ในปัจจุบันนี้ มียาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้ทีเป็นโรค รูมาตอยด์ มีด้วยกัน 3 กลุ่ม
ซึ่งเราจำเป็นต้องเรียนรู้...
ได้แก่ Non-steroidal anti-rheumatic drugs (NSAIDs), Corticosteroids และ
Disease modifying drugs (DMARDs)
สำหรับสองกลุ่มแรก- NSAIDS และ Corticosteroid เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ออกฤทธิ์ได้ทันใจ ส่วนพวก DMARDs นั้น ออกฤทธิ์ช้ามาก กว่าจะเห็นผลของมัน โน้น ต้องกินเวลาหลายอาทิตย์ หรือ เป็นเดือน
ยาในกลุ่ม DSAIDs ประกอบไปด้วย methotrexate, sulfasalazine, leflunomide (Arava), eternacept (Enbrel), infliximab (Remicase), adalimumab (Humira), abatacep (Orencia), rituximab (Rituxan), anakinra (Kineret), antimalarials, gold salts, d-penicillamine, cyclosporine A, cyclophosphmide และ azathiprine (Imuran)
ดูรายชื่อยา จำนวน 14 ตัว เท่ากับจำนวนไม้กอล์ฟในถุง ทีเราแบกเข้าสนามกอล์ฟในวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งพวกเล่นกอล์ฟทั้งหลาย ต่างทราบดีว่า ไม้ที่ใช้ตีลูกกอล์ฟแต่ละไม้ มันมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร
จะใช้ไม่ ชิ้นนั้นเมื่อไหร่...
คงไม่ต่างจากผู้ทำการรักษาโรค...เพราะท่านจะต้องรู้ และเข้าใจ คุณสมบัติของยาแต่ละตัวเป็นอย่างดี หาไม่แล้ว การใช้ยาคงไม่ประสบผล เหมือนกับคนเล่นกอล์ฟใช้ไม้ผิดอัน...
ในคนไข้ที่เป็นโรค รูมาตอยด์ จากการติดตามผลการทำลายล้างของโรค จะพบว่า กระดูกของข้อจะถูก ทำลาย (cartilage damage & joint erosion) ภายใน 2 ปีแรกของการเกิดโรค...
ดังนั้น เราจะเห็นแพทย์ (rheumatologists) ที่ทำการรักษา จะไม่ใจเย็นเหมือนสมัยก่อน
เขาจะเริ่มให้ยา DMARDs เร็วที่สุดที่จะทำได้
เมื่อยืนยันได้แน่ว่า คนไข้รายนั้น เป็นโรค รูมาตอยด์แน่แล้ว....คนไข้ โรค รูมาตอยด์ จะได้รับยาในกลุ่ม DMARDS ทันที
เนื่องจากคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว เขามีอาการเจ็บปวดด้วย การให้ยาลดอาการเจ็บปวด จึงจำเป็นต่อ คนไข้ เพราะกว่าจะรู้ผลจากการใช้ยา DMARDS ต้องกินเวลานานหลายอาทิตย์ หรือบางทีเป็น เดือน...
ถ้าเป็นคนเริ่มหัดเล่นกอล์ฟ เพื่อนก็จะสอนให้เรียนรู้ไม้แต่ละอัน ด้วยวิธีการอันแยบยนของเขา โดย การลงมือเล่นในสนามกอลฟ์..
ส่วนการเรียนรู้เกี่ยวกับยา....จะทดลองใช้กับคนไข้เลย โดยไม่มีครู เขาคงไม่อนุญาตให้ทำแน่
ดังนั้น วิธีที่ปลอดภัยที่สุด คือ ทำการศึกษาทีละตัว และไปหาประสบการณ์เอาเองทีหลังก็แล้วกัน
Next > Non-steroidal Anti-Inflammatory Agents (3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น