Cont.
เพียงสองตัวอย่างที่นำเสนอ บ่งบอกให้ทราบว่า การวินิจฉัยโร polymyosits บางครั้ง เราอาจวินิจฉัยผิดได้
ได้กล่าวว่า เราจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองออกจากกันให้ได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะการวินิจฉัยคนไข้รายใดว่า เขาเป็นโรค Polymyositis มันบอกอะไรบางอย่าง แก่ผู้ให้การรักษาเป็นนัย ๆ ว่า คนไข้รายนั้น 1. มีมะเร็งซ้อนเร้นอยู่หรือเปล่า 2. จำเป็นต้อง ได้รับsteroids ที่มีขนาดสูง ? และ 3. อาจจำเป็นต้องไดรับยาประเภท immunosuppressive drugs.?
โรค Polymyalgia Rheumatica และโรคที่ชอบเกิดร่วม เช่น giant cell arteritis เป็นโรคที่พบได้บ่อย ยิ่งคนมีอายุเพิ่มมาก (แก่) ขึ้น โอกาสที่จะพบโรคร่วมดังกล่าว ย่อมมี โอกาสสูงขึ้น
และในการวินิจฉัยโรคนี้ (polymyositis)
เราไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการวินิจฉัยโรคดังกล่าว ดังนั้น เราจึงอาศัยกรรมวิธีตัดโรคออก จากการพิจารณาเป็นโรค ๆ ไป (Rule out method) ทีละอย่างไป
คนไข้ที่เป็นโรค PMR จะมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกข้อไหล่พร้อมกับการ เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อด้วยความเจ็บปวด (stiffness) ต่อมาภายหลัง อาการจะไปปรากฏที่ กล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกเชิงกราน
อาการ stiffness หรืออาการปวดกล้ามเนื้อยากแก่การเคลื่อนไหว เป็นอาการอันสำคัญของ โรค PMR ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้ได้พักผ่อน (resting)
มันทำให้คนไข้ไม่สามารถพลิกตัวบนที่นอน ลุกจากเตียงนอนด้วยความลำบาก
เกณฑ์ (criteria) ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค PMR โดยนาย Bird และพวก
มี 7 ข้อดังนี้
• ปวดไหล่ทั้งสองข้าง พร้อมกับการเคลื่อนไหวไหล่ลำบาก (stiffness)
• ระยะเวลาของการ มีอาการน้อยกว่า 2 อาทิตย์ (onset of illness less than 2 week)
• ตรวจดูการตกของเม็ดเลือด (ESR) ในตอนเกิดโรค > 40 mm/hour
• ระยะเวลาที่เกิดมี morning stiffness มากกว่า 1 ชั่วโมง
• อายุของคนไข้ ต้อง 65 ขึ้น
• มีอาการซึมเศร้า (depression) และ น้ำหนักตัวลดลง (weight loss) หรือทั้งสองอย่าง
• กดเจ็บบริเวณต้อนแขน (Tenderness of both upper arm)
ในการวินิจฉัยคนไข้รายใดเป็น PMR หรือไม่ คน ๆ นั้น จะต้องมีอย่างน้อย 3 ข้อ
คนไข้ PMR ส่วนใหญ่ จะพบว่า ESR ขึ้นสูง
การให้ยาพวก NSAIDs อาจมีส่วนช่วยในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค PMR
คนไข้ PMR จะตอบสนองต่อ corticosteroid ได้ดี
โดยทั่วไป คนไข้ PMR จะได้รบยา Prednisolone 15-25 mg/day หรือน้อยกว่า
ระยะเวลาของการรักษามีแตกต่างกันอย่างมาก มีบางรายให้นานเป็นปีก็มี ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น