR ลดลงเหลือ 14 mm/h

อีก 6 เดือนต่อมา คนไข้มีอาการปวดที่กล้ามเนื้อใกล้ลำตัว พร้อมกับอาการกล้ามเนื้ออ่อน แรงและมีการอักเสบของปอด ซึ่งตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ

ต่อมาภายหลังคนไข้ ถูกส่งโรงพยาบาลด้วยเหตุผลว่า เป็น Broncho pneumonia พร้อม กับกล้ามเนื้อใกล้ลำตัวมีอาการลีบ (wasting) และอ่อนแรง

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์: บ่งบอกว่า คนไข้รายนี้ เป็นโรค polmyositis โดยมี ข้อมูลสนับสนุนดังนี้ ESR 100 mm/h, creatine kinase 600 IU/I ผลการตรวจ ชื้นเนื้อเป็น moderate myositis

Next >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น