วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Polymyalgia Rheumatica vs Polymyositis (3)

Cont.


Polymyositis

เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก
จากสถิติของสหรัฐฯ จะพบคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว 0.5 คนในประชากร 100,000 คน
อายุของคนไข้พวกนี้ จะอยู่ระหว่าง 45 – 54 และจะลดลงตามลำดับ ซึ่งตรงกันกับคนที่
เป็นโรค Polymyalgia Rheumaica ซึ่ง ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะพบโรคยิ่งเพิ่มฃ
มากขึ้น

อาการแสดงของคนไข้ที่เป็นโรค polymyositis เขาจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ “กล้ามเนื้อ ที่ใกล้ลำตัวเกิดการ “อ่อนแรง” (proximal muscle weakness)
คนไข้ อาจมีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อได้

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบในคนไข้พวกนี้ ได้แก่ อาการกลืนอาหารลำบาก (dysphagia), มี Raynaud’s phenomenon และ ข้ออักเสบ (arthritis)

การตรวจดูค่า ESR พบค่าเป็นปกติได้ 45 %
muscle enayme (creatine kinase) จะสูงขึ้นในคนที่เป็นโรค polymyositis ซึ่ง จะลดลงภายหลังการรักษาที่ได้ผล

ในการรักษาโรค polymyositis จำเป็นต้องได้ Prednisolone ที่ขนาดสูง คือให้ 60 mg/day หรือบางรายอาจให้สูงกว่านี้ (ขึ้นกับความรุนแรงของโรค)
ซึ่งอาจให้แก่คนไข้เป็นเวลานาน

นอกจากนั้น คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับยาพวก immunosuppressive drugs ร่วมกับ
พวก steroid ด้วย เช่น ให้ azathioprine หรือ cyclophosphamide
ซึ่งจะไม่มีประโยชน์ในคนไข้ที่เป็นโรค Polymyalgia Rheumatica(PMR)

กล่าวโดยสรุป ในระยะเริ่มต้นของโรค เราไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง PMR และ polymyositis ได้เลย

ดังนั้น เมื่อท่านพบคนไข้ ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่กล้ามเนื้อใกล้ลำตัว พร้อมด้วย อาการ stiffness และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness) ควรซักประวัติ การ ตรวจร่างกายให้ดี เพื่อแยกระหว่าง stiffness (การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อด้วยความลำบาก) กับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ (muscle weakness)
ตรวจเลือด ดู ESR และดู muscle enzyme- creatine kinase
สามารถแยกโรคทั้งสองได้

Resource:
www.ncbi.nlm.gov > …>Ann. Rheum Dis,v50(5) May1991

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น